News
icon share

พม.หนุนกคช.ร่วมทุนเอกชนจัดหาบ้านผู้มีรายได้น้อยตามแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยชาติ

LivingInsider Report 2018-02-26 14:37:30
พม.หนุนกคช.ร่วมทุนเอกชนจัดหาบ้านผู้มีรายได้น้อยตามแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยชาติ

พม.หนุนกคช.ร่วมทุนเอกชนจัดหาบ้านผู้มีรายได้น้อยตามแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยชาติ

 

พม.หนุน กคช.ร่วมลงทุน-ร่มทุนเอกชนแบบppp หวังจัดหาที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศตามแผนยุทธ์ศาสตร์ชาติ ด้านกคช.เผยมี 5โครงการที่อยู่ในข่ายจัดทำโครงการในรูปแบบPPP ร่วมกับเอกชนได้ ล่าสุดผ่านการวิเคราะความเป็นไปได้ในการร่วมทุนแล้ว3โครงการ คาดเชียงใหม่โครงการนำร่องโครงการแรก. 

 

พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวปาถกฐาพิเศษ ในงานสัมมนาครบรอบ45ปีการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ว่า บ้านเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์

 

ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิต และในฐานะที่ พม.รับผิดชอบดูแลปัญหาการขาดที่อยู่อาศัยของประชากรในประเทศไทย และได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้จัดหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมแก่ประชาชนที่มีรายได้น้อย ที่ไร้ที่อยู่อาศัย จึงให้นโยบายกับ กคช.ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดหาที่อยู่อาศัยให้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยแห่งชาติ20ปี

 

ทั้งนี้จาการสำรวจปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัยของประชาชนพบว่าในปัจจุบันมีครัวเรือนที่ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 5.8 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 60% เป็นกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นในกรอบยุทธศาตร์ที่อยู่อาศัยชาติ จึงกำหนดเป้าหมายในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศให้ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองจำนวน 3 ล้านหน่วย

 

ซึ่งในจำนวนดังกล่าว พม.ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้วง เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นหน่วยงานที่จัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยในชุมชนแออัด โดยรัฐให้งบอุตหนุนต่อหน่วย18,000 บาท ขณะที่ กคช.รับหน้าที่หลักในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศจำนวนกว่า 2.7 ล้านหน่วย โดยรัฐให้เงินอุดหนุนต่อหน่วย1.2-1.4แสนบาทต่อหน่วย

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมา กคช.ได้จัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศไปแล้วกว่า 720,000 หน่วย ซึ่งที่ผ่านมาในแผนยุทธศาสตร์ชาติ กคช.ได้เริ่มดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการแฟลตดินแดง ซึ่งขณะนี้อยู่ในระยะแรก

 

อย่างไรก็ตามการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยตามแผนยุทธศาสตร์ชาตินั้น จำเป็นที่ต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรต่างๆ และภาคเอกชน ก็ต้องเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ได้ 2 ล้านหน่วย หรือจัดหาให้ได้ประมาณ 20,000 หน่วยต่อปี จึงได้มีการจัดสรรให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาโครงการ ผ่านการร่วมทุนและร่วมลงทุนพัฒนาโครงการ 

 

โดย กคช. รับหน้าที่เป็นผู้จัดหาที่อยู่อาศัยเป็นหลักซึ่งต้องรับหน้าที่การพัฒนาโครงการไป75% ขณะที่อีก25% จะเป็นการจัดหาที่อยู่อาศัยภายใต้การร่วมทุนและร่วมลงทุนกับภาคเอกชน อย่างไรก็ตามปัญหาในการจัดหาที่อยู่อาศัยหลักๆ คือ ที่ดินที่จะนำมาพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งหากเป็นที่อยู่ในเมืองจะมีราคาสูงจึงยากแก่การดำเนินการ

 

ทำให้ต้องการมีร่วมทุนหรือร่วมลงทุนกับเอกชน หรือหากเป็นโครงการที่พัฒนาโดยกคช. ก็ต้องยอมรับว่าทำเลที่มีการจัดหาที่อยู่อาศัยให้จะอยู่ห่างจากเมืองออกไป หรือหากเป็นที่อยู่อาศัยในทำเลใกล้เมืองก็จำเป็นต้องใช้ที่ดินของห่น่วยงานราชการ เช่น ที่ดินราชพัสดุ ซึ่งต้องจัดหาให้ในรูปแบบการเช่าระยะยาวแทน 

 

นอกจากนี้ปัญหาเรื่องต้นทุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยก็เป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่ง จึงจำเป็นต้องพึ่งภาคเอกชนเข้ามาช่วย ดังนั้นในงานสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการระดมสมองและรับฟังความเห็นข้อเสนอแนะของกคช.และภาคเอกชนในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อย

 

และหากมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค์ในการจัดหาที่อยู่อาศัยตามแผนยุทธศาตร์ชาติก็เสนอต่อรัฐได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการดำเนินงาน หรือข้อกฎหมายใดที่ติดขัด แต่ข้อแสนะนั้นจะต้องตั้งอยู่บนแนวทางที่เหมาะสมและสามารถดำเนินการได้ พม.ก็พร้อมที่จะเข้ามาช่วย 

 

ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการแฟลตดินแดงแปลงจี ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า60% แล้วโดยงานก่อสร้างไปครบ28ชั้นแล้ว ส่วนที่เหลือคืองานตกแต่งภายใน

 

ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 4เดือน จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นอีก2เดือนก็จะเคลื่อนย้ายผู้อยู่อาศัยในอาคารแฟลตดินแดง 18-22 เข้าอยู่อาศัย โดยขณะนี้กระบวนการต่างๆได้ทำความเข้าใจร่วมกันกับผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับกฎกติกาการอยู่อาศัยต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจับฉลากเลือกห้อง

 

ซึ่งจากการสื่อสารกับผู้อยู่อาศัยเดิมก็ทราบว่าผู้อยู่อาศัยเกือบทั้งหมดยังคงยืนยันจะเข้าอยู่ในโครงการดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีความเชื่อมั่น ไว้วางใจและเชื่อถือในกคช.ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์จะเข้าอยู่มีเพียงเล็กน้อยโดยมีจำนวนไม่ถึง10% 

 

ส่วนในระยะที่ 2 คณะกรรมการการประชุม ซึ่งตนเองเป็นประธานการประชุมพิจาณณาขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากโดยได้นำเสนอแผนต่อสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไปแล้ว และจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประมาณเดือน เม.ย.นี้ จากนั้นเมื่อได้รับการอนุมัติจาก ครม.แล้วกระบวนการต่อไปคือการจัดหาบริษัทรับเหมาก่อสร้างเข้ามาดำเนินการก่อสร้างต่อไป

 

โดยคาดว่าหลังจากย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมในอาคาร18-22 ไปอยู่อาศัยในแปลงจี เรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถรือถอนอาคารและดำเนินการก่อสร้างโครงการในระยะที่2ได้ทันที โดยคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือน ก.ย.นี้ 

 

ส่วนเรื่องการร่วมทุนหรือร่วมลงทุนกับเอกชนนั้น ถือว่าเป็นเป้าหมายของ กคช.ในปีนี้ เพราะขณะนี้ กคช.มีโครงการประมาณ 5โครงการที่อยู่ในข่ายจะจัดทำโครงการในรูปแบบPPP ร่วมกับเอกชนได้ โดยขณะนี้มี3โครงการที่ผ่านการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนแล้ว และก็มีผลการศึกษาออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการ ทำประชาพิจารณากับประชาชนในพื้นที่ที่จะมีการพัฒนาโครงการ

 

ซึ่งขณะนี้ กคช.ได้ลงพื้นที่ไปเชียงใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นโครงการแรกที่ร่วมกับเอกชนพัฒาในรูปแบบPPP นอกจากนี้ยังมีโครงการในพื้นที่ร่มเกล้า และดินแดง ด้วย คาดว่าจะใช้เวลาไม่นานก่อนเข้ากระบวนการจัดหาผู้ร่วมทุน โดยขณะนี้มีเอกชนแสดงความสนใจร่วมหลายราย เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่และอยู่ในทำเลศักยภาพสูง

 

“โครงการที่เชียงใหม่คาดว่าจะเป็นโครงการแรกมีขนาดพื้นที่โครงการ 50ไร่ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากน่าจะหาผู้ร่วมทุนได้ไม่ยาก ส่วนร่มเกล้ากับดินแดงน่าจะมีพื้นที่เป็นร้อยไรขึ้นไป”

 

ดร.ธัชพล กล่าวว่า สำหรับโครงการบ้านแรกบ้านนั้นขณะนี้ เริ่มดำเนินการไปแล้วเดือนเศษ ดดยมีผู้ส่วนใจยื่นเรื่องเสนอตัวเข้าร่วมโครงการมาแล้วหลายร้อยราย แต่มีผู้อยู่ในโครงการจริงๆในขณะนี้มีประมาณ100ราย ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกที่จะทำให้กคช.ได้ทราบความต้องการของประชาชนว่ามีความสนใจแรกบ้านมีจำนวนมากเท่าใด

 

ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนาโครงการในเฟสต่อไปได้ นอกจากนี้ ในส่วนของความต้องการนำบ้านเอกชนมาแรกบ้านในโครงการของกคช. หรือ บ้านกคช.ไปแรกบ้านเอกชนนั้น อาจจะเป็นในเฟสต่อไป แต่เฟสแรกนี้จะเปิดรับเฉพาะการนำบ้านการเคหะฯมาแลกบ้านการเคหะฯเท่านั้น 

 

“ทั้งนี้ ในส่วนของแหล่งการเงินที่จะใช้ในโครงการนี้จะมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะใช้เฉพาะในส่วนต่างที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้มีการคุยกับแบงก์รัฐไปแล้ว ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากหลายแบงก์ด้วยดี”

 

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก MGR ONLINE

 

https://mgronline.com/stockmarket/detail/9610000019291

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider