News
icon share

โคราชผุดรถไฟฟ้ารางเบา รับเมืองเติบโต งบ1.5หมื่นล้าน-เฟสแรกเปิดใช้ปี66

LivingInsider Report 2017-04-20 13:52:20
โคราชผุดรถไฟฟ้ารางเบา รับเมืองเติบโต งบ1.5หมื่นล้าน-เฟสแรกเปิดใช้ปี66

 

 

สนข.เร่งศึกษาแผนแม่บทแก้ปัญหาจราจรโคราชหลังเมืองเติบโตรวดเร็ว ชี้รถไฟรางเบาหรือ LRT เหมาะสมที่สุดคาดใช้งบก่อสร้าง 1.5 หมื่นล้านบาท ค่าโดยสารไม่เกิน 20 บาท เผยเปิดเวทีรับฟัง 2 ครั้งชาวโคราชตอบรับดีคาดเฟสแรกเปิดใช้งานได้ในปี 66



นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่ สนข.ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ทำการศึกษาแผนแม่บทจราจร และแผนแม่บทพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรอย่างยั่งยืน โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือนโดย สนข. ได้ลงพื้นที่จัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) เพื่อพบปะกับกลุ่มผู้นำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 12 ครั้ง และได้จัดสัมมนาใหญ่ไปแล้วจำนวน 1 ครั้ง เพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามารับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตั้งแต่ขั้นตอนศึกษา การวางแผนโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปด้วยความโปร่งใส ชอบธรรมและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม



ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่า ระบบขนส่งสาธารณะที่เหมาะสมกับเมืองนครราชสีมา คือ ระบบรถรางเบาระดับพื้น (High Floor) ซึ่งจะเป็นระบบหลัก มีระบบรถโดยสาร (Bus Technology) เป็นระบบรอง สำหรับแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะ มีทั้งหมด 3 เส้นทางหลัก ได้แก่ สายสีเขียว สายสีส้ม และสายสีม่วง โดยจุดจอดแต่ละสถานี จะมีระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร



ศ.ดร.สุขสันติ์ หอพิบูลสุข หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในฐานะผู้จัดการโครงการ เปิดเผยถึงรายละเอียด โครงการศึกษาแผนแม่บทฯ ว่า แนวคิดการจัดทำแผนแม่บทจราจรและระบบขนส่งสาธารณะ เริ่มจากผลการสำรวจปริมาณการเดินทางเข้าสู่ตัวเมืองพบว่า 51% เป็นรถและการเดินทางผ่านเมือง จึงเสนอแผนการวางโครงข่ายถนนด้วยถนนวงแหวนทั้งรอบนอกและรอบในให้สมบูรณ์ เพื่อผันรถผ่านเมืองให้วิ่งอ้อมเขตเมืองได้สะดวกไม่ต้องเข้ามาในเขตเมือง ส่วน 49% เป็นการเดินเท้า ทางเข้า-ออกตัวเมืองเสนอแผนให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้ รถยนต์ ส่วนบุคคลเข้าเมืองหัน มาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทน จากผลการศึกษาและทำนายปริมาณความต้องการเดินทาง นำมากำหนดเส้น ทางระบบขนส่งสาธารณะ 3 เส้นทาง คือสายสีเขียว สายสีส้มและสายสีม่วง มีแผนการดำเนินโครงการพัฒนา เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 สายสีเขียวและสีส้ม เปิดบริการปี 2566 ระยะที่ 2 สายสีม่วง เปิดบริการปี 2569 และ ระยะที่ 3 ส่วนต่อขยายทั้งหมด เปิดบริการปี 2572



"อนาคต 20 ปี คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะประมาณ 2 หมื่น คนต่อชั่วโมงต่อทิศทางในชั่วโมงเร่งด่วน ผลการเลือกรูปแบบเทคโนโลยีระบบขนส่ง สาธารณะที่เหมาะสมที่ ความเร็ว ประมาณ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทางเลือก 2 กลุ่มคือ รถเมล์ ไฟฟ้า ด่วนพิเศษ (Electric Bus Rapid Transit, BRT และรถรางเบา (Light Rail Transit, LRT) สรุปผลการเปรียบเทียบโดยใช้ กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น(Analytic Hierarchy Process, AHP) ตามเกณฑ์ 5 ข้อ ในการจัด ลำดับ ความสำคัญ (ความน่า เชื่อถือของเทคโนโลยี ความเหมาะสมทางกายภาพ ศักยภาพในการรองรับ ปริมาณผู้โดยสาร ต้นทุนที่เกี่ยวข้องและค่าโดยสาร และ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน) พบว่าระบบ LRT มีความเหมาะสมมากที่สุดแผนแม่บท ระบบ ขนส่งสาธารณะจึงเสนอให้ใช้ระบบ LRT มีโครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน ผลการรับฟังความคิด เห็น จากเวที ต่างๆ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเส้น ทางรถไฟฟ้า ทั้ง 3 สาย"



ศ.ดร.สุขสันติ์ กล่าวอีกว่าสำหรับงบประมาณในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท ขั้นตอนจากนี้จะมีการสัมมนาครั้งใหญ่อีก 1 ครั้งถือเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสรุปแผนทั้งหมด ก่อนที่จะสรุปเพื่อนำเสนอรัฐบาลให้ความเห็นชอบแผน และใช้แผนนี้ในการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต ส่วนจะสามารถเริ่มต้นได้ตามแผนที่วางไว้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล



“โดยจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ เฟสแรกจะเป็นเส้นทางสายสีเขียวและสีส้ม ช่วงปี 2563-2565 เฟสที่2 เป็นเส้นทางสายสีม่วง ช่วงปี2566-2568 และเฟสที่ 3 เป็นเส้นทางส่วนต่อขยาย ช่วงปี2569-2571 ส่วนอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 15-20 บาทตลอดสาย ซึ่งก่อนการก่อสร้างเส้นทางตามแผนแม่บท จะมีการนำรถพลังงานไฟฟ้ามาทดลองวิ่งให้บริการก่อน เพื่อพิจารณาว่าได้ผลดีตามที่ได้ทำการวิจัยหรือไม่ก่อนจะลงทุนทำ LRT”

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

 

 

http://www.thansettakij.com/content/141742

 

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider