News
icon share

เจ้าพ่อบีทีเอสสร้างอาณาจักรใหม่ 5 หมื่นล้าน ลุยคอนโดแนวรถไฟฟ้า-ปั้นอสังหาฯ ท่องเที่ยว

LivingInsider Report 2017-12-25 11:11:41
เจ้าพ่อบีทีเอสสร้างอาณาจักรใหม่ 5 หมื่นล้าน ลุยคอนโดแนวรถไฟฟ้า-ปั้นอสังหาฯ ท่องเที่ยว

เจ้าพ่อบีทีเอสสร้างอาณาจักรใหม่ 5 หมื่นล้าน ลุยคอนโดแนวรถไฟฟ้า-ปั้นอสังหาฯ ท่องเที่ยว

 

หลัง “บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” เข้าซื้อหุ้นใน “บมจ.เนเชอรัลพาร์ค” เมื่อปี 2558 ในสัดส่วน 35.64% พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “บมจ.ยูซิตี้”

 

วันนี้ “คีรี กาญจนพาสน์” ในฐานะประธานบริหาร อัพเดตสถานการณ์และทิศทางจังหวะก้าวของยูซิตี้นับจากนี้ ท่ามกลางลมหนาวของเมืองวูซที่ตั้งของโรงแรม ANDEL’S เครือเวียนนาเฮ้าส์ 1 ในพอร์ตที่เพิ่งซื้อเข้ามาด้วยมูลค่า 12,300 ล้านบาท

 

“หลังธนายงเปลี่ยนมาเป็นบีทีเอสกรุ๊ป เดินหน้าธุรกิจ 4 ขา มีรถไฟฟ้า สื่อโฆษณา อสังหาริมทรัพย์ และบริการ ผ่านมา 5 ปี วันนี้กลับมาดูโครงสร้างภายในแต่ละบริษัทใหม่ให้มีแพลตฟอร์มที่ใหญ่ขึ้น โดยมีรถไฟฟ้าเป็นธุรกิจหลัก”

 

เพราะโครงข่ายระบบรางจะไปได้ไกลกว่านี้ไม่ได้มีแค่สายสีเขียว สีชมพู และสีเหลือง ที่เมื่อเปิดใช้ปลายปี 2563 มีผู้โดยสาร 2 ล้านเที่ยวคนต่อวัน จากปัจจุบันประมาณ 9 แสนเที่ยวคนต่อวัน วันนี้ผมไม่ได้มาเรื่องรถไฟฟ้า จะมาบอกว่ายูซิตี้จะเดินไปทางไหน

 

“ยูซิตี้ต่อไปจะไม่เล็ก ปีหน้าจะไม่ใช่อสังหาฯธรรมดา ที่ดีเวลอปขายหรือสร้างแล้วให้เช่าแล้วแยกกันไป จะเป็นรูปแบบบริษัทลงทุนอสังหาฯเชิงพาณิชย์ และที่เกี่ยวเนื่องกันกับโครงข่ายรถไฟฟ้า รวมถึงซื้ออสังหาฯที่มีรีเทิร์นดี

 

ตั้งเป้า 5 ปีธุรกิจโรงแรมจะมีพอร์ตบริหาร 30,000 ห้อง จากปัจจุบัน 19,000 ห้อง และต่อไปยูซิตี้จะเป็นบริษัทในเครืออยู่ในธุรกิจอสังหาฯในบีทีเอสกรุ๊ป ที่เราให้ความสำคัญ จะมีคุณกวิน (ลูกชาย) และทีมงานมืออาชีพมาช่วยดำเนินงาน จะเป็นบริษัทที่ผมมั่นใจ เชื่อใจ ภูมิใจ คิดว่าอนาคตไปไกลแน่ๆ”

เจ้าพ่อบีทีเอสสร้างอาณาจักรใหม่ 5 หมื่นล้าน ลุยคอนโดแนวรถไฟฟ้า-ปั้นอสังหาฯ ท่องเที่ยว

 

ที่ได้เห็นแล้วคือ การลงทุนซื้อโรงแรมในยุโรป สามารถมาทำให้เป็นธุรกิจอันหนึ่งของวีจีไอที่ได้ทำแพลตฟอร์มสื่อโฆษณาเป็นแพ็กเกจ ต่อไปอาจจะร่วมกับบริษัททัวร์ เช่น บริษัทรอยัลฮอลิเดย์ ดึงนักท่องเที่ยวมาพักโรงแรมในเครือทั้งที่ประเทศไทยและประเทศยุโรปนอกจากที่จะขายสื่อโฆษณาแล้ว

 

“ใช้เวลากว่า 1 ปี กว่าจะตัดสินใจซื้อยูซิตี้หรือแนเชอรัลพาร์คเดิม โดยส่วนตัวผมก็รู้จักคุณทศพงศ์ จารุทวี ผู้บริหารเดิม แต่ไม่เกี่ยวกับการซื้อหุ้นครั้งนี้ เป็นเรื่องของธุรกิจ ที่เราซื้อหุ้นเพราะมองว่าเป็นบริษัทอสังหาฯที่ดี และอยากจะทำอสังหาฯให้เช่าที่ได้ผลตอบแทนดี ก็ได้ศึกษาจะไปทำยังไงให้ธุรกิจเขาเติบโต มีอนาคตที่ดี ก็ต้องมีการจัดพอร์ตทรัพย์สินใหม่ ได้โอนของบีทีเอสเข้าไปร่วมด้วย ก่อนกลางปี 2561 จะแล้วเสร็จ จะทำให้แอสเสตยูซิตี้เพิ่มขึ้นที่ 50,000 ล้านบาท”

 

แนวทางของยูซิตี้ต้องการเป็นบริษัทอสังหาฯที่แข็งแรง แอสเสตหนัก มีศักยภาพด้านเครดิตที่จะเดินหน้าลงทุนไปได้เรื่อย ๆ เน้นสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งในการซื้อแอสเสตที่มีรายได้ระยะยาวผลตอบแทนที่ดีเข้ามา และพัฒนาอสังหาฯให้เช่า จะไม่จำกัดเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมอย่างเดียว จะซื้อโครงการที่มีรีเทิร์นดีมาพัฒนา

 

เรื่องศักยภาพการเงินจะมาลงทุน “เจ้าพ่อบีทีเอส” ย้ำว่า นาทีนี้ ในโลกนี้ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญที่สุด ตราบใดที่โครงการต่าง ๆ เหล่านี้เป็นโครงการที่ดีและมั่นคง โครงการสามารถทำให้สถาบันการเงินหรือผู้ลงทุนมีความเข้าใจ อธิบายได้ เรื่องเงินจึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่สุด เรื่องใหญ่ที่สุดคือ บุคลากรที่ดี

 

“ทำไมเรากล้าซื้อโรงแรมในยุโรป สิ่งแรกคือ ความมั่นใจในบริษัทที่จอยต์กัน เป็นมืออาชีพที่ทำโรงแรมสำเร็จในแขนของเรา ตอนนี้มีแบรนด์ยู อิสติน แอ็ปโซลูต

 

เวียนนาเฮ้าส์ ที่จะใช้เป็นหลักพัฒนาโครงการใหม่ในแถบเอเชียและยุโรปที่กำลังจะซื้อเพิ่มเข้ามา สิ่งที่เราซื้อ ไม่ใช่สวยสุด หุ้มทอง ไม่ใช่ เป็นโรงแรมที่จะสัมผัสได้ว่า เค้าสามารถทำเงินได้ ทุกอย่างดูใช้ได้ ทุกอย่างคุ้มกับเงินที่เอามาจ่าย นี่คือสิ่งสำคัญ”

 

ในส่วนของการพัฒาอสังหาฯแนวรถไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ต้องทำแน่ ๆ ต้องขอยอมรับว่าตอนนี้อสังหาฯแนวรถไฟฟ้าเกิดขึ้นมาก วันที่ผมลงทุนสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอส วันนั้นผมเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมเห็น ผมรู้ว่าถ้าขนส่งมวลชนไปถึงที่ตรงนั้น โปรดักต์ที่จะสร้างต้องเจริญแน่ ตอนนั้นคนต่อต้านเยอะและเจอวิกฤตปี 2540 เจ็บหนักพอสมควร แต่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าตามแนวเส้นทางตามสถานี การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สำเร็จแน่ ตอนนี้คนก็ลงทุนมาก

 

“ตอนนี้เรามีแบรนด์ที่ไปสู้กับเค้าได้ แบรนด์แสนสิริ เราร่วมกันพัฒนาคอนโดฯแนวรถไฟฟ้า 5 ปี 1 แสนล้านบาท ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สำเร็จมาก นับเป็นการตัดสินใจได้ถูกต้องด้านอสังหาริมทรัพย์ก็ยังเดินหน้าต่อ แต่อะไรที่สามารถมีรีเทิร์นได้ ยูซิตี้จะทำ อีกด้านในการพัฒนาเองได้ไหม เราพัฒนาปล่อยเช่าระยะยาว ก็จะมี 2 ไซต์กำลังทำ ใช้เวลาสัก 3-4 ปี ถ้าลงทุนอย่างนี้หมดจะช้า ต้องกระจายหลายรูปแบบ”

 

ซึ่งยูซิตี้มีแผนจะเพิ่มทุน 15,000 ล้านบาท จากนั้นจะล้างทุกอย่างที่คิดว่าไม่เหมาะสมต่อธุรกิจในระยะยาวออก ก่อนกลางปีหน้าทุกอย่างจะมองเห็นภาพ ทั้งแอสเสตต่าง ๆ และอนาคตที่จะเดินหน้าต่อไปบนเส้นทางธุรกิจ จากการบริหารพอร์ตที่มีอยู่ในมือกว่า 50,000 ล้านบาท ให้มีรายได้เติบโตและยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งผมมั่นใจว่าทำได้

 

อนาคตยูซิตี้จะเป็นบริษัทหนึ่งที่อยู่ภายใต้บีทีเอส วันนี้ถือหุ้น 35.64% ในอนาคตจะทยอยเพิ่มสัดส่วน เพราะผมชอบอะไรที่ไม่ต่ำกว่า 70%

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

https://www.prachachat.net/property/news-90688

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider