รายการโปรด
รามคำแหงติดหนึบ 3 ปี! ดีเดย์ 23 ก.พ.นี้ เริ่มทุบสะพานยกระดับรามคำแหงขุดอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม แนะใช้ทางเลี่ยง
นายวิทยา พันธุ์มงคล ผู้ช่วยว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รฟม.กำลังเร่งการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) หลังเริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือน พ.ค.2560 ล่าสุดมีผลงานคืบหน้าแล้ว 5.57% มีกำหนดเปิดบริการในปี 2566
แนวเส้นทางมีสถานีเริ่มต้นจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT)
ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี ได้แก่ สถานีศูนน์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรฟม. สถานีวัดพระราม 9 สถานีรามคำแหง 12 สถานีรามคำแหง สถานีราชมังคลา สถานีหัวหมาก สถานีลำสาลี สถานีศรีบูรพา และสถานีคลองบ้านม้า สถานียกระดับ 7 สถานี ได้แก่ สถานีสัมมากร สถานีน้อมเกล้า สถานีราษฏร์พัฒนา สถานีมีนพัฒนา สถานีเคหะรามคำแหง สถานีมีนบุรี และสถานีสุวินทวงศ์ รวมระยะทาง 22.57 กม.
ด้านพลตำรวจตรี จิรพันธ์ ภูมิจิตร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น) กล่าวว่า ด้านการจัดการจราจรแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางในช่วงเวลาเร่งด่วน เช้า-เย็น และทุกจุดที่มีการก่อสร้างมีการจราจรที่ติดขัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำจุดคอยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้รถใช้ถนนจนกว่าการจราจรจะคลี่คลาย
โดยมีความจำเป็นต้องปิดทางลงทางยกระดับรามคำแหง ขาเข้า ซอยรามคำแหง 8 เพื่อก่อสร้างสถานีรามคำแหง 12 เริ่มปิดตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 23.00 น. เป็นต้นไป
โดยการจัดการจราจรแบ่งเป็นช่วงเวลาชั่วโมงเร่งด่วนช่วงเช้า เวลา 05.30 – 10.00 ขาเข้าเมือง เปิดทางยกระดับ จำนวน 2 ช่องทาง โดยเบี่ยงไปลงฝั่งขาออก รถขาออก ใช้ทางราบเท่านั้น
ช่วงเวลาปกติ เวลา 10.00 – 16.30 น. บนสะพานปรับเหลือ 1 เลน เข้าเมือง 1 เลน ขาออกได้ 1 เลน
16.30 – 20.00 น. ขาออกวิ่งได้ 2 เลนตามปกติ บนสะพานและพื้นราบวิ่ง 2 เลนตามปกติ จากการศึกษาปริมาณรถช่วงเย็น มีจำนวนรถวิ่งเข้าเมืองน้อยลงจึงเน้นรับขาออก ให้สามารถเคลื่อนตัวได้ไม่หยุดชะงัก ซึ่งบริเวณที่มีการจราจรติดขัดจะมีตำรวจจราจรและอาสาจราจรคอยอำนวยความสะดวก
นายไพรัตน์ พรหมอินทร์ ผู้รับเหมาโครงการ กล่าวว่า การก่อสร้างสัญญาที่ 2 เป็นการก่อสร้างที่ยากที่สุด เพราะสถานีมีความลึกมากและทับซ้อนกับสะพานยกระดับ ระยะเวลาการก่อสร้างอยู่ที่ 48 เดือน หรือประมาณ 4 ปี ทางบริษัทมั่นใจว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จได้ตามกำหนด และจะให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
ตอนนี้ได้ทำการรื้อระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบสื่อสารรื้อไปแล้วกว่า 80% และระบบไฟฟ้า 50% และด้านประปา 50% ส่วนที่เหลือต้องทำในระหว่างการก่อสร้าง เพื่อหลบแนวพื้นที่ก่อสร้าง ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนก่อสร้างแนวกำแพงกันดิน ซึ่งการก่อสร้างต้องรื้อถอนตัวสะพานประมาณ 200 เมตร และสร้างสะพานขึ้นมาใหม่ให้ภายใน 30 เดือน หรือประมาณเดือนสิงหาคม 2563
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-119222
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วรู้เรื่องดีครับ
อ่านไม่เบื่อเลยค่ะ
เขียนรีวิวน่าอ่าน เทคนิคการเขียนดีค่ะ
เป็นกำลังใจให้ค่ะ เขียนดี รอติดตาม
เขียนดีขนาดนี้ เอาใจพี่ไปเลย