รายการโปรด
นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง เชียงใหม่… เมืองใหญ่ที่ต้องมีระบบขนส่งมวลชน ระบุว่า
เชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่อันดับต้นๆ ของประเทศไทย และเป็นเมืองเก่าที่ทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นด้านโบราณสถาน ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนอุปนิสัยใจคอของ “คนเมือง” เหล่านี้ล้วนผสมผสานเป็นมนต์เสน่ห์ของเมืองที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนเป็นจำนวนมากทุกปี การท่องเที่ยวจึงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมือง ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของเมือง สารพัดสารพันปัญหาถาโถมสู่เมืองเชียงใหม่ ทั้งปัญหาสาธารณูปโภค รถติด มลพิษ และอีกหลายเรื่อง ช่างไม่ต่างจากเมืองกรุงเลย
การจราจรติดขัดเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่ต้องรีบแก้ไขเพื่อไม่ให้การเจริญเติบโตของเมืองต้องชะลอตัว และเพื่อป้องกันไม่ให้เชียงใหม่ต้องประสบปัญหารถติดอย่างหนักเช่นเดียวกับกรุงเทพฯ ด้วยเหตุนี้ ระบบขนส่งมวลชนที่สามารถขนผู้โดยสารได้ครั้งละมากๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเมืองเชียงใหม่
หากย้อนดูอดีต จะพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามหาทางแก้ปัญหาจราจรของเมืองเชียงใหม่อย่างหลากหลาย เช่น
ในช่วงปี พ.ศ.2533-2534 สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้ความช่วยเหลือขององค์การยูเสด (United State Agency for International Development หรือ USAID) ได้จัดให้มี “โครงการวางแผนเพื่อพัฒนาเมืองเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาเมืองเชียงใหม่อย่างยั่งยืน โครงการนี้มีข้อเสนอแนะด้านการจราจร สิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์เมืองเชียงใหม่ รวมทั้งมีข้อเสนอเรื่อง “เมืองแฝด” และ “เมืองใหม่” ที่หวังจะให้รองรับความเจริญจาก “เมืองเก่า” ด้วย แต่ก็เป็นเพียงแค่การวางแผนเท่านั้น
คล้อยหลังจากโครงการนี้มา 3-4 ปี การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้วางแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา (Light Rail Transit หรือแอลอาร์ที) สำหรับเมืองเชียงใหม่ แต่ กทพ. ทำได้เพียงแค่การศึกษาความเหมาะสมเท่านั้น ไม่มีการลงมือก่อสร้างแต่ประการใด
ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ.2550 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาระบบขนส่งมวลชนสำหรับเมืองเชียงใหม่ โดยได้เสนอให้ก่อสร้างรถประจำทางด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit หรือ บีอาร์ที) แต่ก็เป็นได้แค่ข้อเสนอเท่านั้น
เมื่อไม่นานมานี้ มีความพยายามที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวหรือโมโนเรลเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางให้กับชาวเชียงใหม่ แต่สุดท้าย โมโนเรลก็ไม่เกิดขึ้น
ถึงเวลานี้ ผมอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งหาทางแก้ปัญหาจราจรในเมืองเชียงใหม่อย่างจริงจัง โดยขอให้พิจารณาศึกษาหาระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ ผมขอเสนอให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือ แอลอาร์ที (Light Rail Transit) ดังแสดงในรูปประกอบ โดยวิ่งบนระดับพื้นดินเป็นส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้ทำลายทัศนียภาพของเมือง ทั้งนี้ เราสามารถออกแบบแอลอาร์ทีให้กลมกลืนกับการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ได้ไม่ยาก แอลอาร์ทีสามารถขนผู้โดยสารได้จำนวนมาก ใช้เงินค่าก่อสร้างและค่าบริหารจัดการเดินรถไม่มาก ส่งผลให้ค่าโดยสารไม่แพง คนส่วนใหญ่สามารถใช้บริการได้ อีกทั้งมีความสะดวกสบายที่จะสามารถจูงใจผู้โดยสารได้
เมื่อการก่อสร้างสำเร็จ แอลอาร์ทีจะเป็นต้นแบบระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญของเมืองหลักอื่นในภูมิภาคอีกด้วย เช่น พิษณุโลก นครราชสีมา และหาดใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งพิจารณาก่อสร้างแอลอาร์ทีในเมืองหลักทุกภูมิภาค ก่อนที่เมืองเหล่านั้นจะมีสภาพการจราจรเหมือนกรุงเทพฯ
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493015691
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ขอบคุณที่คอยหาบทความที่มีประโยชน์มาให้ค่ะ
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วรู้เรื่องดีครับ
โดยรวมโอเค พัฒนาต่อไปครับ
น่าอยู่มากจ้าาาาา
ชอบลิฟวิ่งอินไซเดอร์มากค่ะ มีบทความดีๆให้อ่านแบบนี้ตลอดไปน่ะค่ะ