รายการโปรด
"วิกฤติยูเครน" อสังหาฯ อ่วมวัสดุก่อสร้างขึ้นยกแผงพิษไฟสงครามรัสเชีย-ยูเครน ทุบซ้ำจีนลดการส่งออกเหล็ก โครงสร้างหลักในอุตสาหกรรมก่อสร้าง - พัฒนาที่อยู่อาศัย หากยืดเยื้อกลางปีบ้านพาเหรดปรับราคาขึ้น 15% ขณะปัจจุบันเตรียมขึ้นราคาขั้นต่ำ 5% เตือนผู้บริโภครับมือ
อุตสาหกรรมก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังตกอยู่ในหลุมดำ เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันและราคาเหล็กปรับตัวสูง โดยมีตัวแปรมาจากวิกฤติยูเครน สงครามการสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนแหล่งส่งออกสำคัญต้องหยุดชะงักซ้ำเติมสถานการณ์โควิดที่จีนต้องลดกำลังการผลิต ลดการส่งออกตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายประเมินว่าหากไฟสงครามยังคงยืดเยื้อต้นทุนราคาเหล็ก ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักที่ใช้ในการก่อสร้างจะปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30,000 บาทต่อตันในปัจจุบัน
ยักษ์ใหญ่ทำเหล็กขาดแคลน
นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้เกิดการขาดแคลนผลิตภัณฑ์เหล็กไปทั่วโลกเนื่องจาก ภัยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่สำคัญประเทศรัสเซียส่งออกอันดับสองของโลกรองจากจีน
ขณะยูเครนส่งออกเป็นอันดับ 8 ของโลก เมื่อเกิดสงครามทำให้การส่งออกเหล็กหยุดชะงักและไม่แน่ชัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะจบลงเมื่อใด จากการตรวจสอบสถิติ ปี 2563 ทั้งสองประเทศส่งออกเหล็กรวมกัน ราว 58 ล้านตัน ขณะปี 2564 ส่งออกรวมกัน 97 ล้านตัน
ทั้งนี้หากมีความยืดเยื้อจะส่งผลให้ความต้องการของผลิตภัณฑ์เหล็กตึงตัวจะเป็นการผลักดันราคาผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกให้ปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันยังมีผลกระทบด้านพลังงานส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์เหล็กไปทั่วโลกทั้งด้านต้นทุนการผลิตและการขนส่ง
อย่างไรก็ตามสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป อาจกระทบด้านราคาและต้นทุนเนื่องจากรัสเซียและยูเครนจะเป็นกลุ่มผู้ส่งออกมายังกลุ่มประเทศอาเซียนรวมถึงประเทศไทยซึ่งจะมีผลกระทบ ทั้งนี้นอกเหนือจากผลกระทบของความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนแล้วสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมเหล็กยังต้องติดตามคือนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศจีนซึ่งจะมีผลกระทบต่อระดับราคาเหล็กในอาเซียน
ยืดเยื้อราคาบ้านพุ่ง 15%
ทั้งนี้มองว่าหากผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งอุตสาหกรรมเหล็กและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มีสต็อกอสังหาฯในมือ มีลงนามสั่งซื้อไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีแต่เชื่อว่าไม่มีใครสามารถกักตุนได้ อย่างไรก็ตามนายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
ระบุว่าหากสถานการณ์สงครามยืดเยื้อ นับตั้งแต่กลางปี 2565 หรือเดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไป ราคาบ้านทั้งระบบ ทั้งบ้านจัดสรรและบ้านสั่งสร้างจะปรับขึ้น 10-15% ขณะปัจจุบันผู้ประกอบการขอปรับราคาบ้านขั้นต่ำที่ 5-8% ในเดือนหน้านี้
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่าวัสดุก่อสร้างปรับราคาขึ้นทุกรายการจากต้นทุนพลังงานขณะเดียวกันเหล็กคือตัวแปรสำคัญหากภาวะสงครามยืดเยื้อจะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายเพราะทุกประเทศรวมทั้งไทย ต้องสั่งสินค้านำเข้าวัตถุดิบเหล็กเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการลงทุน
จากการตรวจสอบราคาพบว่าเหล็กขยับไปหลายระลอกนับตั้งแต่ ต้นปี 2564 ที่จีนลดการผลิตและส่งออก ต้นปีราคาอยู่ที่ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม ปลายปี 2564 ปรับไป 18-19 บาทต่อกิโลกรัม และต้นปีช่วงเกิดสงครามราคาวิ่งไปที่ 28-29 บาท ต่อกิโลกรัม หรือขยับไปกว่า 60-70% ขณะปูนซิเมนต์ คอนกรีต โครงสร้างหลักที่ใช้ในการก่อสร้างสำคัญไม่แพ้เหล็ก
มีความผันผวนสูงปรับราคา 4 ครั้ง เป็นเหตุให้ราคาปูนขยับไปที่คิวละ 120 บาท ในต้นปี 2565 หรือ 12% เมื่อเทียบจากต้นทุนเดิม กระจก และอลูมิเนียมซึ่งนำมาประกอบประตูหน้าต่างขยับขึ้น 20-30% ขณะอิฐมวลเบา อิฐบล็อกแม้เป็นวัสดุหาวิตถุดิบได้ในประเทศ แต่เนื่องจากน้ำมันมีราคาสูงราคาขายต่อก้อนขยับไปที่ 1 บาท จากเดิม 0.80-0.90 สตางค์
ชงรัฐบาลอุ้ม
สำหรับทางออก สมาคมฯจะหารือร่วมกับ 3 สมาคมที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยสมาคมบ้านจัดสรรสมาคมอาคารชุดไทยและสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เพื่อเสนอผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อรัฐบาลโดยเฉพาะขอให้ชะลอการขึ้นของค่าแรงงานจาก 300 กว่าบาทต่อวันเป็น 499-500 บาท/วัน เพราะจะทำให้ภาคก่อสร้างมีต้นทุนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้วิกฤติสงครามกระทบต้นทุนน้ำมัน และราคาวัสดุก่อสร้างอย่างน่ากังวล ซึ่งบริษัทรับสร้างบ้านเองที่ผ่านมา ไม่ต้องการขยับราคาบ้านขึ้น เพราะเกรงกระทบต่อการตัดสินใจของลูกค้า แต่ขณะนี้ต้นทุนมันขึ้นเร็วมาก เราอั้นไว้ไม่ไหวแล้ว เหตุราคาวัสดุ โดยเฉพาะกลุ่มเหล็ก- โลหะ ราคาพุ่งนับเท่าตัว หากวิกฤติน้ำมันรุนแรง
จับตาการกักตุน
แหล่งข่าวจากวงการเหล็ก กล่าวว่าการนำเข้าเหล็กแท่งแบนและเหล็กแท่งยาวจากประเทศรัสเชีย และยูเครนราว 10% อย่างไรก็ตามจากกรณีที่จีนลดการผลิตและส่งออกเหล็กส่งผลให้เหล็กขาดตลาดปีที่ผ่านมา ผลกระทบเกิดจากจีน ราคาเหล็ก ช่วงเดือนพฤษภาคมสูงถึง 3.2 หมื่นบาทต่อตัน และช่วงปลายปีลดลงเหลือ 2.9 หมื่นบาทต่อตัน
ต้นปี 2565 เกิดสงคราม รัสเซียและยูเครนราคาเหล็กขยับสูงขึ้นมาที่ 900 เหรียญสหรัฐเทียบกับค่าเงินบาทของไทยที่ 33.62 บาท (ณ วันที่ 22มีนาคม 2565) อยู่ที่ 30,258 บาทต่อตัน เมื่อรวมต้นทุนขนส่ง อยู่ที่ 925 เหรียญสหรัฐ หรือ 31,098.5 บาทต่อตัน และแนวโน้มเหล็กอาจสูงขึ้นเพราะการกักตุนของพ่อค้าคนกลางหรือไม่มองว่าน่าจับตายิ่ง
ส่วนการปรับราคาบ้านเพราะต้นทุนเหล็ก และน้ำมันมองว่าไม่น่าจะขยับได้มากนักในขณะนี้เนื่องจากกำลังซื้อเปราะบางการแข่งขันมีสูง เข้าใจว่า ผู้ประกอบการน่าจะหาทางประคอง ใช้วัสดุภายในประเทศและลดต้นทุนด้านอื่นแทน
ขอบคุณภาพและข่าวจากฐานเศรษฐกิจ
https://www.thansettakij.com/property/518507
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
บทความมีประโยชน์มากค่ะ
ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ
5 ดาวไปเลยครับ