รายการโปรด
ดีเวลอปเปอร์ลุ้นไตรมาส 4 ปีนี้เห็นสัญญาณฟื้นตัว หลังรับยากระตุ้นจากรัฐบาลต่อเนื่อง จับตาเปิดลงทะเบียน “บ้านดีมีดาวน์” คืนเงินดาวน์ 5 หมื่นบาท วันที่ 11 ธันวาคมนี้ คึกคักทะลุเป้า 1 แสนราย
โค้งสุดท้ายปี 2562 รัฐบาลเข็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เริ่มจากปลายเดือนตุลาคม ครม.มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอลดค่าโอนและค่าจดจำนอง เหลือ 0.01% จากปกติ 1.0% และ 2.0% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีผลตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน- ธันวาคม 2563
ล่าสุดรัฐบาลมอบของขวัญปีใหม่ด้วยโครงการบ้านดีมีดาวน์ ช่วยเงินดาวน์ 5 หมื่นบาท เพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีบ้าน กำหนดลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ บ้านดีมีดาวน์.com วันที่ 11 ธันวาคมนี้ สำหรับโครงการนี้มีระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562-31 มีนาคม 2563 โดยผู้มีสิทธิ์มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อเดือน หรือไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี
แคมเปญหลังสุดนี้ถือว่าค่อนข้างเปิดกว้างให้กับผู้ซื้อหลากหลายระดับราคา ตํ่าล้าน หรือมากกว่า 3 ล้านบาท ก็ได้ จึงกล่าวได้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยช่วงปลายปี เป็นตลาดของผู้ซื้อที่มีต้องการจะซื้อบ้านและมีความพร้อมด้านการเงินอย่างแท้จริง ซึ่งผู้ประกอบการเชื่อว่าลูกค้าที่มีกำลังซื้อยังมีอยู่ไม่น้อย
นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่าต้องยกเครดิตให้กับกระทรวงการคลัง ที่จัดโครงการบ้านดีมีดาวน์ ออกมาในภาวะเศรษฐกิจยังชะลอตัว
“โครงการนี้ส่งผลดีต่อผู้ที่ซื้อคอนโดฯ เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ใช่โครงการที่เปิดขายใหม่ในไตรมาส 4 ปีนี้ ขณะนี้ผู้ซื้อที่จะโอนปลายปีนี้ก็ดึงเรื่องโอน รอลงทะเบียนรับสิทธิ์คืนเงินดาวน์ สำหรับสต๊อกที่อยู่อาศัยโดยปกติต้องมี 1 แสนยูนิตหลายๆ รวมหมดทั้งที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว กำลังก่อสร้างและกำลังขาย”
ขณะที่นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด หรือ LPN ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ถ้าหากมีผู้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ครบ 1 แสนราย ตํ่า ๆ ก็เท่ากับรายได้จากการขาย 1 แสนล้านบาท ถือเป็นวงเงินที่ค่อนข้างสูง หากมาตรการดังกล่าวได้ผลนับเป็นสัญญาณที่ดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ
ส่วนมาตรการลดค่าโอนและจดจำนอง ระยะเวลาดำเนินการค่อนข้างยาวถึงสิ้นปี 2563 ในช่วงต้นของโครงการจึงเคลื่อน ไหวไม่หวือหวานัก ประกอบกับผู้ประกอบการก็รับภาระแทนผู้ซื้ออยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คาดว่าไตรมาส 4 ปีหน้าจะเห็นยอดการซื้อขายและโอนที่อยู่อาศัยคึกคัก
ด้านมุมมองนักวิชาการอย่าง นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า สิ่งที่รัฐควรทำ คือ ภาพระยะยาว การเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลัก ให้เกิดเร็วและต่อเนื่องที่สุด เช่น ถนน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และโครงการอีอีซี เพราะหากทำได้ดีก็จะเข้ามาช่วยปรับตลาดจากดีมานด์ที่มากขึ้น ส่วนระยะสั้น เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการ จะเตรียมตัวเพื่อรับความเสี่ยงทุกด้าน
“การที่รัฐให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาระยะสั้น โดยไม่คำนึงถึงระยะยาว ทำให้ตลาดชะลอตัว จากยอดขายโครงการช้าลง ผู้ประกอบการเองก็เลื่อนเปิดโครงการ ทำให้เป็นความเสี่ยงต่อตลาดระยะยาว และเมื่อเกิดปัญหาใหญ่ขึ้นแล้ว มาตรการลด แลก จ่าย แถมใด ๆ ก็คงไม่เป็นผล”
ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบายควบคุมสินเชื่อโดย ธปท. (LTV) หรือ แม้กระทั่งกฎเกณฑ์คุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด (DSR) ที่กำลังพิจารณาจะออกมา เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดภาวะหนี้เสียมากขึ้นไปอีก
ขอบคุณข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ดีไซน์เว็บสวยดีค่ะ ดูง่าย ชอบมาก
เขียนบทความน่าอ่านมากเลย
คือชอบมาก มีให้อ่านหลากหลายมาก
ข้อมูลดีมาก ระเอียดมากครับ
รีวิวดี ภาพชัดเจน