News
icon share

เจาะลึก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ฉบับเข้าใจง่าย

LivingInsider Report 2019-12-11 16:42:48
เจาะลึก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ฉบับเข้าใจง่าย

 

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปี พ.ศ. 2563 ทางภาครัฐจะมีการออกกฎหมายภาษีฉบับใหม่นั่นก็คือ "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" ที่จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เริ่มปีใหม่กันเลย (1 มกราคม 2563) ซึ่งอาจมีรายละเอียดบางประการที่หลายคนยังไม่เข้าใจ รศ.พัชรา พัชราวนิช คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้สรุปข้อมูลอย่างเข้าใจง่าย ไว้ดังนี้ 

เจาะลึก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ฉบับเข้าใจง่าย

 

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะจัดเก็บทุกปี เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 มาแทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ (คือคนที่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่นั้น ตั้งแต่ปี 2563 จะไม่ต้องเสียภาษีเหล่านี้ แต่จะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน) เรามาทำความรู้จักกับพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อความเข้าใจสามารถแบ่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

 

ฐานภาษี คือ จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี เกิดจาก มูลค่าที่ดินรวมกับสิ่งปลูกสร้าง ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์ โดยสามารถค้นหาราคาที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และอาคารชุด จากเว็บไซต์ http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/ ซึ่งจะแยกราคาตามประเภทและจังหวัด

 

ผู้เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของห้องชุด หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือทำประโยชน์ในทรัพย์สิน (ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) ของรัฐ ณ.วันที่ 1 มกราคมของปีใด ต้องสียภาษี ณ.ปีนั้น

 

ผู้จัดเก็บภาษี คือ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต), กรุงเทพฯ, เมืองพัทยา

 

การคำนวณภาษีเพื่อหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย

 

จำนวนภาษี (บาท) = { (มูลค่าที่ดิน + (มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – ค่าเสื่อมราคา)) – มูลค่าที่ได้รับยกเว้น} x อัตราภาษี

 

มูลค่าที่ดิน (บาท) = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินจากกรมธนารักษ์ (บาทต่อตร.วา) x พื้นที่ที่ดิน (ตร.วา)

 

มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง (บาท)  = {ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้างจากกรมธนารักษ์ (บาทต่อตร.ม.) x พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง (ตร.ม.)} – ค่าเสื่อมราคา

 

อัตราภาษีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามการใช้ประโยชน์ ณ.ปัจจุบัน โดยอัตราภาษี 2 ปีแรก (2563 – 2564) มีดังนี้

 

1. เกษตรกรรม ฐานภาษีเริ่มต้น 0 – 75 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.01% (ภาษี ล้านละ 100 บาท)

 

2. บ้านพักอาศัย ฐานภาษีเริ่มต้น 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.02% (ภาษี ล้านละ 200 บาท)

 

3. ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรและที่อยู่อาศัย ฐานภาษีเริ่มต้น 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

 

4. ที่รกร้างว่างเปล่า ฐานภาษีเริ่มต้น 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)

 

ข้อยกเว้น

1. เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเกษตรกรรมได้รับยกเว้นภาษี ในปี 2563 – 2565 หลังจากนั้น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าฐานภาษีรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อเขตองค์กรปกครองท้องถิ่นหนึ่ง (ม.40, ม.96)

 

2. เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าฐานภาษีรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท (ม.41)

 

3. เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้สิ่งปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายทะเบียนราษฎร์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าฐานภาษีรวมกันไม่เกิน 10 ล้านบาท(ม.41)

 

ตัวอย่าง นายสมชาย เป็นเจ้าของที่ดินอยู่จังหวัดสุพรรณบุรี 2 ไร่ 2 งาน แบ่งเป็นทำการเกษตร 2 ไร่ บ้านเดี่ยวอยู่อาศัย (มีชื่อนายสมชายในทะเบียนบ้าน) บ้านประเภทตึกพื้นที่ดิน 2 งาน มีพื้นที่ก่อสร้าง 120 ตร.ม. บ้านสร้างมาแล้ว 10 ปี เมื่อตรวจสอบราคาประเมินจากเว็บไซด์กรมธนารักษ์แล้วพบว่าราคาประเมินที่ดิน ตร.วาละ 2,000 บาท ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างตร.ม.ละ 6,600 บาท ค่าเสื่อมราคาประเภทตึกอายุ 10 ปีคิดร้อยละ 10

 

เกษตร; มูลค่าที่ดิน = 800 (ตร.วา) x 2,000 (ต่อตร.วา) = 1,600,000 บาท

ภาษีที่ดินด้านเกษตร = 1,600,000 x 0.01% (เกษตรกรรม) = 160 บาท

 

นายสมชายเป็นบุคคลธรรมดาใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้รับยกเว้นภาษีในปี 2563 – 2565

 

บ้านอยู่อาศัย;

มูลค่าที่ดิน = 200 (ตร.วา) x 2,000 (ต่อตร.วา) = 400,000 บาท

มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = 120 (ตร.ม.) x 6,600 (ต่อตร.ม.) = 792,000 บาท

ค่าเสื่อมราคาตึก 10 ปี = 792,000 x 10% = 79,200 บาท

มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง = 400,000 + (792,000 – 79,200) = 1,112,800 บาท

ภาษีด้านที่อยู่ศัย = 1,112,800 x 0.02% (ที่อยู่อาศัย) = 222.56 บาท

 

นายสมชายเป็นบุคคลธรรมดาใช้ที่ดินและบ้านอยู่อาศัย มีชื่อในทะเบียนบ้าน มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทได้รับยกเว้นภาษี

 

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่านายสมชายไม่ต้องเสียภาษีเนื่องจากนายสมชายเป็นบุคคลธรรมดา ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัยจึงได้รับยกเว้น จะเห็นได้ว่าเมื่อเราลองคิดภาษีที่จะต้องเสียแล้วนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย

เจาะลึก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ฉบับเข้าใจง่าย

 

“รู้ลึก รู้จริง เรื่องอสังหาริมทรัพย์” โครงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดรับสมัครผู้จบปริญญาตรีทุกสาขา เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท โครงการปริญญาโทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รุ่นที่ 20 ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2563 สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-613-2260, 02-613-2297, 02-623-5105 หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.re.tbs.tu.ac.th

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

บทความอื่นๆ

livinginsider livinginsider