รายการโปรด
เมื่อวันที่ 10 ส.ค.60 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการแถลงข่าวเรื่อง “การปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า สถานีสะพานตากสิน (S6)”
นายอาคมกล่าวว่า การบำรุงรักษาสะพานในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ถือเป็นภารกิจส่วนหนึ่งของ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) โดยมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ทช.เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
ได้แก่ สะพานภูมิพล 1 สะพานภูมิพล 2 สะพานมหาเจษฎาบดินทรานุสรณ์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับการถ่ายโอนมาจากกรมโยธาธิการ ได้แก่ สะพานพระราม 4 สะพานพระราม 5 สะพานพระราม 7 สะพานกรุงธน สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สะพานพระปกเกล้า สะพานพระราม 3 สะพานกรุงเทพ และสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานตากสิน)
สำหรับในส่วนของสะพานตากสิน ทาง กทม.ได้ดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชน (BTS) สายสุขุมวิท-สีลม โดยเปิดให้บริการในปี 2542 ซึ่งมีสถานีตากสิน (S6) เป็นสถานีสุดท้าย ต่อมาในปี 2552 ได้เริ่มเปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสถานีสะพานตากสิน (S6) – สถานีวงเวียนใหญ่ (S8) และต่อขยายเพิ่มเติมจนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง สถานีบ้านหว้า (S12) ในปี 2556 และในการเปิดใช้บริการส่วนต่อขยาย ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการมากขึ้น
แต่เนื่องจากสถานีตากสิน (S6) ซึ่งเป็นสถานีชั่วคราวมาแต่เดิม มีลักษณะเป็นทางวิ่งเดี่ยว รถไฟฟ้าต้องจอดสับราง ทุกครั้งที่จะเดินรถผ่าน ทำให้ความถี่ในการเดินรถไฟฟ้าไม่เพียงพอจึงมีความจำเป็นต้องขยายช่องทางเดินรถบนสถานีตากสิน (S6) จากทางวิ่งเดี่ยวให้เป็นทางวิ่งคู่ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท เปิดเผยว่า ทช.ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครในการแก้ไขปัญหาสถานีรถไฟฟ้า สถานีสะพานตากสิน (S6) โดยปรับเปลี่ยนทางเดินรถจากช่องทางเดี่ยวบนสะพานเป็นช่องทางคู่ และเพิ่มชานชาลาให้สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างปลอดภัย
ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องเจาะช่องผิวจราจรบนสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ด้านในกว้าง 1.80 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร จำนวน 6 ช่อง และเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้ยานพาหนะบนสะพานจึงจำเป็นต้องสร้างพื้นสะพานทดแทนกว้าง 1.80 เมตร เป็นระยะทางประมาณ 230 เมตร เพื่อให้เพียงพอต่อระยะเบี่ยงแนวทางวิ่งของรถยนต์บนสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ในขั้นตอนดำเนินการได้พิจารณาถึงแนวทางการก่อสร้าง เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งานยานพาหนะบนสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้ตกลงกับกรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างพื้นสะพานทดแทนด้านปีกนอกของสะพานทั้งสองฝั่งให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะดำเนินการขยายช่องทางวิ่งรถไฟฟ้าเป็นทางวิ่งคู่พร้อมชานชาลาของรถไฟฟ้า
เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากจะไม่มีผลกระทบต่อการจราจรบนสะพานตากสินแล้ว ยังจะสามารถเพิ่มการให้บริการรถไฟฟ้า ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอรถไฟฟ้านาน ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้บริการสะพานและรถไฟฟ้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-19848
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
เหนือ Developer ก็มี Blogger นี่แหล่ะค่ะ ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณบทความดี รีวิวอ่านง่าย
ภาพรวมเว็บน่าสนใจมากๆ มีหลากหลายเนื้อหาให้อ่านดีครับ
well