รายการโปรด
วันที่ 14 พฤษภาคม นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าฯกทม.และ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความแสดงความเห็นเกี่ยวกับการประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ว่า ระส่ำหนัก! ถอนประกันภัยเมล์เอ็นจีวี ศาลย้ำ “อาคม” ต้องรับผิดชอบ มีรายละเอียดดังนี้
การประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 489 คัน มีปัญหาตลอดมาจนถึงการประมูลครั้งที่ 8 ปรากฏว่าบริษัท ช.ทวี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท สแกนอินเตอร์ จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูล ซึ่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ชี้แจงว่าได้รับรถเมล์เอ็นจีวีล็อตแรกแล้วจำนวน 100 คัน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561
การที่ ขสมก.อ้างว่าได้รับรถเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2561 นั้น ก็เพราะต้องการหาเหตุผลมาสนับสนุนการรับรถจำนวน 100 คัน ให้ได้ว่า ขสมก.รับรถก่อนที่ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 ให้ทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการบริหารกิจการ ขสมก. (บอร์ด ขสมก.) ที่มีมติให้ ขสมก.ทำสัญญากับ ช.ทวี ร่วมกับสแกนอินเตอร์ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 และ วันที่ 20 ธันวาคม 2560
เนื่องจากศาลได้ไต่สวนแล้วพบว่าไม่มีมติดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ดังนั้น การทำสัญญาระหว่าง ขสมก.กับ ช.ทวีร่วมกับสแกนอินเตอร์อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ศาลได้สั่งห้ามมิให้ ขสมก.นำมติดังกล่าวไปดำเนินการใดๆ ที่มีผลผูกพันกับ ขสมก. เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
ก่อนจะมีการรับรถ ขสมก.ได้ทำประกันภัยกับบริษัทประกันแห่งหนึ่ง โดยกรมธรรม์หรือสัญญาเริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2561 จนถึง 31 ธันวาคม 2561 ซึ่งตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ขสมก.จะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 วัน แต่เมื่อถึงกำหนด ขสมก.ไม่ได้ชำระเบี้ยประกัน
บริษัทดังกล่าวจึงมีหนังสือทวงถาม และขีดเส้นตายให้ ขสมก.ชำระเบี้ยประกันภายใน 15 วัน หรือประมาณวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา หาก ขสมก.ยังคงไม่ชำระเบี้ยประกันภายในเวลาที่กำหนดให้ บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะยกเลิกกรมธรรม์
เหตุที่ ขสมก.ไม่กล้าเสี่ยงที่จะชำระเบี้ยประกันก็เพราะว่าศาลได้สั่งห้ามมิให้ ขสมก.ดำเนินการใดๆ ที่มีผลผูกพันกับ ขสมก. หากจ่ายไปแล้ว ผู้อนุมัติให้จ่ายจะต้องรับผิดชอบ จึงทำให้ไม่มีคนกล้าสั่งจ่าย เป็นเหตุให้บริษัทประกันภัยเตรียมถอนประกันภัยรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 100 คัน ดังนั้น หากไม่มีประกันภัย จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าใครจะรับผิดชอบเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีอุบัติเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต และ/หรือมีผู้บาดเจ็บสาหัส หรือในกรณีที่รถเมล์ชนกับรถหรูซึ่งมีราคาแพง
นอกจากปัญหาเรื่องประกันภัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลกิจการ ขสมก.ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวคือ หลังจากศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้สัมภาษณ์ว่า “…จะเดินหน้าตามสัญญา
พร้อมทยอยรับมอบรถจนครบ 489 คัน ตามสัญญาที่ระบุไว้…” นับว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ที่สวนทางกับคำสั่งศาลอย่างชัดเจน เนื่องจากศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ ขสมก.ดำเนินการใดๆ ที่มีผลผูกพันกับ ขสมก.เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การรับรถเพิ่มเติมจึงไม่สามารถกระทำได้
จากการให้สัมภาษณ์ของ รมว.คมนาคมดังกล่าวข้างต้น เป็นเหตุให้บริษัท สยาม สแตนดาร์ด เอนเนอจี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลครั้งที่ 8 ด้วย เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลางเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 ให้ไต่สวนและกำหนดบทลงโทษ รมว.คมนาคมที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลให้ถูกต้องครบถ้วน เนื่องจาก รมว.คมนาคมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในลักษณะยั่วยุส่งเสริมไม่ให้ ขสมก. และบอร์ด ขสมก.ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล เป็นการละเมิดคำสั่งศาล
อีกทั้ง ผู้ฟ้องคดีหรือบริษัท สยาม สแตนดาร์ด เอนเนอจี้ จำกัด เห็นว่า รมว.คมนาคมมีอำนาจเรียกประธานบอร์ด ขสมก. ผู้อำนวยการ ขสมก. พนักงานหรือลูกจ้าง ขสมก. มาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้ทำรายงานเสนอ หรือสั่งให้กระทำหรือยับยั้งมิให้กระทำการใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี
ตลอดจนมีอำนาจที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของ ขสมก. ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ.2519 แต่ รมว.คมนาคมไม่ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง อีกทั้ง ยังออกมาให้สัมภาษณ์ยุยงส่งเสริมไม่ให้ ขสมก.และบอร์ด ขสมก.ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2561 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งออกมาว่า รมว.คมนาคมไม่ใช่คู่กรณีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ตกอยู่ภายใต้การบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561 เนื่องจากผู้ฟ้องคดีหรือบริษัท สยาม สแตนดาร์ด เอนเนอจี้ จำกัด ไม่ได้ฟ้อง รมว.คมนาคม แต่ฟ้องเฉพาะ ขสมก. กับบอร์ด ขสมก.เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ศาลได้ระบุไว้ในคำสั่งชัดว่า “รมว.คมนาคมจะใช้หรือไม่ใช้อำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของ ขสมก. ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ.2519 ตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างหรือไม่ ก็เป็นความรับผิดชอบต่ออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของ รมว.คมนาคม” นั่นหมายความว่า หากผู้ฟ้องคดีหรือใครคนใดคนหนึ่งนำเรื่องนี้ไปร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) รมว.คมนาคมจะหนีความรับผิดชอบไปไม่พ้น
ถึงเวลานี้ หาก รมว.คมนาคมยังคงนิ่งเฉย ผมเป็นห่วงท่านจริงๆ เพราะทราบมาว่ามีผู้เตรียมร้องต่อ ป.ป.ช. โดยตั้งใจจะดำเนินคดีจนถึงที่สุดให้เหมือนกับคดีรับจำนำข้าวที่ดังฉาวโฉ่ข้ามประเทศเลยทีเดียว
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-157888
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ขอบคุณความรู้ดีๆ จากที่นี่ครับ
บทความหลากหลาย อ่านแล้วมีประโยชน์
อ่านแล้วอยากมีคอนโดเป็นของตัวเองเลยค่ะ