รายการโปรด
วันนี้ (29 ม.ค.) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊ก แสดงความเห็นกรณีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยระบุว่า ขอเถอะ! อย่าลด “ความเร็ว” ชินคันเซ็น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาลดความเร็วรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จากความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง เหลือ 180-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นที่รู้จักกันแพร่หลายในนามของ “ชินคันเซ็น” ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่สร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้นมา และเปิดให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2507 บนเส้นทางกรุงโตเกียว-โอซากา
โครงการนี้รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคแก่ประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบเบื้องต้น พบว่าระยะทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ประมาณ 670 กิโลเมตร จะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างประมาณ 420,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรประมาณ 627 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา
ซึ่งได้รับการช่วยเหลือทางเทคนิคจากรัฐบาลจีน พบว่าค่าก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ถูกกว่ากรุงเทพฯ-นครราชสีมา ประมาณ 11% (ทั้งๆ ที่ควรจะแพงกว่า เพราะวิ่งได้เร็วกว่า) กล่าวคือ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต้องใช้เงินก่อสร้างประมาณ 179,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นค่าก่อสร้างต่อกิโลเมตรประมาณ 708 ล้านบาท
ในเมื่อค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ถูกกว่ากรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่แล้ว เหตุใดท่านนายกฯประยุทธ์จึงต้องการลดความเร็วของเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อทำให้ค่าก่อสร้างลดลงอีก ซึ่งจะทำให้รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่กลายเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เป็นประมาณ 5 ชั่วโมง 50 นาที เมื่อใช้เวลานานขึ้นก็จะเป็นการยากที่จะแข่งขันกับเครื่องบิน
หากยังจำกันได้ ในกรณีของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมรัฐบาลนี้ต้องการก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ต่อมาในเดือนมีนาคม 2559 ท่านนายกฯประยุทธ์ได้สั่งให้เปลี่ยนเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ดังนั้น หากมีการลดความเร็วบนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จริง ประชาชนในจังหวัดภาคเหนืออาจจะน้อยใจ และกล่าวหาท่านนายกฯประยุทธ์ว่ารักคนอีสานมากกว่าคนเหนือก็ได้ เนื่องจากเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ท่านนายกฯประยุทธ์สั่งให้ยกระดับเป็นรถไฟความเร็วสูง ในขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ท่านกลับสั่งให้ลดระดับเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงใคร่ขอเรียนเสนอท่านนายกฯประยุทธ์ ดังนี้
1. ก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูงหรือชินคันเซ็นเช่นเดิม โดยขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนด้วย
2. ในกรณีที่ท่านนายกฯประยุทธ์ต้องการให้ลดความเร็วลงมาเป็นรถไฟความเร็วปานกลางให้ได้ ผมขอเรียกร้องให้ท่านพิจารณาชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน เมื่อเรามีความพร้อมก็สร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงทีเดียวเลย อย่าสร้างครึ่งๆ กลางในเวลานี้เลย
3. หากมีการชะลอโครงการนี้ออกไปก่อน ขอให้นำเงินที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการนี้ไปเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังดี และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ที่ดี รวมถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ของท่านนายกฯประยุทธ์ที่ต้องการยกระดับการขนส่งทางรางของไทยครับ
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-108564
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ชอบบทความดีไซด์มากเลยค่ะ ได้ไอเดียไปด้วย
ชอบที่ทำให้ได้รู้เรื่องราวคอนโดที่เรากำลังสนใจครับ
บทความดีมากครับ
เขียนดีขนาดนี้ ไม่ต้องไปดูโครงการจริงแล้วมั่งคะเนี่ย
เยี่ยมไปเลยครับ
ชอบๆ มีสาระประโยชน์มากค่ะ