รายการโปรด
สุนัข เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงยอดนิยมของมนุษย์ จนได้ชื่อว่าเป็น ‘Man’s Best Friend’ สำหรับคนรักสุนัขนั้น คงไม่มีความรู้สึกใดที่จะอบอุ่นใจไปกว่าการได้กอดเพื่อนรักจอมซนจมูกเปียก ทำให้เรามักอยากจะพาสุนัขของเราไปเที่ยวด้วยทุกที่ แต่หากสุนัขของใครมีพฤติกรรมไม่ชอบเข้าสังคม หรือไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เวลาพาออกไปข้างนอก ก็อาจทำให้เจ้าของมีเรื่องปวดหัวได้ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และเป็นรายแรก ผู้พัฒนาโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้อย่างลงตัว จะมานำเสนอข้อคิดในการปรับพฤติกรรม “น้องหมา” ของคุณให้เป็น “พลเมือง” ดี สามารถเข้าสังคมร่วมกับคนและสัตว์อื่นๆ ได้
รักอย่างเดียวไม่พอ ความเข้าใจก็สำคัญนะ
นอกจากความรักที่มีให้กับเพื่อนสี่ขาของเราแล้ว ความเข้าใจในธรรมชาติ พฤติกรรม รวมถึงนิสัยของสุนัขก็เป็นเรื่องที่สำคัญ สุนัขที่แสดงความก้าวร้าว หลบเลี่ยงที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสุนัขตัวอื่น หรือควบคุมตัวเองไม่ได้เวลาที่ออกไปข้างนอก ชอบเห่า หรือในบางครั้งอาจถึงขั้นจะกัดคนหรือสุนัขตัวอื่นๆ อาจมีสาเหตุมาจากความกลัว ความไม่ชินกับสภาวะแวดล้อมใหม่ๆ หรือตื่นตัวจากสิ่งกระตุ้นต่างๆ โดยเฉพาะในสุนัขที่ขาดการเรียนรู้การเข้าสังคมตั้งแต่เด็ก ในการพาสุนัขออกไปเดินเล่นข้างนอก หรือเข้าสังคม ผู้เลี้ยงต้องรู้จักสังเกตและเข้าใจพฤติกรรมของสุนัขด้วย สุนัขมักจะสื่อสารอารมณ์ผ่านอวัยวะต่างๆ อย่าง ตา หาง และหู เช่น เวลาที่สุนัขหาว มันอาจกำลังบอกเราว่ากำลังเหนื่อย กำลังเครียดหรือวิตกกังวลกับอะไรบางอย่าง หรือการที่หางของสุนัขม้วนเข้าไปใต้ก้น อาจหมายถึงว่ามันกำลังรู้สึกกลัวอยู่นั่นเอง
นอกจากนี้ เราควรต้องเข้าใจด้วยว่า ในเวลาที่ฮอร์โมนของสุนัขมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงติดสัด ช่วงตั้งท้อง และช่วงเลี้ยงลูก ก็อาจส่งผลกับพฤติกรรมของสุนัขได้เช่นกัน
แสดงให้รู้ว่าใครใหญ่
ธรรมชาติของเจ้าตูบเองเป็นสัตว์สังคมที่ใช้ชีวิตร่วมกับเป็นฝูง จึงต้องมี ‘จ่าฝูง’ เป็นผู้คอยดูแลความเรียบร้อยให้กับทุกคน ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องสร้างความเป็น ‘จ่าฝูง’ให้กับตัวเอง อย่างการพาสุนัขออกไปเดินเล่น ผู้เลี้ยงจะต้องเป็นคนชวนน้องหมาออกไปเดินเล่น เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้เมื่อผู้เลี้ยงสั่งหรืออนุญาตให้ทำ นอกจากนี้ เวลาจูงสุนัขออกไปเดินข้างนอก ไม่ควรให้สุนัขเดินนำหน้า และให้เดินข้างๆ เราเท่านั้น เพราะการปล่อยให้เดินนำ จะทำให้สุนัขคิดว่ามันคือจ่าฝูง ซึ่งจะส่งผลให้สุนัขไม่เชื่อฟังคนเลี้ยง
สอนให้ “สื่อสาร” กันได้ด้วยคำสั่งพื้นฐาน
การฝึกขึ้นพื้นฐาน (Basic obedience) ให้เข้าใจถึงคำสั่งพื้นฐานง่ายๆ โดยที่ผู้เลี้ยงสามารถฝึกสอนได้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เลี้ยงและเจ้าของได้ดียิ่งขึ้น และมีส่วนช่วยในการควบคุมความประพฤติของน้องหมา โดยเริ่มจากการฝึกในเบื้องต้น อย่าง การฝึกขับถ่ายให้ถูกที่ การจัดเวลาให้อาหาร ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเป็นผู้ออกกฏ รวมไปถึงการฝึกให้เจ้าตูบปฏิบัติตามคำสั่ง เช่น การนั่ง หมอบ คลาน คอย พร้อมลูบหัวหรือกล่าวคำชม และตบท้ายด้วยการให้ขนมเป็นรางวัลเมื่อทำสำเร็จ เช่น ‘ท่านั่ง’ เริ่มจากผู้เลี้ยงจะต้องนั่งตรงข้ามเจ้าตูบ พร้อมออกจำสั้นว่า ‘นั่ง’ อาจจะต้องใช้ขนมเป็นตัวล่อให้น้องหมาสนใจก่อน แล้วจึงพยายามออกคำสั่ง (แต่ก็ไม่ควรล่อสุนัขด้วยขนมบ่อยจนเจ้าตูบเสียนิสัยนะ) เมื่อเจ้าหมายอมนั่งแต่โดยดีให้แสดงความชื่นชม แต่ถ้าน้องหมายังไม่ยอมทำตาม ผู้เลี้ยงจะต้องออกคำสั่งเพิ่มเช่น ‘ไม่เอา’ ‘ไม่’ ‘พอ’ และจึงเริ่มคำสั่งนั่งใหม่อีกครั้ง
เมื่อเกเรก็ต้องอบรมกันบ้าง
เวลา น้องหมา ตัวน้อยชอบส่งเสียงเห่าไม่หยุดอาจสร้างความรำคาญให้กับคนรอบข้างได้ ผู้เลี้ยงควรฝึกให้เจ้าตูบรู้ว่า สิ่งที่ทำไม่ถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากการให้สัญญาณกับน้องหมาว่า ถึงเวลาที่ควรจะต้องหยุดส่งเสียงรบกวนได้แล้ว เช่น เวลาหมาเห่าได้ครั้งถึงสองครั้งให้ผู้เลี้ยง เคาะประตู เก้าอี้ หรือพื้น เพื่อเป็นการบอกให้น้องหมาหยุดเห่า พร้อมบอกว่า “พอแล้ว” เมื่อน้องหมาหยุด ให้ผู้เลี้ยงกล่าวคำชมพร้อม ให้ขนมหรือของกินที่ชอบเป็นรางวัล หากน้องหมาไม่หยุดเห่า ให้เราเอาขนมเข้าไปใกล้ๆ จมูกให้เค้าดมเมื่อน้องหมาหยุดจึงพูดว่า “พอแล้ว” รออีกสักพักถ้ายังเงียบอยู่จึงกล่าวคำชมพร้อมให้รางวัล
เมื่อเจ้าตูบทำพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผู้เลี้ยงจะต้องทำหน้าที่ในทันทีโดยเริ่มจากการใช้เสียงที่ทำแสดงถึงอำนาจให้น้องหมาเพื่อส่งสัญญาณเตือน เช่น เฮ้!! ชูว์วว หรือ หยุด สั้น คำสั้นๆ กระชับ ไม่ก้าวร้าว แต่บ่งบอกถึงคำสั่งของผู้นำ แต่ถ้าหากน้องหมายังไม่เชื่อฟังหรือยังคงขัดคำสั่งอยู่ ให้กระตุกสายจูง (เปรียบเสมือนการตักเตือนจากจ่าฝูง) จนกว่าน้องหมาจะหยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นๆ พร้อมกับเตือนทุกครั้งที่น้องหมาจะทำพฤติกรรมเดิมอีก
หาเวลาพา “น้องหมา” ไปเข้าสังคมบ่อยๆ
ไม่ว่าสุนัขของคุณจะตัวเล็กหรือใหญ่ การที่สุนัขอยู่แต่ในบ้านตลอดเวลาจะทำให้มันเกิดความเบื่อ เครียด จนอาจทำให้หันไปทำลายข้าวของ นอกจากนี้ยังทำให้น้องหมาไม่ชินกับการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ การพบปะคนหรือน้องหมาแปลกหน้า ทั้งๆ ที่ธรรมชาติของสุนัขเป็นสัตว์สังคม ฉะนั้นผู้เลี้ยงควรต้องหาเวลาพาสุนัขออกมาเดินเล่น เพื่อออกกำลังกาย พบปะผู้คนและน้องหมาตัวอื่น ๆ อยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาวะอารมณ์และสุขภาพจิตที่มั่นคงของน้องหมาในระยะยาวนั่นเอง
เอสบี ดีไซน์สแควร์ ชวนช็อปลดหย่อนภาษี “Easy E-Receipt 2.0” พร้อมจัดแคมเปญดับเบิ้ลคุ้ม 3 ต่อ กระตุ้นการจับจ่ายต้นปี 68
เมื่อวานนี้
อนันดาฯ ส่งแคมเปญ “I Say YES! อนันดา..ใช่เลย” ขนคอนโด บ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่ ใกล้รถไฟฟ้า มอบส่วนลดสูงสุด 4 ลบ.* แจกทองสูงสุด 10 บาท*
เมื่อวานนี้
แอทโมซ ซีซั่น ลาดกระบัง คอนโดสร้างเสร็จใหม่พร้อมอยู่ เริ่ม 1.49 ลบ.* เปิดชมตึกจริงครั้งแรก 18-19 ม.ค.นี้
เมื่อวานนี้
“สุดารา” คอนโดหรูสไตล์รีสอร์ตใจกลางบางเทา บุกกรุงเทพฯ เตรียมจัดงานพิเศษ กางอินไซด์ตลาดอสังหาฯ ภูเก็ตปี 68
2025-01-14
D’Well จับมือ MOTIF ร่วมเปิดประสบการณ์การอยู่อาศัยรูปแบบใหม่ ส่งมอบเฟอร์นิเจอร์หรู “Fendi Casa” กับโครงการ “ARNA RAMA9”
2025-01-14
ไม่ต้องไปดูโครงการแล้วหล่ะครับ เขียนละเอียดขนาดนี้ 55 ขอบคุณครับ
ใส่ใจรายละเอียดของข้อมูลดีมากค่ะ
ใช้ภาษาเข้าใจง่ายดีค่ะ
เขียนบทความตามกระแส ทันเหตุการณ์ดีค่ะ
เป็นกำลังใจให้ค่ะ เขียนดี รอติดตาม
รีวิวซะอยากซื้อเลยครับ