News
icon share

เกรียงไกร สุริยวนากุล ปิดบ้าน ดีซี เขี้ยวเล็บใหม่โกลบอลเฮ้าส์

LivingInsider Report 2017-12-26 12:52:26
เกรียงไกร สุริยวนากุล ปิดบ้าน ดีซี เขี้ยวเล็บใหม่โกลบอลเฮ้าส์

เกรียงไกร สุริยวนากุล ปิดบ้าน “ดีซี” เขี้ยวเล็บใหม่โกลบอลเฮ้าส์

 

เปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสำหรับศูนย์กระจายสินค้า (DC-Distribution Center) แห่งใหม่ของค่ายโกลบอลเฮ้าส์ ปลุกวงการโมเดิร์นเทรดวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งไหวกระเพื่อมอีกรอบ เพราะเป็นการเสริมเขี้ยวเล็บในการเปิดสาขาใหม่ๆ จากปัจจุบันมีอยู่ 53 สาขาทั่วไทย

 

“ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารคนรุ่นใหม่ “เกรียงไกร สุริยวนากุล” ทายาทสายตรงรั้งตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายซัพพลายเชนกุมบังเหียน เบื้องหน้าเบื้องลึกการบริหารจัดการดีซีใหม่มูลค่าลงทุน 600 ล้านบาท บนที่ดิน 100 ไร่ ริมถนนพหลโยธิน อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา จุดยุทธศาสตร์การขนส่งที่กระจายสินค้าได้ทุกทิศทางไปถึงมือลูกค้าในภูมิภาค

 

Q : แผนธุรกิจดีซีใหม่

 

บริษัทเพิ่งลงทุนเฟสแรก 20 ไร่ มีพื้นที่คลังสินค้า 30,000 ตารางเมตร และลงทุนระบบดีซีอัตโนมัติ ASRS (Automated storage Retrieval System) จัดเก็บสินค้าในส่วน ASRS 43,000 พาเลท โดยลงทุนระบบนี้ในสโตร์ 16 สาขา จาก 53 สาขาทั่วประเทศในปัจจุบัน

 

ภายในสิ้นปีโกลบอลเฮ้าส์จะมี 55 สาขา มีซัพพลายเออร์ 300-400 ราย เราเปิดดีซีตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเพิ่งใช้คาพาซิตี้ 60% ยังสามารถรองรับได้อีกมาก โดยดีซีเป็นตัวช่วยให้กับซัพพลายเออร์ที่สามารถประหยัดต้นทุนกระจายสินค้า สร้างโอกาสขายสินค้าได้เพิ่มขึ้นเพราะเราดูแลข้อมูลบิ๊กดาต้าทำให้สามารถเติมสินค้าในเครือข่ายได้ตลอดเวลา

 

จุดแข็ง ซัพพลายเออร์สามารถจองคิวส่งสินค้าสะดวกมากขึ้น ลดปัญหารอคิวนาน มีการนำระบบชั่งน้ำหนักสินค้าในรูปแบบน้ำหนักและปริมาตรมาใช้ แทนการนับแบบเดิม ทำให้รวดเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำให้มากที่สุด และระบบ ASRS รองรับการจัดเก็บและจ่ายสินค้าไซซ์พิเศษหรือโอเวอร์ไซซ์ที่มีความยาวสูงสุดได้ถึง 2.40 เมตร

 

Q : มีนวัตกรรมชั่งน้ำหนัก

 

เราพัฒนาดีไวซ์ เครื่องชั่งน้ำหนักอัตโนมัติ ระบบจะถูกรีเช็กต์ด้วยน้ำหนักก่อนขนขึ้นรถ กล่องแรกที่เป็นกล่องมาสเตอร์ มีค่า terrorance ส่วนหนึ่ง เมื่อมีออร์เดอร์จากสาขา ระบบจะประมวลผล คำนวณให้ประสิทธิภาพสูงสุด ลดการเดินทางของเครนให้ได้มากที่สุด ส่งให้ได้มากสาขามากที่สุด

 

บนหน้าจอคอมพ์ข้อมูลจะบอกว่าหยิบกี่กล่อง เช่น สามกล่อง ขนาดไม่เกินถาดสีส้มพร้อมกัน เช่น ถาดละ 5 กก. ระบบสั่งให้หยิบ 3 กล่อง วางแล้วน้ำหนักที่วางลงระบบจะรู้เลย กรณีน้ำหนักเกิน ถ้าถาดน้ำหนักเกินระบบจะลดเหลือ 2 กล่องอัตโนมัติ จากนั้นระบบนำพาเลตไปส่งต่อ

 

ส่วนถาดเปล่าจะหมุนกลับไปยังพาเลต stack เพื่อฟีดถาดเข้าระบบ โดยพนักงานจะกดปุ่มเรียกรถอาร์จีวี (สีเหลือง) วิ่งมารับสินค้าที่โซลิเดทเรียบร้อยกับมี RGV พ่วง เพราะถ้าไม่พ่วงจะเสียเวลาเปล่า มีการนำพ่วงถาดเปล่ากลับเข้าระบบ ซึ่งเรามีพนักงานตรวจสอบน้ำหนักบรรทุก เช่น ส่งสาขาร้อยเอ็ด พื้นที่โหลดเต็มหรือยัง

 

Q : รถขนส่งบรรทุกเต็มไหม

 

2 มิติที่คำนวณการบรรจุสินค้าขึ้นรถ คำนวณจากน้ำหนักหรือปริมาตร ถ้าคำนวณสินค้าเต็มคันจะกดปุ่มเรียกรถเปล่ามารับที่ดีซี เมื่อมาถึงจุดเช็กอินด้านหน้า ระบบจะทริกเกอร์ใน ASRS อาจทำงานพร้อมกันทีละ 4-5 สาขา ประตูเอาต์บาวด์ พนักงานจะรู้ว่าควรส่งไปที่เกตอะไร โหลดของขึ้นรถ

 

ดีซีของเราที่พิเศษคือชั้นสอง มีสินค้าหลากหลาย มีสินค้าโอเวอร์ไซซ์ พาเลตรองรับได้ 2.4 เมตร เก็บสินค้าประตูหรือสินค้าขนาดยาว เรียกว่า DD หรือเก็บสองชั้น แต่ไม่ผ่านจุดคอนโซลิเดทด้านบน มีประตูพิเศษสำหรับสินค้าโอเวอร์ไซซ์ ออกแบบให้ใกล้กับประตูที่จะจ่ายมากที่สุด

 

ต้องบอกว่าระบบที่เราออกแบบไม่ใช่ระบบขายมาตรฐาน แต่คัสตอมไมซ์สินค้าวัสดุก่อสร้างที่เราร่วมออกแบบ ร่วมดีไซน์ ทำให้เราเก็บได้ทุกขนาด โดยประตูยาวไม่เกิน 8 ฟุต นอกจากนี้ ASRS ระบบไฮบริด มีแวร์เฮาส์ทั่วไปอยู่ข้างหลัง มีเครนสำหรับเก็บเหล็ก เช่น เหล็กพิเศษขายยาก ๆ ไม่จำเป็นต้องสต๊อกที่สาขา กับเก็บกระเบื้อง เก็บบัลกี้ (bulky) สินค้ากองใหญ่ ๆ เรายกระดับขึ้นมาเรียกว่าระบบไฮบริด สามารถใช้แมนนวลทั่ว ๆ ไปได้ ซึ่งโกดังกระเบื้องมีพื้นที่เก็บได้ 8,000 ตารางเมตร

 

Q : ใช้คนมากน้อยแค่ไหน

 

ในดีซี ห้องทำงานมี 5 คนที่ควบคุม ASRS ระบบจะคำนวณจากฝั่งสาขาที่ร้อยเอ็ดก็ได้ หรือจากส่วนกลาง ฝั่งไหนก็ได้ ไม่ได้มีช่างเทคนิค มีแต่พนักงานรับเอกสารอินวอยซ์ 5 คน ตอนนี้ทำงาน 2 กะ ใช้คน 100 คน เพราะพนักงานบางคนต้องใช้คนมีทักษะ ชั้น 10-11

 

เทียบกับระบบปกติ ใช้คนวางของ 2-3 ชั้น ความสูง 8-9 เมตร เดิมใช้รถยกหรือโฟร์กลิฟต์มีค่าใช้จ่ายมหาศาล พื้นที่วางกองก็เยอะ แต่แวร์เฮาส์วางกองได้ 11 ชั้นโดยไม่ทับกันเลย เพราะต่างอยู่บนแล็กของตัวเอง น้ำหนัก 2 ตันครึ่งก็วางบนน้ำหนักตัวเอง มีอุปกรณ์พิเศษ DD-รับผิดชอบ 2 แล็บ ซ้าย 2 ขวา 2 double dift จำได้ไม่มีวันลืม

 

ระบบนี้เราไม่ได้มองแค่ดีซีที่ประหยัด แต่มองถึงสาขาไม่ต้องกองของเกินความจำเป็น ส่งได้ตลอดเวลา ไม่ต้องมีคนเช็กสต๊อก

 

Q : ค่าใช้จ่ายทำเองกับใช้ดีซี

 

ซัพพลายเออร์ทำเองเขาขนสินค้า สมมุติ สาขาขอนแก่น เต็มคันรถรับไม่ได้ รับได้แค่ 1 ส่วน 3 หรือครึ่งคันรถ ต้องพ่วงขนส่ง ไปบ้านไผ่ห่างกัน 44 กม.ฯลฯ โดยรวมค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมากมาย แต่ซัพพลายเออร์จะได้ในภาพรวม เรื่องประหยัดต้นทุนและเวลา

 

Q : บิสซิเนสโมเดล

 

การขยายสาขาเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการสร้างการเติบโต ดีซีจะเข้ามารองรับเครือข่ายขนาดใหญ่ในปัจจุบันและในอนาคต ปัจจุบันเราเพิ่งใช้คาพาซิตี้เพียงครึ่งเดียว ถัวเฉลี่ยอัตราการเปิดสาขาต่อปี 8-9 สาขา จากเดิมเปิด 5-7 สาขา มีดีซีเกิดขึ้นแล้วย่อมหมายถึงเราแสดงความพร้อมมากขึ้นในการทำธุรกิจเชิงรุก

 

ต่อไปกลยุทธ์การเปิดสาขา เดิมมีไซซ์เดียว อาจย่อ (พื้นที่) ลงนิดเดียว แล้วนำ ASRS ไปใช้ ตอนนี้มี 16 สาขาที่ใช้ระบบใหม่ในสโตร์ เริ่มตั้งแต่สาขาที่ 37 ที่ปราณบุรี ถ้าเป็นสาขาจะจัดเก็บได้ 3,000 พาเลต พื้นที่สโตร์จาก 20,000 ตารางเมตร เหลือ 14,000 ตารางเมตร ลงทุนใกล้เคียงกันประมาณ 20 ล้าน เพราะต้องลงทุนกับระบบเยอะแม้ค่าก่อสร้างกับขนาดโกดังจะลดลงก็ตาม

 

Q : ดีซีจะเป็นตัวช่วยได้ยังไง

 

เรื่องแรกช่วยให้สินค้าบางอย่างไม่ต้องสต๊อกอยู่สาขา ลดอีเวนทอรี่ ลดคอสต์ในสาขา 2.ช่วยให้ไม่มีสินค้าขาดเชลฟ์เพราะเติมได้ตลอดเวลา 3.เพิ่มความหลากหลาย บางอย่างซอร์ซิ่ง (ฝ่ายจัดหาสินค้า) ไม่กล้าเอามาเยอะเพราะต้องกระจาย แต่ตอนนี้ประเมิน SPU (รายการสินค้า) อาจจะขายน้อย แต่มารวมที่นี่ จะเพิ่มโอกาสทำให้เพิ่มชนิดสินค้า

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

 

https://www.prachachat.net/property/news-92762

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider