
หน้าแรก
ไม่ใช่ว่ามีเงินเพียงอย่างเดียวแล้วจะได้อยู่คอนโดมิเนียมอย่างมีความสุข ยังมีเรื่องที่คนคอนโดฯ จะต้องรู้และใส่ใจอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
คุณรู้หรือไม่ว่าคุณมีสิทธิ์ในการจัดการที่อยู่อาศัยของคุณอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ตัวอาคาร พื้นที่ส่วนกลาง มาจนถึงพื้นที่ส่วนตัวภายในห้อง กฎหมายน่ารู้เหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันและคุ้มครองให้คุณอยู่ในคอนโดฯ ได้อย่างอุ่นใจและเป็นสุข
ฉะนั้น Livinginsider ขอนำข้อกฎหมายที่น่ารู้ ว่าด้วยเรื่องของกรรมสิทธิ์ในห้องชุดมาให้ทุกท่านศึกษา
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ว่าด้วยเรื่องของกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ระบุไว้ว่า
มาตรา 12 กรรมสิทธิ์ในห้องชุดจะแบ่งแยกมิได้
มาตรา 13 เจ้าของห้องชุด มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลที่เป็นของตน และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง พื้นห้อง ผนังกั้นห้องที่แบ่งระหว่างห้องชุดใด ให้ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์รวมของเจ้าของร่วมระหว่างห้องชุดนั้น และการใช้สิทธิ์เกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อบังคับ เจ้าของห้องชุดจะทำการใดๆ ต่อทรัพย์สินส่วนบุคคลของตนอันอาจจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อโครงสร้างความมั่นคง การป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคาร หรือการอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมิได้
มาตรา 14 กรรมสิทธิ์ส่วนที่เป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ให้เป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุด
มาตรา 15 ทรัพย์สินต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง
(1) ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด
(2) ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
(3) โครงสร้าง และสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด
(4) อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
(5) เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
(6) สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวมแก่อาคารชุด
(7) ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
มาตรา 16 ทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นอสังหาริมทรัพย์จะถูกฟ้องให้แบ่งแยกบังคับจำนอง หรือบังคับให้ขายทอดตลาดแยกจากทรัพย์สินส่วนบุคคลมิได้
มาตรา 17 การจัดการและการใช้ทรัพย์ส่วนกลางให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และตามข้อบังคับ
มาตรา 18 เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด ทั้งนี้ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับเจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกค่าภาษีอากร และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลางตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคน มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14
เมื่อเรารู้ข้อกฎหมายและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะทำให้เราอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะการอยู่คอนโดมิเนียมคือการอยู่ร่วมกันที่ต้องอาศัยการเอื้อเฟื้อ และเคารพซึ่งสิทธิทั้งของตนเองและของผู้อื่น
ถอดแนวคิด “Craft to Trust” ของสิงห์ เอสเตท จากคุณภาพของความพิถีพิถันและความใส่ใจ สู่คุณค่าแห่งความไว้วางใจ
2025-04-10
แสนสิริ เปิดตัว "Sustainable Home – Prototype 1" แฟลกชิปบ้านเพื่อความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตแห่งแรกของไทย ปูทางสู่อนาคตที่อยู่อาศัยคาร์บอนต่ำ
2025-04-09
ออริจิ้น โกยยอดขาย Q1/68 กว่า 8,027 ล้านบาท หนุน Backlog 45,389 ล้านบาท Q2/68 จ่อโอนเพิ่มอีก 2 โครงการ
2025-04-08
พาส่องบูท “JORAKAY PAVILION” ในงานสถาปนิก'68 ขับเคลื่อนอดีตสู่อนาคตผ่านการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมจากจระเข้
2025-04-08
“TITLE” บุกตลาด Luxury Villa ครั้งแรก ส่ง “เดอะ ไทเทิล วิลล่า เอสเตลลา ในยาง” มูลค่า 500 ลบ. เพียง 26 ยูนิต ปักหมุดทำเลใกล้หาดในยาง
2025-04-08
ตามหาบทความเเนว เเบบนี้มานานเเล้วค่ะ
อ่านเเล้วอยยากเห็นหน้านักเขียนเลยค่ะ 555555
5 ดาวไปเลยครับ