News
icon share

กทม.รอลุ้นภาษีที่ดิน ดันรายได้พุ่ง30-50%

LivingInsider Report 2017-10-04 15:59:26
กทม.รอลุ้นภาษีที่ดิน ดันรายได้พุ่ง30-50%

 

การที่ภาครัฐยังคงยืนยัน ร่างพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง พ.ศ. ... จะทันบังคับใช้ในปี 2562 กทม.ในฐานะหน่วยงานจัดเก็บภาษีท้องถิ่นรายใหญ่ เตรียมความพร้อมและประเมินผลต่อรายได้จัดเก็บอย่างไร

 

“ฐานเศรษฐกิจ” สัมภาษณ์พิเศษ นายกฤษฎา ศิริพิบูลย์ผู้อำนวยการสำนักการคลัง (สนค.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีรายละเอียดดังนี้...

 

++ผลต่อรายได้จัดเก็บ


กทม.ได้ทำการสุ่มสำรวจสิ่งปลูกสร้างเขตชั้นในและชั้นนอก นำร่อง 5 สำนักงานเขต คือสำนักงานเขตคลองเตย บางแค บางขุนเทียน ลาดกระบัง และสาทร สำนักงานเขตละ 3-4 ราย ไปประเมินตามอัตราภาษีใหม่ที่ใช้ฐานราคาประเมินของกรมธนารักษ์

 

ผลปรากฏว่ารายได้เพิ่มกว่าปัจจุบันที่ใช้ฐานราคาปานกลางที่ดินของกระทรวงมหาดไทยปี 2524 ที่จัดเก็บจากภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง, ภาษีบำรุงท้องที่รวมกัน และคาดว่ากทม.จะมีรายได้เพิ่มจากภาษีตัวใหม่ 30-50% จากที่จัดเก็บภาษีในปัจจุบันได้ราว 1.5 หมื่นล้านบาท น่าจะเพิ่มเป็นไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ในปี 2562

กทม.รอลุ้นภาษีที่ดิน ดันรายได้พุ่ง30-50%

 

“คือเรารู้ว่าราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ไม่ใช่ราคาซื้อขาย เพียงแต่ยังไม่รู้ชัดว่าจะตํ่ากว่าราคาซื้อขายสักเท่าไร แต่สูงกว่าปี 2524 แน่ๆ ซึ่งต้องรอให้มีการวัดพื้นที่ทั้งที่ดิน-ตัวอาคารอย่างละเอียด และคำนวณการใช้ประโยชน์ของพื้นที่

 

ส่วนจะกระทบประชาชนมากน้อยหรือไม่ ต้องดูว่ากฎหมายเคาะออกมาจะมีข้อยกเว้นอะไร เช่นเดิมระบุ ยกเว้นภาษีกรณีบ้านรวมที่ดินหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ล่าสุดขยับเป็นว่าไม่เกิน 20 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษี ผล กระทบแน่ๆ จะเป็นกลุ่มบ้านเช่า และอาคารพาณิชย์ที่ต้องเสียมากกว่าปัจจุบัน

 

++งบอุดหนุนลด?


ช่วง 3 ปีงบประมาณ 2558, 2559 และ 2560 กทม.ได้รับงบอุดหนุนอยู่ที่ 15,068 ล้านบาท, 16,589 ล้านบาท และ 19,975 ล้านบาทตามลำดับ วงเงินตรงนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามมติของคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น (มีนายวิษณุ เครืองาม เป็นประธาน)

 

“คำถามที่ว่ารายได้ของ กทม.เพิ่มงบอุดหนุนที่ได้รับจัดสรรจะถูกหั่นหรือไม่ คือเราคาดว่าปีงบประมาณ 2561 ยัง ได้ใกล้เคียงของเดิมประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่ปีงบประมาณ 2562 อาจมีการวางหลักเกณฑ์ใหม่ให้กับท้องถิ่น อย่างไรก็ดี

 

การที่กทม.ได้รับงบอุดหนุนเพิ่มแต่ละปี ก็มาจากภารกิจที่รัฐ
มอบหมายเพิ่ม เช่นเบี้ยยังชีพ, เบี้ยผู้พิการ เงินเดือนครู ฯลฯ ทุกปีกทม.ไม่พออยู่แล้วต้องเอางบกทม.มาจ่ายสมทบ และยังมีโครงการที่กทม.ต้องพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะรถไฟฟ้าที่รัฐบาลโอนภารกิจมาให้ ซึ่งก็ต้องเตรียมการรองรับ”

 

งบรายจ่ายประจำปี 2560 ของกทม.อยู่ที่ 95,033 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นงบอุดหนุน 19,975 ล้านบาทและงบกทม.75,058 ล้านบาท ตั้งเป้ารายได้ที่ 76,000 ล้านบาท ตัวเลข ณ วันที่ 20 กันยายน 2560 (1 ต.ค.59-20 ก.ย. 60) จัดเก็บได้ 75,337 ล้านบาท

 

แยกเป็นรายได้ที่ส่วนราชการอื่นจัดเก็บให้ 56,875 ล้านบาท (จากเป้า 56,000 ล้านบาท) รายได้จากภาษีที่กทม.จัดเก็บเอง 14,492 ล้านบาท (เป้า 15,820 ล้านบาท และรายได้จากภาษีค่าธรรมเนียม-สาธารณูปโภค ที่กทม.จัดเก็บอีก 3,971 ล้านบาท (เป้า 4,180 ล้านบาท)

กทม.รอลุ้นภาษีที่ดิน ดันรายได้พุ่ง30-50%


++เตรียมการ 1 ปีอย่างไร


หากพ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯบังคับใช้ปี 2562 กทม.จะมีเวลาเตรียมการ 1 ปี งานที่ต้องทำคือปี 2561 เราต้องสำรวจที่ดินประมาณกว่า 2 ล้านแปลง และอาคารอีก 2.8 ล้านหลัง ปัจจุบันกทม.ยังเข้าสำรวจไม่ได้ เพราะการจะขอข้อมูลจากกรมที่ดิน

 

เราต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกับคนทั่วไป ประเมินค่าใช้จ่ายกว่า 10 ล้านบาท จึงต้องรอให้กฎหมายคลอดเสียก่อน กฎหมายได้ให้อำนาจ กทม.ในฐานะหน่วยงานผู้จัดเก็บภาษี ซึ่งกรมที่ดินมีหน้าที่ต้องให้ข้อมูล

 

กทม.ยังได้ประสานกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยขอข้อมูลรหัสประจำบ้าน ชื่อเจ้า ของบ้านเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บภาษีและตรวจสอบความเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง การจัดโครงการสัมมนาให้ความรู้เจ้าหน้าที่/ผู้บริหารงานจัดเก็บรายได้ และจากการที่กรร
มาธิการวิสามัญสภานิติบัญญัติแห่ง
ชาติ (สนช.) ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ได้เชิญให้ กทม.ร่วมเป็นหนึ่งในอนุกรรมาธิการฯ โดยได้ประชุมแล้ว 4 ครั้ง

 


“ทันทีที่กฎหมายออกกทม. ต้องจ้างบริษัทมาทำการสำรวจวัดพื้นที่ โดยจะใช้บริษัทประเมินรายเดียวกับที่กรมธนารักษ์ว่าจ้าง งบประมาณ 300 ล้านบาท หากให้ทำเองคงไม่ทันเพราะต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก ดังนั้นภายในสิ้นปีนี้กฎหมายต้องออกให้ได้”

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

 

http://www.thansettakij.com/content/214094

 


 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider