รายการโปรด
ร่วม 34 ปีที่ “กฟน.-การไฟฟ้านครหลวง” ผลักดันโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน กว่าจะมาเริ่มคิกออฟเมื่อปี 2560
หลังรัฐบาล คสช.เปิดไฟเขียวแผนพัฒนา 10 ปี (2559-2568) ในพื้นที่ 3 จังหวัด กรุงเทพฯ ระยะทาง 88.1 กม. สมุทรปราการ 25.7 กม. และนนทบุรี 13.5 กม. วงเงิน 48,717 ล้านบาท ตามที่ “กฟน.” เสนอ เพื่อไปสู่เป้าหมายให้เป็นมหานครแห่งอาเซียน
ตามแผนมีทั้งหมด 7 โครงการ ได้แก่ โครงการติวานนท์-แจ้งวัฒนะ, ลาดพร้าว-รามคำแหง, สามเสน-รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, สาทร-เจริญราษฎร์, วงเวียนใหญ่-อรุณอมรินทร์, เทพารักษ์-สุขุมวิท และเขตพื้นที่เมืองชั้นใน
โดยงบประมาณที่จะนำมาใช้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินรายได้ของ กฟน. และเงินกู้ ปัจจุบันได้นำร่องพื้นที่ใจกลางเมือง แนวถนนพหลโยธิน พญาไท และสุขุมวิท เสร็จเรียบร้อยแล้ว
นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในปี 2561 ภายในเดือน มี.ค.นี้ จะเริ่มพื้นที่ถนนราชปรารภจากแยกประตูน้ำ-ทางข้ามทางรถไฟสถานีราชปรารภ ระยะทาง 600 เมตร จะแล้วเสร็จก่อนสงกรานต์ปี 2561
จากนั้นในเดือน เม.ย.จะรื้อย้ายสายไฟและเสา ถนนพระราม 1 ช่วงสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานถึงสะพานรถเมล์ ระยะทาง 1.2 กม.และถนนรัชดาระยะทางรวม 22.5 กม. ระยะแรกตั้งแต่แยกรัชดา-ลาดพร้าวถึงแยกพระราม 9 ระยะทาง 14.3 กม. ค่าก่อสร้าง 4,300 ล้านบาท ระยะที่ 2 จากแยกพระราม 9 ถึงแยกคลองเตย ถนนพระราม 4 ระยะทาง 8.2 กม. ค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างสิ้นปี 2561 แล้วเสร็จปี 2564
โครงการที่อยู่ในระหว่างดำเนินการคือ แถวช่องนนทรี ระยะทาง 8.3 กม. ใช้เวลาดำเนินการ 2 ปี หรือปี 2563, พระราม 3 ตั้งแต่สะพานพระราม 9 ถึงเลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร ระยะทาง 10.9 กม. วงเงิน 1,520 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 ระยะ เริ่มตั้งแต่ถนนพระราม 3 ซอย 47 ถึงแยกพระราม 3 ถนนนราธิวาส ระยะที่ 2 แยกพระราม 3 นราธิวาส ถึงถนนเลียบทางพิเศษ ระยะ 3 ตั้งแต่แยกสะพานพระราม 9 ถึงถนนพระราม 3 ซอย 47 ปี 2563 แล้วเสร็จ 6 กม. และปี 2564 อีก 4 กม.
“ปีนี้จะเร่งออกแบบโครงการระบบสายไฟฟ้าใต้ดินมหานครอาเซียน จากนั้นในปี 2562 จะเริ่มกระบวนการหาผู้รับจ้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี จะแล้วเสร็จปี 2564 ตามนโยบายรัฐบาล คสช.” นายเทพศักดิ์กล่าวและว่า
นอกจากนี้ “กฟน.” ยังได้เซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ให้ก่อสร้างท่อสายไฟฟ้าลงดิน วงเงิน 7,000 ล้านบาท และปรับปรุงระบบจ่ายไฟ ของสายสีชมพู วงเงิน 4,400 ล้านบาท และสายสีเหลือง วงเงิน 3,900 ล้านบาท จะแล้วเสร็จปี 2564
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-110174
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ดีมากกกกก ชอบสุดๆ ให้ข้อมูลดีมากๆ
ชอบนะคะ บทความหลากหลายดี
ดีนะคะ ลงบทความมาให้อ่านบ่อยๆ นะคะ
บอความดี ขออนุญาตแชร์ครับ
ชอบลิฟวิ่งอินไซเดอร์มากค่ะ มีบทความดีๆให้อ่านแบบนี้ตลอดไปน่ะค่ะ