รายการโปรด
“เซ็นทารา” จ่าย 1,150 ล้านบาท คว้าสิทธิบริหารโรงแรมศูนย์ราชการ 20 ปีแบบไร้คู่แข่ง “สุเมธ” อ้างราคาเหมาะสม พร้อมส่งอัยการตรวจสัญญาก่อนเสนอรัฐมนตรีคลังอนุมัติ
หลังจากที่บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.)เปิดให้เอกชนซื้อเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุนในสิทธิการเช่าอาคารศูนย์ประชุมและโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ มีระยะเวลาการเช่า 20 ปี ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 และสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2581 เนื่องจากเอกชนรายเดิมคือกลุ่มเซ็นทารา จะหมดสัญญาว่าจ้าง 3 ปี ในการบริหารโรงแรมและศูนย์ประชุมในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้จัดการบริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.)เปิดเผยว่า หลังจากเปิดซองราคาแล้ว พบว่า มีเอกชนยื่นเสนอเข้ามารายเดียวคือ กลุ่มเซ็นทารา ในราคา 1,150 ล้านบาท สูงกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 1,136 ล้านบาทเล็กน้อย ซึ่งคณะกรรมการบริษัทรับทราบผลดังกล่าวแล้ว และเสนอความเห็นชอบส่งให้อัยการตรวจสัญญา จากนั้นจะเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาลงนามหากอนุมัติตามเสนอก็ถือว่าจบ
“เท่าที่พูดคุยกับผู้ชนะประมูลเห็นว่า เป็นพื้นที่มีศักยภาพที่คนอื่นอาจจะมองไม่เห็น จึงไม่กล้าปล่อย แม้ว่าจะต้องจ่ายเงินทั้งก้อนในครั้งเดียวก็ตาม ซึ่งคนอื่นอาจจะมองว่าโหดเกินไป และที่สำคัญระยะเวลาบริหาร 20 ปี ยังทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพ ปรับปรุงการให้บริการ และทำการตลาดระยะยาวได้ เมื่อเทียบกับสัญญา 3 ปีที่มองว่า สั้นไป ทำอะไรไม่ได้มากนัก”นายสุเมธ กล่าว
สำหรับค่าตอบแทน 1,150 ล้านบาทเมื่อเทียบกับสัญญา 20 ปีนั้น นายสุเมธกล่าวว่า ไม่น้อยเกินไป เพราะโรงแรมโดยศักยภาพแล้วไม่ใช่โรงแรม 5 ดาวไม่สามารถไปเทียบกับเซ็นทารา ลาดพร้าวได้ และที่ตั้งโรงแรมยังตั้งห่างจากถนนลึกถึง 1 กิโลเมตร เป็นโรงแรมสัมมนา ไม่ใช่โรงแรมท่องเที่ยว ดังนั้นค่าใช้จ่ายต้องแข่งขันกับโรงแรมกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในละแวกศูนย์ราชการมีโรงแรมระดับ 3 ดาวหลายแห่ง และหากเทียบกับการลงทุนพัฒนาต่อปี ถือว่าได้เยอะกว่าที่จะลงทุนเอง
ส่วนเงินที่ได้จากสิทธิ์ในการบริหารโรงแรมดังกล่าว ธพส.จะนำไปชำระหนี้ เพื่อให้ส่วนของทุนกลับมาเป็นบวก และยังมีแผนลงทุนโครงการบ้านประชารัฐอีก 200-300 ล้านบาท ซึ่งจะเปิดตัวในเร็วๆนี้ และเตรียมเงินไว้ เพื่อลงทุนก่อสร้างศูนย์ราชการโซนซี บนพื้นที่ 81 ไร่ มูลค่าลงทุน 22,000 ล้านบาทในปีหน้า ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการอำนวยการศูนย์ราชการเห็นชอบไปแล้ว
ในหลักการลงทุนคือให้กรมธนารักษ์ สภาพัฒน์ และสำนักงบประมาณช่วยกันดูแลในเรื่อง 1.การจัดสรรพื้นที่ให้หน่วยงาน 2.งบลงทุนต้องไม่เกินกว่าสิ่งที่รัฐกำหนดและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
“เราจะพยายามนำเรื่องเข้าครม.อีกรอบประมาณกลางปีหน้า เพื่อให้สามารถก่อสร้างได้ภายในปีหน้าเพราะขณะนี้ยังมีส่วนราชการหลายแห่งที่ต้องการพื้นที่ที่ใหญ่ เพราะพื้นที่เดิมจำกัดไม่สามารถขยายได้อย่างที่บริเวณถนนราชดำเนินหรือ หน่วยงาน ป.ป.ท. ปปง.ต้องการย้ายออกมาด้วย” นายสุเมธ กล่าว
ขณะที่แผนการระดมทุนหลักๆยังเป็นการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(ซิเคียวริไทเซชัน) เพราะจะมีต้นทุนดอกเบี้ยถูกกว่าวิธีอื่นและไม่ผันผวนในระยะเวลา 30 ปี เพราะสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ได้ แต่จะปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดต้นทุนดอกเบี้ยให้ตํ่าลง
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thansettakij.com/content/220781
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ดีมากๆเลยค่ะ ลงบ่อยๆนะคะ
กำลังตัดสินใจอยู่พอดีเลย ขอบคุณมาจ้าาาาาาาา
ห้องดูกว้างมาเลยจ้า
ชอบมากค่ะ อ่านๆฟรีด้วย
บอความดี ขออนุญาตแชร์ครับ