รายการโปรด
ปี 2562 เป็นต้นไปประเทศไทยจะมีรถไฟฟ้าสารพัดสีเปิดหวูดบริการ จนครบ 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กม. จากปัจจุบันเปิดให้บริการ 5 เส้นทาง 77 สถานี 107.8 กม.
ทั้ง 10 เส้นทางเป็นโครงข่ายถูกร่างไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระยะเวลา 20 ปี นับจากปี 2553-2572 ใช้เม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.8 แสนล้านบาท สถานะ ณ ปี 2560 มีทั้งที่ก่อสร้างเสร็จเปิดให้บริการ กำลังก่อสร้างและขออนุมัติจาก "ครม.-คณะรัฐมนตรี"
แต่กว่าที่แต่ละสายจะได้เดินหน้าก็ใช้เวลาผลักดันหลายปีและล่าช้าจากไทม์ไลน์ สวนทางกับสภาพของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปมาก จากการขยายตัวของภาคธุรกิจและการพัฒนาเมืองทั้งใจกลางกรุงเทพฯ ไปสู่ปริมณฑล
ล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" กำลังทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ในพื้นที่ต่อเนื่อง โดยร่วมกับประเทศญี่ปุ่นศึกษา หลังได้รับการสนับสนุนจาก "ไจก้า-องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น" ด้วยการนำโมเดลการพัฒนาจากญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบผ่านแนวคิด 5 กรอบ คือ
1.การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประโยชน์ 2.รถไฟฟ้าจะสร้างหลังจากนี้เน้นใช้วัสดุและคนในประเทศ 3.ลดต้นทุนในการลงทุนระบบ ที่ไม่จำเป็นออก เช่น เส้นทาง เดโป 4.สร้างรถไฟฟ้าเพื่อคนทุกกลุ่ม และ 5.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองบริวาร ตามแผนแม่บทด้านเหนือจะอยู่ที่รังสิต ด้านตะวันออกอยู่ที่มีนบุรี ด้านตะวันตกอยู่ที่ตลิ่งชัน-ศาลายา และด้านใต้อยู่สำโรง สมุทรปราการ ไม่ให้การพัฒนาเมืองเติบโตแบบไร้ขีดจำกัด
ขณะที่จำนวนเส้นทาง ยังคง 10 เส้นทางไว้เท่าเดิม ยกเว้นบางพื้นที่ต้องเพิ่มเพื่อเติมส่วนที่ยังขาดหายไปให้มีความสมบูรณ์ของการเดินทาง
"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การศึกษาแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ไจก้าจะเริ่มทบทวนโครงข่ายเดิมในระยะที่ 1 ดูว่าเส้นทางไหนที่ยังจำเป็นหรือไม่จำเป็น
จะเน้นโครงข่ายย่อยเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ปริมณฑลให้มากที่สุด ส่วนการออกแบบต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นโดยเฉพาะพื้นที่สถานี เข้าถึงพื้นที่ธุรกิจ หรือย่านการค้า และสร้างเมืองและพื้นที่ธุรกิจใหม่ ควบคู่โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้การลงทุนโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยย้ำว่าจะเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่ จากเมื่อก่อนเน้นสร้างรถไฟ แต่ไม่ได้คิดถึงการสร้างเมือง ไม่สร้างผ่านย่านธุรกิจเพราะมูลค่าที่ดินแพง ทั้งที่เป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการและเกิดการสร้างที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งไจก้าใช้เวลาศึกษา 1 ปี มีกำหนดเสร็จปี 2561 จากนั้นถึงเสนอให้ ครม.อนุมัติต่อไป
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1492598665
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ขอบคุณผู้เขียนค่ะ เป็นประโยชน์มาก
เหนือ Developer ก็มี Blogger นี่แหล่ะค่ะ ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น ขอบคุณค่ะ
อ่านสนุกจังค่ะ
ชอบมากเลยครับ บทความเเนวนี้ ไม่น่าเบื่อ
ห้องสวยมากๆเลยครับ
น่าติดตามค่ะ