รายการโปรด
หลายคนคงเห็นข่าวที่ทางกทม. เตรียมประกาศใช้ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการเลี้ยงสัตว์กันมาบ้างแล้ว โดยข้อบัญญัตินี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาสัตว์เลี้ยง สัตว์จรจัด และสัตว์ดุร้ายที่อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับคนที่อยู่ในกทม. ซึ่งจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศอย่างเป็นทางการไปแล้ว 360 วัน วันนี้เราจึงถือโอกาสพาไปดูสาระสำคัญของข้อบัญญัติดังกล่าว รวมถึงนำกฎหมายที่คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้มาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้เตรียมความพร้อมกันค่ะ
บ้าน-คอนโด เลี้ยงหมาแมวได้กี่ตัว
เนื่องจากตอนนี้หลายคนหันมาเลี้ยงสัตว์เหมือนคนในครอบครัวมากขึ้น เราจึงเห็นหลายบ้านมีสัตว์เลี้ยงมากกว่า 1-2 ตัว ซึ่งแต่ละครอบครัวต่างก็คอยดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงแสนรักเป็นอย่างดี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบางคนที่ปล่อยปละละเลยน้อง ๆ จนสร้างความเดือดร้อนรำคาญใจแก่เพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเสียงร้อง หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ
ข้อบัญญัติกทม.ดังกล่าวนี้ จึงได้มีเงื่อนไขออกมาว่าห้ามเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเกินจำนวนที่กำหนด โดยคอนโดหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 20-80 ตารางเมตรขึ้นไป สามารถเลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัว แต่หากเกิน ก็เลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัวเท่านั้น ส่วนบ้านที่มีขนาดที่ดินไม่เกิน 20 ตารางวา จะเลี้ยงน้องหมาน้องแมวได้ไม่เกิน 2 ตัว ขนาด 20-50 ตารางวา ไม่เกิน 3 ตัว ขนาด 50-100 ตารางวา ไม่เกิน 4 ตัว และขนาด 100 ตารางวาขึ้นไป เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว
นอกจากนี้ ยังมีการห้ามไม่ให้เลี้ยงน้องหมาน้องแมวในที่หรือทางสาธารณะ หรือในที่ดินของคนอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมอีกด้วย เพราะหลายคนก็น่าจะเคยเห็นคนนำอาหารมาวางให้น้องหมาแมวจรกินในที่สาธารณะ หรือหน้าบ้านคนอื่น จนสร้างความเดือดร้อน และบางครั้งก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันก็มี ทาง กทม.จึงได้กำหนดเรื่องนี้ในข้อบัญญัติเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั่นเอง
การดูแลสุนัขดุเมื่อออกนอกบ้าน
แน่นอนว่าหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคนที่เลี้ยงสัตว์ จะต้องพาน้อง ๆ ออกมาวิ่งเล่นออกกำลังกายนอกบ้าน ซึ่งปกติน้องหมาน้องแมวทุกตัวก็จะมีสายจูง น้อง ๆ จะได้ไม่พลัดหลงจากเจ้าของ และอีกนัยยะหนึ่งคือเพื่อป้องกันไม่ให้น้องไปกัดคนอื่นด้วย อย่างข้อบัญญัติกทม.ดังกล่าว ก็ได้มีการกำหนดไว้ว่า สำหรับน้องหมาสายพันธุ์ที่มีนิสัยค่อนข้างดุ ได้แก่ พิตบูลเทอเรีย, บูลเทอเรีย, สเตฟอร์ดเชอร์ บูลเทอเรีย, ร็อตไวเลอร์ และ ฟิล่า บราซิเลียโร รวมไปถึงน้องหมาที่เคยทำร้ายคน หรือพยายามทำร้ายคนมาก่อน
เวลาเจ้าของพาออกนอกไปข้างนอก ไม่ว่าจะพาไปวิ่งเล่นในหมู่บ้านหรือแค่ออกมายืนหน้าบ้านก็ตาม จะต้องใส่อุปกรณ์ครอบปาก ใช้สายจูงที่มีความมั่นคงแข็งแรง และคอยจับสายจูงห่างจากคอของน้องไม่เกิน 50 เซนติเมตรตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้น้องไปทำร้ายคนอื่น
นำสัตว์เลี้ยงฝังไมโครชิป แก้ปัญหาสัตว์จรจัด
อีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ค่อนข้างไวต่อความรู้สึกของคนรักสัตว์คือ การที่เจ้าของนำน้อง ๆ มาปล่อยทิ้งไว้ตามที่ต่าง ๆ ในวันที่ไม่น่ารักเหมือนเมื่อก่อน หรือน้องมีอายุมาก และมาพร้อมอาการเจ็บป่วยหลายโรค ข้อบัญญัติดังกล่าวก็ได้มีสาระสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ด้วยการให้เจ้าของนำสัตว์เลี้ยงไปฝังไมโครชิปตามมาตรฐานที่กทม. กำหนด จากนั้นให้นำใบรับรองไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักอนามัย กทม. และถ้าใครฝ่าฝืนจะมีโทษตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535
รวมกฎหมายที่คนเลี้ยงสัตว์ต้องรู้ เพื่อไม่ให้มีปัญหากับเพื่อนบ้าน
แน่นอนว่าการเลี้ยงสัตว์เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่เราก็ต้องดูแลลูก ๆ ของเราไม่ให้สร้างความเดือดร้อนแก่เพื่อนบ้านคนอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่อย่างนั้น ผลที่ตามมาก็คือทำให้เราไม่สามารถอาศัยอยู่ในสังคมร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งเพื่อนบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนยังสามารถเอาผิดทางกฎหมายกับเราได้ด้วย ส่วนกฎหมายที่คนเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องรู้มีอะไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลยค่ะ
สัตว์เลี้ยงทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
หากสัตว์เลี้ยงของเราทำให้คนอื่นได้รับอันตราย ซึ่งไม่ใช่แค่ไล่กัดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการวิ่งตัดหน้ารถจนเกิดอุบัติเหตุ หรือวิ่งตัดหน้าในขณะเดินจนทำให้สะดุดล้มได้รับบาดเจ็บ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 เนื่องจากปล่อยปละละเลยให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองออกไปข้างนอกโดยลำพัง จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของคนอื่น ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สัตว์เลี้ยงสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาระหว่างเพื่อนบ้านเลยก็ว่าได้ สำหรับการที่มีคนปล่อยสัตว์เลี้ยงออกมาขับถ่ายบริเวณหน้าบ้านคนอื่น หรือตามทางเดินหรือที่สาธารณะในหมู่บ้าน รวมถึงเคสที่เจ้าของเผลอทำน้องหมาน้องแมวหลุดออกจากบ้านแล้วเข้าไปกัดสิ่งของของคนอื่นจนได้รับความเสียหาย โดยเหตุการณ์ในลักษณะนี้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 433 ซึ่งจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเพื่อนบ้านที่ได้รับความเสียหาย
สัตว์เลี้ยงสร้างความรำคาญใจแก่ผู้อื่น
แน่นอนว่าเสียงร้องหรือเห่าหอนของสัตว์เลี้ยงเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ในเมื่อเราอยู่ร่วมกับคนอื่น ๆ ในสังคม เราก็ต้องฝึกลูกของเราไม่ให้ส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นด้วย เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเสียงของน้อง ๆ ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับพักผ่อน หรืออาจจะไปทำลายสมาธิเพื่อนบ้านที่ Work From Home
นอกจากนี้ การรักษาความสะอาดทั้งสัตว์เลี้ยงและพื้นที่ที่ให้พวกเขาอยู่ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่เพียงเป็นการดูแลน้อง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันไม่ให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ไปรบกวนคนอื่นด้วย แต่ถ้าเจ้าของไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ จนเพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อนรำคาญใจ ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397
บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากเลี้ยงสัตว์ในคอนโด มีกฎข้อไหนบ้างที่จำเป็นต้องรู้
เจาะลึก คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ เทรนด์ที่อยู่อาศัยที่กำลังฮิตและมาแรง ถูกใจบรรดาทาสทั้งหลายมากที่สุด!!
เคล็ดลับเลี้ยงสัตว์ ในคอนโดให้มีความสุข
เรียนรู้และทำความเข้าใจหลักการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดของ Gen Y ที่ทำให้เข้าใจพวกเขามากกว่าเดิม
2022-02-04
รวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ LGBTQ+ ไม่ว่าคู่รักเพศไหน ก็ซื้อบ้านร่วมกันได้
2024-06-13
ไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ผลที่ตามมามีอะไรบ้าง
2021-10-19
ห้องแบบไหนที่ไม่เข้าตา หากเลือกแล้วจะอยู่ยาก
2020-06-12
รวมมิตรคำถามลงทุนปล่อยเช่าคอนโด
2020-04-13
ขอบคุณมากครับ เอาใจไปเลยลูกพี่!!!
ก็ดีได้รู้ข่าวสารเกี่ยวกับคอนโดเร็วดีค่ะ
เขียนได้เชิญชวนซื้อมากๆ
อ่านแล้วอยากมีคอนโดเป็นของตัวเองเลยค่ะ
รีวิวได้ดี วิเคราะห์ละเอียดมากจ๊ะ
ดีไปหมด ไม่มีที่ติเลยจ๊ะ