News
icon share

การทางฯประชาพิจารณ์สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 หลังจบสัมปทาน ช.การช่างปี’63 รอเคาะ ต.ค.นี้

LivingInsider Report 2017-08-29 11:17:49
การทางฯประชาพิจารณ์สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 หลังจบสัมปทาน ช.การช่างปี’63 รอเคาะ ต.ค.นี้

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ส.ค.2560 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดรับฟังความคิดเห็นการดำเนินการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ทางพิเศษศรีรัช) ภายหลังจากสัญญาร่วมทุนกับ บมจ.ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) บริษัทในเครือ บมจ.ช.การช่าง จะสิ้นสุดวันทึ่ 29 ก.พ.2563

 

นายดำเกิง ปานขำ รองผู้ว่ากทพ. กล่าวว่า สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 และสัญญาเพื่อการต่อขยายโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนดี เป็นสัญญาร่วมลงทุนโครงการแรกที่จะสิ้นสุดสัญญาและอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556

 

โดยกำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2563 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการทำผลการศึกษาเพื่อหาแนวทางดำเนินการหลังสัญญาสิ้นสุดลง

การทางฯประชาพิจารณ์สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 หลังจบสัมปทาน ช.การช่างปี’63 รอเคาะ ต.ค.นี้

 

ทาง กทพ.จึงได้ว่าจ้างบริษัที่ปรึกษามาศึกษาแนวทางการดำเนินการ โดยเปรียบเทียบ 3 กรณี คือ 1.กทพ.ดำเนินการเอง 2.ให้ BEM ร่วมลงุทน 3.ให้เอกชนรายใหม่ร่วมลงทุน เพื่อประเมินแนวทางไหนที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด จะสรุปภายในเดือน ต.ค.นี้

 

“หลังหมดสัญญา โครงการนี้จะตกเป็นทรัพย์สินของการทางพิเศษ เท่ากับเป็นสมบัติของชาติ และเป็นโครงการแรกที่รัฐร่วมลงทุนเอกชน ทั้งนี้การเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ที่สุด และโครงการนี้จะเป็นโมเดลให้กับโครงการอื่นๆ ต่อไปด้วย”

 

นายวรวัส วัสสานนท์ รองผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า สัญญาทางด่วนขั้นที่ 2 รวมส่วนดีนี้เริ่มสัญญาวันที่ 22 ธ.ค.2531 ระหว่าง กทพ. กับ บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) หรือ BEM ในปัจจุบัน จะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 29 ก.พ.2563 ในขณะนั้นใช้เงินลงทุน 56,816 ล้านบาท

 

แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 16,816 ล้านบาท รับผิดชอบโดย กทพ.และค่าก่อสร้างที่เอกชนเป็นผู้ลงทุน 40,000 ล้านบาท ในปีแรกเปิดบริการมีปริมาณการจราจรอยู่ที่ 100,000 เที่ยวคัน/วัน ปัจจุบันอยู่ที่กว่า 700,000 เที่ยวคัน/วัน

 

“การศึกษาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ จะดูด้านวิศวกรรม การเงิน เศรษฐกิจ กฎหมายและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ทั้ง 3 กรณี จะส่งรายงานวันที่ 15 ก.ย.นี้”

 

ทั้งนี้โครงการนี้มีมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 มาตรา 47 เพื่อแก้ไขสัญญา แต่หากเจรจาแล้วไม่ได้ข้อยุติจะต้องดำเนินการตามมาตรา 48 เสนอเป็นโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการใหม่ต่อไป

 

ขณะเดียวกันในสัญญาสัมปทานข้อ 21 ระบุว่าการต่อสัญญากับบีอีเอ็ม อาจจะต่อได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 10 ปี ตามที่เงื่อนไขของ กทพ.กับบีอีเอ็มจะตกลงกัน โดยพิจารณาประกอบกับความเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องของสิทธิตามสัญญา อัตราค่าตอบแทนของ กทพ. และบีอีเอ็ม

 

ผลประโยชน์ต่อสาธารณชน ผู้ถือหุ้นของบีอีเอ็ม และผู้ให้กู้ ก่อนสิ้นสุดของระยะเวลาสัญญา ทั้ง กทพ. และบีอีเอ็มจะต้องเจรจากันโดยสุจริต เพื่อพยายามต่อระยะเวลาของสัญญาออกไปตามเงื่อนไขที่สองฝ่ายสามารถรับได้ ส่วนจะต่อหรือไม่ต่ออยู่ที่คู่สัญญา

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

https://www.prachachat.net/property/news-29744

 

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider