รายการโปรด
ประเด็นปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบใหม่วันละ 8-22 บาท มีผลวันที่ 1 เมษายน 2561 ส่งแรงกระเพื่อมในเชิงจิตวิทยาทั้งฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
อาการหวั่นไหวเล็ก ๆ มาจากคำถามที่ผุดพรึ่บขึ้นมาว่า ค่าแรงงานขั้นต่ำปรับขึ้นแล้ว ค่าครองชีพ ราคาสินค้าจะถือโอกาสขึ้นราคาด้วยหรือไม่
ในวงการอสังหาริมทรัพย์ คำถามโดยอัตโนมัติจึงออกมาว่า บ้านและคอนโดมิเนียมปีนี้จะแพงขึ้นหรือเปล่า
คำตอบแบบฟันธงของ “อธิป พีชานนท์” นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มองว่า นโยบายของรัฐบาลในการขึ้นค่าแรงรอบนี้น่าจะยังไม่มีผลต่อราคาที่อยู่อาศัย ต้นทุนในส่วนของแรงงานก่อสร้างยังรับได้ โดยพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลปรับเป็นวันละ 325 บาท ภูเก็ต ระยอง ชลบุรี วันละ 330 บาท
“ตลาดอสังหาฯใหญ่สุดอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จาก 300 บาทเป็นวันละ 325 บาท เทียบเท่าขึ้นค่าแรง 9% ผมคิดว่าไม่มีปัญหากระทบต้นทุนพัฒนาโครงการ เพราะราคาบ้าน-คอนโดฯ ไม่ได้มีต้นทุนอยู่เฉพาะค่าแรง ยังมีองค์ประกอบอื่น เพราะฉะนั้น ขึ้นค่าแรงทำให้ต้นทุนจ้างสูงขึ้น แต่มีผลกระทบแบบไม่มีนัยสำคัญ”
ข้อวิตกเกี่ยวกับผลกระทบในด้านการใช้แรงงานก่อสร้างดูเหมือนเป็นภาพใหญ่จากการที่ประเทศไทยยังต้องพึ่งแรงงานต่างด้าวเป็นหลักมากกว่า
“ผมเป็นห่วงการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมากกว่า เพราะปัญหานี้มีผลกระทบรุนแรงมากกว่าการขึ้นค่าแรง เพราะเรามองเรื่องการเติบโตของโครงการอสังหาฯ จะสะดุดถ้านำเข้าไม่สะดวก”
ทำให้ย้อนกลับมาสู่กระบวนการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ปัจจุบันภาครัฐยืดเดดไลน์นำเข้าอย่างถูกต้องไปถึงเดือนมิถุนายน 2561 เนื่องจากส่วนราชการทำไม่ทัน โดยเฉพาะในเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว
โดยมีข้อเสนอแนะน้อมถึง “พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานคนใหม่ด้วยว่า ขั้นตอนพิสูจน์สัญชาติ รัฐบาลไทยควรประสานความร่วมมือกับประเทศต้นทางให้มาตั้งศูนย์ ให้มีออฟฟิศในพื้นที่ใช้แรงงานต่างด้าวเข้มข้น อย่างกรุงเทพฯ สมุทรสาคร เมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ฯลฯ ไม่ต้องเดินทางกลับไปประเทศต้นทาง
คำถามสำคัญถัดมาคือ แนวโน้มปีนี้ทั้งปี แรงงานก่อสร้างมีปัญหาอะไรใหญ่ ๆ หรือไม่
“จุดโฟกัสน่าจะเป็นปัญหาแรงงานขาดแคลนในไซต์ก่อสร้าง ผมมองว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีโครงการเพิ่มขึ้นของเอกชน มีโครงการภาครัฐเข้ามาอีก ขณะที่ซัพพลายมีไม่เยอะ อาจมีการขาดแคลนได้ตลอดเวลา ปัจจุบันผู้ประกอบการปรับตัวไปใช้สำเร็จรูป แต่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ว่าต้นทุนสูงกว่า 10-13% คนยังไม่กล้าใช้ร้อยเปอร์เซ็นต์”
สอดคล้องกับ “ชานนท์ เรืองกฤตยา” ซีอีโอค่ายอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่จะมีผลบังคับใช้ต้นไตรมาส 2/61 ในเชิงผลกระทบทางตรงจากนโยบายขึ้นค่าแรงยังไม่มีมากนัก และไม่ส่งผลทำให้มีต้นทุนเพิ่มจนต้องขึ้นราคาอสังหาฯ
อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนักอกของผู้ประกอบการน่าจะมาจากการนำเข้าแรงงานต่างด้าวมากกว่า เพราะปัจจุบันไซต์ก่อสร้างคอนโดฯ และโครงการแนวราบพึ่งแรงงานต่างด้าวในสัดส่วนสูงมาก
ดังนั้น เรื่องถัดจากขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ภาครัฐควรเข้ามาดูแลปัญหาการนำเข้าแรงงานต่างด้าวจะเป็นการควบคุมต้นทุนพัฒนาโครงการโดยปริยาย
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-106617
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ชอบมากเลยครับ บทความเเนวนี้ ไม่น่าเบื่อ
ชอบมาก อ่านเข้าใจง่าย
ห้องสวยมากๆเลยครับ