รายการโปรด
ลุยแสนล้านสร้างทั้งระบบทางด่วนและรถไฟฟ้า ทะลวงวิกฤตจราจรย่านเกษตร-นวมินทร์ เพิ่มโครงข่ายใหม่เชื่อมการเดินทางตะวันออก-ตะวันตก เบี่ยงแนวหลบ ม.เกษตรศาสตร์ ยืด 7 กม.เชื่อมโทลล์เวย์-ศรีรัช-วงแหวนตะวันตก
ลุยลงทุนตามความพร้อมโครงการ กทพ.เร่งประมูลปีนี้ ลงเข็มปีหน้า หลังค่าก่อสร้างพุ่ง 1.7 หมื่นล้าน สนข.ส่งต่อผลศึกษาสายสีน้ำตาลให้ รฟม.ออกแบบรายละเอียด เผยเวนคืนที่เอกชนพันล้านบริเวณจุดตัดทางด่วน ผุดเดโป้ 50 ไร่
แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) ระยะทาง 22.1 กม.
เปรียบเทียบกับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N2 และวงแหวนตะวันออก ระยะทาง 11.9 กม. เพื่อสรุปรูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตอม่อจำนวน 281 ต้น บนถนนเกษตร-นวมินทร์
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก้ปัญหาจราจรภาพรวมและเชื่อมต่อการเดินทางโซนตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากทางด่วนและรถไฟฟ้าจะมีระยะทางช่วงที่ร่วมกัน 7.5 กม.
ขนทั้งคนและรถยนต์
“มีข้อสรุปในเบื้องต้นจะสร้างทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลบนแนวสายทางเดียวกัน จะช่วยรองรับการเดินทางได้ดีที่สุด ทั้งด้วยระบบรถยนต์ส่วนบุคคลและระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก หรือ คจร.จะอนุมัติตามที่เสนอหรือไม่”
ทั้งนี้ จากการศึกษาด้านการจราจรพบว่า ประมาณจราจรบนถนนเกษตร-นวมินทร์อยู่ที่วันละ 154,265 เที่ยวคัน โดย 25% เป็นการเดินทางจากพื้นที่ชั้นนอกไปยังพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯ และระหว่างพื้นที่ฝั่งตะวันตกกับตะวันออก 60% ซึ่งการสร้างทางด่วนจะช่วยลดประมาณการจราจรทางระดับพื้น และเพิ่มความจุของทางในการรองรับการจราจรได้อีกอย่างน้อย 50%
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในส่วนของทางด่วนจะก่อสร้างช่วงจากเกษตร-นวมินทร์ ถึงวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก พร้อมกับสร้างส่วนที่ทดแทนช่วง 1 (แยกเกษตร-บางใหญ่) ที่ถูกคัดค้าน โดยปรับแนวเส้นทางสร้างพาดผ่านพื้นที่ด้านหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างเป็นโครงสร้างยกระดับ
ยืดทางด่วนเชื่อมโทลล์เวย์
จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองบางเขน แนวถนนเกษตร-นวมินทร์ จะสร้างไปตามแนวคลองบางบัว ต่อขยายโครงข่ายจากเดิมถึงแยกเกษตรศาสตร์ออกไปอีกประมาณ 7 กม. ให้ไปเชื่อมโทลล์เวย์และทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตกบริเวณแยกรัชวิภา ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จะให้ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ บมจ.ทางยกระดับดอนเมือง (โทลล์เวย์) ลงทุนก่อสร้างมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท
“การเปลี่ยนจุดสิ้นสุดโครงการทางด่วนจากแยกเกษตรไป จะมีผลกระทบการเวนคืนที่ดินและการก่อสร้างบ้าง แต่อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ คาดว่าค่าก่อสร้างอยู่ที่ 7,000-8,000 ล้านบาท”
เคาะลงทุนโมโนเรลแสนล้าน
ส่วนแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เริ่มต้นจากแยกแคราย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ไปตามแนวถนนงามวงศ์วาน เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) บริเวณสถานีบางเขน
ผ่านแยกเกษตร เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-คูคต) บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปตามแนวถนนเกษตร-นิวมินทร์ และไปสิ้นสุดบริเวณถนนรามคำแหง เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) บริเวณแยกลำสาลี เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล)
ทั้งโครงการคาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน ประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ถ้ารวมการซ่อมบำรุงรักษา 30 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท มี 21 สถานี ขณะนี้อยู่ระหว่างกำหนดจุดที่ตั้งให้เหมาะสมลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน ส่วนใหญ่จะเวนคืนบริเวณที่เป็นจุดขึ้น-ลงสถานี จุดใหญ่อยู่บริเวณแยกฉลองรัช จะกำหนดเป็นพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ มีเวนคืน 45-50 ไร่ คาดว่าจะใช้เงินเวนคืนกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากที่ดินราคาแพง
กทพ.เริ่มคิกออฟปลายปี
“การพัฒนาโครงการดูตามความพร้อมของโครงการ ซึ่งทางด่วนช่วง N2 ถึงวงแหวนรอบนอกตะวันออก การทางพิเศษฯพร้อมจะก่อสร้าง ใช้เงินลงทุนจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย หรือ TFF ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล หากผลศึกษาจบในเดือน มิ.ย. 2561 จะส่งมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ และนำบรรจุในแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ต่อไป”
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า แนวเส้นทางของทางด่วนมีจุดเริ่มต้นโครงการอยู่ตรงอุโมงค์เกษตรศาสตร์ บริเวณเสาตอม่อที่ 10 ของถนนประเสริฐมนูกิจ ไปตามแนวถนนเกษตร-นวมินทร์ ไปสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก
โดย กทพ.ได้ผนวกโครงการสะพานข้ามทางแยกบนถนนเกษตร-นวมินทร์ ของกรมทางหลวงจำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย แยกวังหิน เสนานิคม สุคนธสวัสดิ์ นวลจันทร์ และนวมินทร์ เป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรร่วมกันระหว่างระบบทางหลวงและระบบทางด่วน พร้อมกับปรับลดขนาดโครงการจาก 6 ช่องจราจร เหลือ 4 ช่องจราจร ทั้งโครงการคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 17,551 ล้านบาท รวมค่าบำรุง 30 ปีอยู่ที่ 19,488 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากเดิม 14,382 ล้านบาท เนื่องจากโครงการได้ศึกษาไว้นานหลายปีแล้วตามแผนของ กทพ.จะขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลคู่ขนานไปกับการขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม ตั้งเป้าปลายปี 2561 จะเริ่มประมูลและเริ่มก่อสร้างต้นปี 2562 ใช้เวลาก่อสร้าง 24 เดือน มีกำหนดแล้วเสร็จอย่างเร็วปลายปี 2564 หรืออย่างช้าต้นปี 2565 ซึ่ง กทพ.จะบริหารโครงการเอง เก็บค่าผ่านทาง 20 บาทตลอดสาย ในปีแรกเปิดใช้จะมีปริมาณการจราจร 80,000 เที่ยวคันต่อวัน
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-117395
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
บทความมีประโยชน์มากค่ะ
สนุกมากๆเลยค่ะ อ่านเพลินดี
รีวิวซะอยากซื้อเลยครับ