รายการโปรด
นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากการประชุม ครม.ด้านคมนาคมร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ทางฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่าต้องการแยกระบบรางของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรางเฉพาะของรถไฟชินคันเซ็น เพื่อใช้ระบบอาณัติสัญญาณควบคุมความปลอดภัยและง่ายต่อบริหารการเดินรถ ในเส้นทางชุมทางบ้านภาชี-สถานีกลางบางซื่อระยะทางรวม 88 กม. จากเดิมที่จะใช้รางร่วมกันกับโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวจะมีเส้นทางรถไฟ 3 รางคือ รางรถไฟไทย-ญี่ปุ่น รางรถไฟไทย-จีน และเส้นทางรถไฟรางคู่ ดังนั้นวงเงินของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะต้องเพิ่มขึ้นด้วย จากการแยกรางดังกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า "ทั้งนี้ ผลการศึกษาโครงการดังกล่าว คาดว่าจะได้ฉบับเต็มช่วงเดือนมิถุนายนนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง รวมถึงการออกแบบสถานีให้เข้ากับการพัฒนาเมืองตามรายทางด้วย คาดว่าจะเสนอโครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาช่วงเดือนกันยายนนี้" นายพีระพลกล่าว
นายพีระพลกล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 152,528 ล้านบาท เนื่องจากมีบางส่วนของโครงการทับซ้อนกับเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ-ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต้องการให้รถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ใช้ระบบรางร่วมกันทั้งหมด เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถเดินรถถึงยังสถานีกลางบางซื่อโดยผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ
แหล่งข่าวกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ยังอยู่ระหว่างหารือรายละเอียด ล่าสุด การหารือในร่างสัญญาที่ 1 ด้านการออกแบบรายละเอียดมีความคืบหน้ากว่า 90% หากรายละเอียดของร่างสัญญาที่ 1 มีข้อยุติจะหารือร่างสัญญาที่ 2 การว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานต่อไป โดยช่วงปลายเดือนมีนาคม ไทยและจีนจะประชุมทางไกลร่วมกัน เพื่อหารืออย่างเป็นทางการควบคู่ไปกับการหาข้อสรุปเรื่องปัญหาที่ทางฝ่ายจีนต้องส่งวิศวกรมาประชุมและสอบเป็นภาคีพิเศษกับสภาวิศวกรไทย ให้สอดรับกับมาตรฐานก่อสร้างของไทย ขณะนี้จีนกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะส่งมาหรือไม่ ถ้าทางจีนไม่ส่งบุคลากรมาจะส่งผลให้ออกแบบก่อสร้างโครงการไม่ได้ จนในที่สุดต้องล้มเลิกโครงการนี้ไป หากได้ข้อสรุปว่าเดินหน้าต่อทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งขอความคิดเห็นโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเสนอ ครม.ในเดือนพฤษภาคม
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1490601927
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
เนื้อหาบทความเข้าใจง่าย ตัดสิ้นใจง่ายขึ้เลยครับ
รีวิวอ่านง่าย รูปภาพสวยครับ
มีประโยชน์มากๆค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะค่ะ
well