รายการโปรด
หลายพื้นที่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด รวมถึงหมู่บ้านจัดสรรหลายโครงการ ได้เริ่มมีการลงสายไฟฟ้าใต้ดินกันไปบ้างแล้ว ซึ่งพอทำเสร็จบริเวณนั้นก็ดูสบายตาขึ้นมาทันที แต่แน่นอนว่าเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน วันนี้เราเลยจะพาไปดูข้อดี-ข้อเสียของการลงสายไฟฟ้าใต้ดินกันค่ะ
ข้อดีของการลงสายไฟฟ้าใต้ดิน
สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม
ข้อดีของการลงสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างแรกที่เรามองเห็นกันได้ชัดเจนเลยก็คือ สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม แม้เราจะเคยเห็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถ่ายรูปคู่กับเสาไฟฟ้าที่มีสายไฟยุ่งเหยิงลงโซเชียลมีเดียบ่อย ๆ แต่ก็เชื่อว่าหลายคนคงไม่ได้ภาคภูมิใจกับแลนด์มาร์กนี้เท่าไหร่นัก เพราะมองยังไงก็ไม่เจริญตาเอาซะเลย ตรงกันข้ามกับพื้นที่ที่มีการลงสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งมองยังไงก็สบายตา แถมได้ฟีลเหมือนอยู่ต่างประเทศสุด ๆ
เพิ่มความปลอดภัยจากสภาพอากาศและสัตว์บางชนิด
เวลาฝนตกหนักหรือพายุเข้า เรามักจะเจอปัญหาฟ้าผ่าหม้อแปลงระเบิดทำให้ไฟฟ้าดับ หรือร้ายแรงถึงขั้นไฟไหม้ลุกลามไปยังอาคารบ้านเรือนในบริเวณนั้น จนมีคนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึ่งการนำสายไฟฟ้าลงดินถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเข้ามาช่วยแก้ไข Pain Point เหล่านี้ได้ นอกจากนั้นยังเป็นการป้องกันสายไฟฟ้าไม่ให้ได้รับความเสียหายจากนกหรือกระรอกที่ชอบมาเดินและทำรังอยู่บนนั้นด้วย
ป้องกันไฟฟ้าดับจากอุบัติเหตุรถชน
การลงสายไฟฟ้าใต้ดินช่วยลดความเสี่ยงที่รถจะชนเสาไฟได้ เพราะถนนที่ไม่มีเสาไฟฟ้าริมทางกีดขวาง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถนนค่อนข้างแคบหรือรถเยอะ จะช่วยให้เกิดอุบัติเหตุน้อยลง เนื่องจากคนขับมีพื้นที่หลบหลีกได้มากขึ้นหากเกิดเหตุฉุกเฉินบนท้องถนน นอกจากนี้ การไม่มีเสาไฟริมถนนยังช่วยลดผลกระทบจากอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็น เสาไฟล้ม ไฟดับ หรือไฟช็อตได้อีกด้วย
ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินมีประสิทธิภาพกว่า
อีกหนึ่งข้อดีที่สำคัญมาก ๆ คือ ระบบสายไฟฟ้าใต้ดินสามารถรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้มากกว่าระบบสายไฟฟ้าอากาศ ซึ่งตอบโจทย์การพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างมาก อีกทั้งสายไฟฟ้าใต้ดินจะใช้สายเคเบิลที่มีฉนวน PVC หุ้มลวดทองแดง และถูกปกคลุมด้วยเปลือกนอกอีกหนึ่งชั้น พร้อมเดินสายร้อยท่ออย่างมิดชิด เพื่อป้องกันความชื้นและการกัดแทะของสัตว์บางชนิด ดังนั้นจึงมีความทนทานสูง และมีอายุการใช้งานที่นานกว่าสายไฟฟ้าบนดิน 2-3 เท่าเลยทีเดียว
ข้อเสียของการลงสายไฟฟ้าใต้ดิน
การลงสายไฟฟ้าใต้ดินมีค่าใช้จ่ายสูง
ด้วยความที่การติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินต้องเตรียมพื้นที่เพื่อขุดเจาะดินลงไป และมีการใช้เครื่องจักรและเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญสูง รวมถึงสายไฟฟ้าและระบบที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีความทนทานมากกว่าระบบไฟฟ้าอากาศ ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ย่อมสูงตามไปด้วย
เกิดเหตุขัดข้องซ่อมแซมได้ยาก
แค่มองด้วยตาเปล่าก็รู้อยู่แล้วว่าการบำรุงรักษาสายไฟฟ้าที่อยู่ใต้ดินนั้นยากกว่าสายไฟฟ้าที่อยู่บนดิน เพราะไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ไปถึงจุดที่เกิดเหตุขัดข้องแล้วจะแก้ไขได้เลย แต่ต้องใช้เวลาและเครื่องมือเฉพาะในการขุดดินลงไปซ่อมแซมสายไฟฟ้าที่ถูกฝังอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาก็จะที่แพงกว่าการซ่อมแซมสายไฟฟ้าบนดิน
เสี่ยงได้รับความเสียหายจากการก่อสร้าง
แม้ว่าระบบสายไฟฟ้าใต้ดินจะมีความทนทานและมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย 100% โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างซึ่งมักจะต้องขุดเจาะดิน ซึ่งหากทีมงานไม่ได้ตรวจสอบหรือระมัดระวังให้ดี อาจเกิดการขุดดินลึกเกินไปจนกระทบสายไฟที่ฝังอยู่ในบริเวณนั้นได้รับความเสียหาย
การลงสายไฟฟ้าใต้ดินมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่ก็เชื่อว่าในอนาคตคงจะมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาช่วยแก้ไขหรือจัดการกับข้อเสียเหล่านี้ได้ และที่สำคัญ การลงสายไฟฟ้าใต้ดินยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองให้ทันสมัยและน่าอยู่ยิ่งขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ปลอดภัยทั้งคนและบ้าน
แนะนำวิธีขอมิเตอร์ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฯ ต้องทำอย่างไร
เปิดวิธีติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ตอบโจทย์คนใช้รถไฟฟ้า
บ้านอยู่ใกล้เสาไฟฟ้าแรงสูงเป็นอันตรายหรือไม่?
5 ทำเลต้องระวัง บ้าน-คอนโด ต่ำกว่า 3 ล้าน เหลือขายจำนวนมาก ปี 2566
2024-04-27
ไตรมาส 1 ปี 66 ทำเลไหน? มีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด
2023-05-28
คริสต์มาสนี้พาไปรู้จัก “หมู่บ้านซานตาคลอส” และกิจกรรมสุดฟินที่ไม่ควรพลาด!
2024-12-24
ปรับโครงสร้างหนี้ ดีหรือไม่เหมาะกับใคร
2020-07-08
รวมประเด็นที่ต้องคิด ก่อนตัดสินใจลงทุน ปล่อยเช่าคอนโด
2019-06-04
ใส่ใจรายละเอียดของข้อมูลดีมากค่ะ
ห้องดูกว่างมากเลยโครงการนี้
น่าอยู่มากจ้าาาาา