News
icon share

บิ๊กตู่ ตัดริบบิ้นบีทีเอสต่อขยาย แบริ่ง-สำโรง เปิดหวูดบริการขบวนแรก 13.00 น.

LivingInsider Report 2017-04-03 15:30:19
บิ๊กตู่ ตัดริบบิ้นบีทีเอสต่อขยาย แบริ่ง-สำโรง เปิดหวูดบริการขบวนแรก 13.00 น.

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้(3 เม.ย.2560) เวลา 09.00 น.พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีเปิดการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สำโรง ซึ่งเป็น 1ใน9สถานีของสายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ 
 


โดยกรุงเทพมหานคร(กทม.)จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางตั้งแต่เวลา13.00น.เป็นต้นไป โดยไม่เก็บค่าโดยสาร 1 สถานี ไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย.นี้ เพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาารจราจรในเขตยางนาและสมุทรปราการ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนที่พักอาศัยจำนวนมาก ทั้งนี้กทม.จะสามารถเปิดให้บริการสถานีต่างๆตลอดเส้นทางเต็มระบบภายในปี 2561
 




สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการมีระยะทาง 13 กิโลเมตร มี 9 สถานี ได้แก่ 1.สถานีสำโรง (E15) ตั้งอยู่ระหว่างสะพานข้ามคลองสำโรงกับแยกเทพารักษ์ 2.สถานีปู่เจ้าสมิงพราย  ตั้งอยู่บริเวณถนนซอยสุขุมวิท 115 3.สถานีพิพิธภัณฑ์เอราวัณ  ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิทซอย7 
 


4.สถานีโรงเรียนนายเรือ  ตั้งอยู่หน้าโรงเรียนนายเรือ 5.สถานีสมุทรปราการ ตั้งอยู่หน้าวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ 6.สถานีศรีนครินทร์ ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางปิ้ง 7.สถานีแพรกษา ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนสมุทรปราการ 8.สถานีสายลวด ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 45  9. สถานีเคหะสมุทรปราการตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 50  
 


โดยมีอาคารจอดแล้วจรบริเวณสถานีปลายทางสถานีเคหะฯเนื้อที่18ไร่ จอดได้ 1,200คัน มีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บริเวณหลังสถานีไฟฟ้าย่อยบางปิ้ง พื้นที่ 123 ไร่ มูลค่าโครงการ 27,673ล้านบาท แบ่งเป็นงานโยธาและงานระบบ21,085ล้านบาทและงานติดตั้งระบบเดินรถ 6,588 ล้านบาท 





พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การเปิดใช้บริการสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สำโรง จำนวน 1 สถานีวันนี้จะเป็นการเชื่อมการเดินทาง2จังหวัดระหว่างกรุงเทพฯกับเมืองบริวารจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อแก้ปัญหารรถติด โดยจะทยอยเปิดบริการสถานีที่เหลือในปี2561
 


นอกจากนี้ในอนาคตจะมีการก่อสร้างสายอื่นๆเช่น หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต-ลำลูกกาและสมุทรปราการ-บางปู สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรงจะมีสถานีชื่อต่อที่สำโรงและสีชมพูแคราย-มีนบุรี
 


ขณะเดียวกันนัฐบาลมีการลงทุนก่อสร้างระบบรางเชื่อมภูมภาคไม่ว่ารถไฟทางคู่รถไฟไทย-จีนเพื่อให้ประชาชนเพิ่งการขนส่งทางรางมากขึ้น เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการเดินทางและการขนส่งของประเทศในอนาคต
 


ซึ่งทั้งหมดบรรจุอยู่ในแผนสภาพัฒน์ฯฉบับที่12หรือรถไฟขบวนที่12 และยุทธศาสตร์ของประเทศ 20 ปีนับจากปี 2560
 


 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

 

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1491189397

 

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider