รายการโปรด
ออมสินจับมือ "ทิพย-บางจาก" จัดตั้งนอนแบงก์ทำธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ประเดิมทุนจดทะเบียน 1 พันล้าน หวังช่วยลดดอกเบี้ยในระบบให้ต่ำกว่า 10%
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ ธนาคารออมสิน จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมทุนธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝากกับ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาทำธุรกิจสินเชื่อที่ดินและขายฝากโดยตรง
บริษัทดังกล่าว เบื้องต้นมีทุนจดทะเบียน 1 พันล้านบาท โดยธนาคารออมสินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 49% ส่วนที่เหลืออีก 51% เป็นการร่วมทุนของบางจาก และทิพย กรุ๊ป คาดว่าจะเริ่มดำเนินธุรกิจได้ในช่วงเดือนก.ย. - ต.ค. 65
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสิน ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และบางจาก จะมีการจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมาเลย ไม่ได้เข้าไปเทคโอเวอร์บริษัทอื่น โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชน ผู้ประกอบการ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
โดยในช่วงแรกจะเริ่มเข้าไปแข่งขันในสินเชื่อที่ดินและขายฝากก่อน เพราะที่ผ่านมามีการคิดดอกเบี้ยสูงมาก จึงจะเข้าไปแข่งทำให้ดอกเบี้ยตลาดลดลงตามนโยบายของรัฐบาล โดยเบื้องต้นจะคิดดอกเบี้ยประมาณ 8-9% ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยในตลาดที่เก็บสูงถึง 15-30% และในระยะต่อไปบริษัทมีแผนเข้าไปประกอบธุรกิจสินเชื่อบุคคลอีกด้วย
ทั้งนี้การจัดตั้งบริษัทสินเชื่อที่ดินและขายฝาก จะมีสถานะเป็นนอนแบงก์ โดยพันธมิตรทั้งหมดที่เข้าร่วม จะมีหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจเป็นผู้หุ้นอยู่ เช่น ออมสินมีรัฐบาลเป็นประกัน ขณะที่ ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทยเป็นถือหุ้นใหญ่ ส่วน บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น ก็มีสำนักงานประกันสังคม กองทุนรวมวายุภักษ์ และกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นหลัก
“การร่วมมือครั้งนี้จะช่วยให้เกิดการนำเครือข่ายเข้ามาสนับสนุนการปล่อยกู้ โดยออมสินมีความเชี่ยวชาญด้านการปล่อยสินเชื่อลูกค้ารายย่อย และมีสาขามากกว่า 1,080 แห่งทั่วประเทศ ขณะที่ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันและมีทีมนักสำรวจที่มีความพร้อม ส่วนบางจาก มีสถานีบริการน้ำมันกระจายมากถึง 1,233 แห่งทั่วประเทศ”
ส่วนแนวทางการบริหาร ออมสินจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยการปล่อยกู้เบื้องต้นคำนวณการปล่อยสินเชื่อสูงสุด 75% จากราคาประเมินที่ของกรมธนารักษ์ หรือ 50% ของราคาตลาด ขณะเดียวกันจะเน้นเลือกกลุ่มที่ดินที่มีศักยภาพ ไม่เลือกที่ดินตาบอด
หรือที่ดินที่มีการขุดหน้าดินออกไปขายแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจด้วย ส่วนการทำธุรกิจขายฝาก ก็จะมีการผ่อนปรนเงื่อนไขการพิจารณา และวงเงินสินเชื่อที่ยืดหยุ่นมากกว่าสินเชื่อที่ดิน
ขอบคุณข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/business/1008721
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
เหนือ Developer ก็มี Blogger นี่แหล่ะค่ะ ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น ขอบคุณค่ะ
เขียนบทความน่าอ่านมากเลย
ชอบนะคะ บทความหลากหลายดี