รายการโปรด
หนึ่งในตัวช่วยมาปลดแอกภาระหนี้กว่า 1 แสนล้านบาท ของ "ขสมก.-องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะของประเทศไทย คือการซื้อรถเมล์ใหม่ พร้อมติดตั้งระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Ticket)
ล่าสุดแผนการซื้อรถเมล์ NGV ลอตแรก 489 คัน วงเงินกว่า 3.3 พันล้านบาท ได้ล่มกลางคัน ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มนับหนึ่งประมูลใหม่ได้เมื่อไหร่
ในส่วนของบัตรโดยสารรูปแบบใหม่ที่ผลักดันกันมานานกำลังจะได้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่15 มิ.ย. 2560 ที่ผ่านมา หลัง ขสมก.ได้ลงนามสัญญาเช่าระบบบัตร e-Ticket กับบริษัท ช. ทวี จำกัด ผู้ประกอบการจากจังหวัดขอนแก่น ที่ผลักดันโครงการ "ขอนแก่นซิตี้บัส" สำเร็จมาแล้ว
งานนี้ "ช. ทวี" จับมือพันธมิตร 4 ราย จากประเทศเกาหลี ได้แก่ บริษัท จัมป์ อัพ จำกัด, บริษัท เอเชนเทค (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด และ TMoney เพื่อติดระบบในรถเมล์ ขสมก. จำนวน 2,600 คัน วงเงิน 1,665 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 5 ปี
ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ใช้กับรถเมล์ "ขอนแก่นซิตี้บัส" โดยติดตั้งระบบ e-Ticket เครื่องอ่านบัตร และเครื่องเก็บค่าโดยสารในรถประจำทาง จะเริ่มดำเนินการสำหรับรถโดยสารที่ให้บริการฟรีก่อน 800 คัน ให้แล้วเสร็จและใช้บริการได้ทันวันที่ 1 ต.ค.นี้ เพื่อรองรับการออกบัตรสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยที่มีอยู่ในระบบ 14 ล้านราย ตามนโยบายของรัฐบาล คสช. ซึ่งในบัตร 1 ใบ ทางกระทรวงการคลังจะใส่เงินให้จำนวน 600 บาท
จากนั้น "ช. ทวี" จะทยอยติดตั้งจนครบ 2,600 คัน ภายใน 300 วัน นับตั้งแต่มีการลงนามสัญญา
"สมศักดิ์ ห่มม่วง" กรรมการบริหารกิจการองค์การ รักษาการผู้อำนวยการ ขสมก. กล่าวว่า เครื่องจะมีทั้งบัตรโดยสารและหยอดเหรียญ สำหรับวิธีการใช้งานเครื่องอ่านบัตรสามารถใช้ร่วมกับบัตรสวัสดิการ หรือบัตรแมงมุม โดยจะแสดงข้อมูลของเจ้าของบัตร เมื่อนำบัตรไปวางไว้ที่เครื่องสแกน เครื่องจะทำการหักเงินในบัตร และเมื่อจะลงจากรถก็นำบัตรไปสแกนอีกครั้ง ระบบจะคิดตามอัตราค่าโดยสารจริง
"หากเดินทางไม่สุดระยะทางของรถโดยสารสายนั้น ระบบก็จะคืนเงินในบัตรให้ เพื่อป้องกันการไม่จ่ายค่าโดยสาร เช่น อัตราค่าโดยสารสูงสุด 40 บาท หากเดินทางอัตราค่าบริการ 20 บาท ระบบจะคืนเงินอีก 20 บาท เมื่อไปสแกนบัตรเพื่อลงจากรถ"
ส่วนเครื่องหยอดเหรียญ ให้กดเลือกระบุวัย จากนั้นก็เลือกจุดหมายปลายทางที่จะลง ซึ่งตัวเครื่องจะแสดงค่าโดยสารให้หยอดเหรียญลงไป หากใส่เกินก็จะสามารถทอนเงินได้ เมื่อจ่ายค่าโดยสารเสร็จจะมีใบเสร็จที่มีบาร์โค้ด คล้ายตั๋วรถโดยสาร เอาไว้สำหรับนายตรวจมาตรวจสอบตั๋วโดยสาร
"บัตรโดยสารที่นำมาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บค่าโดยสารลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็วในการเดินทาง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายโดยไม่เสียค่าแรกเข้า"
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีพนักงานเก็บค่าโดยสารบนรถอยู่เพื่อแนะนำวิธีการใช้ และแลกเหรียญในกรณีที่ผู้โดยสารไม่มีเหรียญหยอดเครื่องเก็บค่าโดยสาร ก่อนที่จะทยอยเลิกจ้างพนักงานเก็บค่าโดยสารที่มีอยู่กว่า 4,000 คน ไปทำหน้าที่อื่นภายใน 2 ปีนี้
เป็นแผนงานที่อยู่ในแผนฟื้นฟูองค์กร ขสมก. มานานหลายปี แต่เพิ่งเริ่มนับหนึ่งในยุคนี้
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1498638820
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ชอบสไตล์การเขียนจังเลยคะ เข้าใจง่าย น่าติดตาม
ขอบการเขียนรีวิวของเว็บนี้จัง
ขอบคุณที่คอยอัพเดทข่าวสารให้ทราบค่ะ
ดีๆๆๆๆๆๆ มากๆเลย หาอ่านแบบนี้มานานแล้ว
อ่านเเล้วอยยากเห็นหน้านักเขียนเลยค่ะ 555555