รายการโปรด
งานสัมมนาประจำปีของ 3 สมาคมวงการอสังหาริมทรัพย์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ณ โรงแรมสวิส เลอคองคอร์ด หัวข้อหลัก "อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2017" โดยการสัมมนาภาคบ่ายหัวข้อ "ผังเมืองรวมและรถไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างไร...ต่อการพัฒนาอสังหาฯ ในอนาคต" นั้น
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข.ทำทุกเรื่องทั้งบก น้ำ อากาศ แต่ทำแผนแม่บท หนึ่งในนั้นคือทำแผนแม่บทระบบรางในเขต กทม.-ปริมณฑล เราวาง 10 สายทาง 400 กว่า กม. ใช้เวลาพัฒนา 14-15 ปี แต่เนื่องจากก่อสร้างผ่านพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นจึงยากลำบาก รวมทั้งแหล่งเงินทุนใช้เงินสูงมาก จึงต้องทยอยทำตามความเหมาะสม
วันนี้ให้เห็นภาพการลงทุนด้านคมนาคของประเทศไทย เรียกว่าแผน 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2565 ทำไปแล้ว 3 ปี ให้ครม.เห็นชอบ แปลว่าทุกโครงการในแผนต้องดำเนินการทั้งหมด
ด้านแรก "แผนพัฒนาโครงข่ายรถไฟ" ปัจจุบันเป็นรางเดี่ยว ต้องรอสับหลีกราง ประสิทธิภาพการขนส่งจึงต่ำมาก เพราะไม่สามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟ จึงต้องพัฒนารางคู่ ใช้เงินลงทุน 30% ของงบรวม
การพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะและการแก้ปัญหาจราจรกรุงเทพ-ปริมณฑล โครงการสำคัญคือรถไฟฟ้า 10 สายทาง ใช้เงิน 25% กับมีการจัดซื้อรถเมล์ของ ขสมก. การปรับปรุงสะพานข้ามเจ้าพระยา ฯลฯ
การพัฒนาขีดความสามารถทางหลวง ส่วนใหญ่เป็นทางเลี่ยงเมืองพิเศษ
แผนพัฒนาทางน้ำ ผ่านท่าเรือเป็นหลัก กับแผนพัฒนาทางอากาศ การปรับปรุงฝูงบินของการบินไทย เนื่องจากระบบรางไม่ได้พัฒนา คนข้ามจากระบบถนนไปใช้บริการทางอากาศ ก่อปัญหาการจราจรางอากาศหนาแน่นมาก
ยังมีกลไกด้านซอฟต์แวร์ ในการบริหารจัดการด้านคมนาคมขนส่ง ดิมกระทรวงคมนาคมมีแต่สร้าง แต่ไม่ได้พูดเรื่องเซอร์วิส จึงได้เสนอว่าต้องพัฒนาคุณภาพบริการ ปัจจุบันเราสร้างถนนเยอะแยะแต่อุบัติเหตุทางถนนเกิดทุกวัน ทุก 1 ชั่วโมง มีผู้เสียชีวิต 2 คน เพราะไม่สามารถยกระดับการให้บริการถนน จึงต้องหันมาทำ "ถนนที่ปลอดภัย" ระบบการเดินทางในเมืองไม่ใช่แค่รถเมล์ต้องมีรถไฟฟ้าโดยทุกคนเข้าถึงได้ทั้งผู้สูงอายุ คนพิการ
แผนลงทุนปี 2559 ทำแผน 20 โครงการ 1.796 ล้านล้านบาท พัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ได้แก่ สายสีส้ม สายตะวันออก ศูนย์วัฒน์-มีนบุรี ตอนนี้เซ็นสัญญาแล้ว, สายสีชมพู, สีเหลือง, สีแดงอ่อน (การรถไฟ) กับสีแดงเข้ม, สายสีม่วง ต่อขยายเตาปูนลงมาราษฎร์บูรณะ ทั้งหมดนี้อยุ่ในกระบวนการจัดจ้าง
แผนปี 2560 การลงทุนรถไฟฟ้า ทาง รฟม.ทำ 5 โครงการ สายสีน้ำเงินวิ่งใต้ดิน ต่อจากบางซื่อมาเตาปูน (1 สถานีฟันหลอ) เดือนสิงหาคมนี้ให้บริการ ไปชนสายสีม่วง, สายสีน้ำเงินจนครบวง ต่อถึงบางแค, สว่นต่อขยายสายเขียวจากสมุทรปราการไปบางปู จากคูคตไปลำลูกกา สายสีส้ม ไปมีนบุรี จะต่อขยายเส้นตะวันตกไปตลิ่งชัน
จากนั้น สนข.ไปทำภูมิภาคที่ภูเก็ต รถไฟฟ้ารางเบา ผลศึกษา 95% ใกล้เสร็จเต็มที 36 โครงการ 8.9 แสนล้านบาทเศษ
ทำไมต้องทำรถไฟฟ้า ล่าสุดกรุงเทพมหานครเป็นอันดับ 1 ของโลกที่รถติด อันดับ 2 เราแซงเม็กซิโกซิตี้ ซึ่งต้องการแก้ปัญหาจราจร ได้ผลประโยชน์ในการพัฒนาเมืองด้วย ความเร็วเฉลี่ยของการใช้รถยนต์ 15 กม.ต่อชม. เทียบรถไฟฟ้า 40 กม.ต่อชม. แตกต่างกันมาก ซึ่งแนวโน้มอัตราเฉลี่ยการใช้รถต่ำลงเรื่อยๆ แสดงว่ารถติดมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีรถจดทะเบียนใหม่เพิ่มวันละ 1,100 คัน แต่สร้างถนนรองรับไม่ทัน สัดสว่นถนนมีเพียง 8% ต่ำมากเทียบกับโตเกียวที่มี 20% นิวยอร์กมี 30% สถิติรถในกทม.มี 9 ล้านคัน รวมปริมณฑลอีก 3 ล้านคันเป็น 12 ล้านคัน
สัดส่วนการใช้รถสว่นบุคคล 53% ใช้การขนส่งสาธารณะ 46% แบ่งย่อยออกมาเป็นการใช้รถเมล์ แท็กซี่ รถตู้ 83% ใช้รถไฟฟ้าแค่ 12% นั่นคือมีเพียง 1 ล้านคนที่ใช้อยู่ สนข.คำนวณภายในปี 2572 คาดว่าคนจะหันไปใช้รถไฟฟ้า 7680,000 ล้านเที่ยวคน/วัน หรือเพิ่มวันละ 3.8 ล้านคน หรือเพิ่มอีก 2.8 ล้านคน นักพัฒนาที่ดินต้องมองออกแล้วว่าจำนวนคนที่เพิ่มขึ้นต้องการพักอาศัยที่ไหนบ้าง
กระทรวงคมนาคมวางหลักการด้วยว่า ต่อไปมีระบบรถไฟฟ้า ต้องการส่งเสริมขนส่งสาธารณะ บวกกับการเดินเท้าและจักรยาน จึงต้องทำลานจอดแล้วจร กระจายให้เกิดเมืองบริวารรอบนอก
กับเรื่องการเชื่อมต่อ เดิมแต่ละลูปไม่เชื่อมต่อกัน จากนี้ไประบบบก น้ำ อากาศต้องเชื่อมโยงกัน เริ่มจากระบบตั๋วร่วม, กับบริหารจัดการดีมานด์ ลดการใช้รถส่วนบุคคล เช่น แนวคิดใช้ทะเบียนเลขคู่-เลขคี่ ต้องรอรถไฟฟ้าฟังก์ชัน 80-90% ก่อน
อีกเรื่องการพัฒนายังต้องมองการพัฒนาเมืองด้วย "การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี" ให้กระชับ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อการพักอาศัย ในอนาคตจะเกิดเมืองหลายศูนย์กลาง เราให้ความสำคัญนครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการถูกกลืนไปแล้ว จะมี communication train ที่การรถไฟฯ กำลังทำอยู่
ศูนย์กลางจะมีแลนด์สเตชันที่บางซื่อ เชื่อมต่อกับดอนเมือง สุวรรณภูมิ สถานีมักกะสัน สถานีลาดกระบังจะเป็นสถานีสำคัญ เพราะมีการพัฒนา EEC จะไประยองต้องผ่านลาดกระบัง นี่คือภาพที่ทำให้เชื่อมโยงระหว่างเมืองมากขึ้น
คาดการณ์การเดินทางทุก 5 ปีโต 3 เท่า สิ่งที่อยากให้เป็นคือกรุงเทพเดิมเป็นมหานครแห่งรถและท้องถนน อยากปรับให้เป็นมหานครแห่งระบบราง สิ่งเกิดตามมาคือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ต้องมีปอดหรือพื้นที่ว่างสาธารณะ และราคาที่ดินต้องสูงตามไปด้วย
รัฐบาลนี้เอาจริงจนผมพูดได้เลยว่าเหนื่อยมาก จริงๆ อยู่ในแผนอีก 2-3 ปีหน้าค่อยทำก็ได้แต่ไม่เอา ให้ทำผ่านให้หมดเลย อีไอเอต้องผ่าน เข้า ครม.จึงจะลงนามได้ นั่นคือจะเห็นโครงการในปี 2560 ถูกใส่เข้ามาเยอะมากเพื่อเร่งรัดให้เสร็จ ตามแผนในปี 2564-2565 ทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์จากแผนเดิมจะจบในปี 2572 ร่นเวลาเร็วขึ้น 7 ปี สิ่งเกิดขึ้นเร็วมาก การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลเปิดโอกาสมาก จึงไม่อยากให้เสียโอกาสจากการเปลียนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่อยากให้เสียโอกาสให้กับคนนอก
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1487842030
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
งานดี มีคุณภาพมากๆ
รายละเอียดครบ ชัดเจอดีค่ะ
ผู้เขียนเก่ง บทความดีๆ ทั้งนั้น
ดีเลยครับได้ความรู้
อ่านสนุก เป็นประโยชน์มากครับ
รีวิวได้ดี วิเคราะห์ละเอียดมากจ๊ะ