รายการโปรด
หมู่บ้านจัดสรรหรือโครงการคอนโดจะมีส่วนกลาง ที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกันเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยเค้าจะมี “นิติบุคคล” เป็นผู้ดูแล แต่ความจริงแล้วมันมีรายละเอียดมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น นิติบุคคลมาจากไหน ทำหน้าที่อะไรบ้าง ดูแลจัดสรรปันส่วนยังไง เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย
นิติบุคคล เป็นใครมาจากไหน
นับเริ่มแรกเลย ‘นิติบุคคล’ จะถูกจ้างโดย Developer หรือเจ้าของโครงการ ตั้งแต่มีการสร้างโครงการ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากบริษัทที่ดูแลจัดการด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ทาง Developer จะดูแลเรื่อง นิติบุคคล แค่หลังจากโครงการขายหมดแล้วจนครบ 1 ปี หลังจากนั้นนิติบุคคลชุดแรกจะถูกเปลี่ยนเป็นชุดใหม่ ไม่ก็เป็นคนในหมู่บ้านหรือในคอนโดโหวตเลือกอีกทีว่าจะให้ใครดูแล หรืออาจจะเป็นชุดเดิมก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการโหวตและลงความคิดเห็นของทุกคนในโครงการนั้นๆ
หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
เริ่มตั้งแต่ พื้นที่ส่วนกลาง อย่างที่รู้กันว่าหน้าที่ของพวกเค้าคือจัดการดูแล ทรัพย์สินส่วนกลางภายในโครงการทั้งหมด โดยให้อยู่ในสภาพที่สวยงามเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นลิฟต์ ล็อบบี้ สวน สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ลานจอดรถ ไปจนถึงโครงสร้างอาคาร ซึ่งถ้าเราได้นิติบุคคลที่ดี ส่วนกลางที่ว่ามาจะยังดูใหม่สวยงามน่าใช้อยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้การปล่อยเช่าและขายของลูกบ้านทำได้ง่าย รวมไปถึงจัดการในเรื่องของการหา รปภ. แม่บ้าน และคนดูแลสวนอีกด้วย
ขณะเดียวกันนิติบุคคลจะต้อง แจ้งข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนกลาง หรือเกี่ยวกับลูกบ้านให้รับรู้โดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปรับปรุงการงดใช้ของส่วนกลางนั้นๆ การทำบุญบ้านของลูกบ้าน ที่อาจส่งเสียงดังกระทบลูกบ้านคนอื่น โดยแจ้งผ่านทางแอปพลิเคชันของหมู่บ้านหรือแจกใบปลิวใส่ตู้จดหมาย
ขอบคุณภาพ : sansiri
นอกจากนี้ การจัดกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องของความปลอดภัย ก็สำคัญเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง การฝึกซ้อมด้านอัคคีภัย น้ำท่วม และให้ความรู้ด้านปฐมพยาบาลให้แก่ลูกบ้าน ไม่เพียงเท่านั้น การจัดกิจกรรมตามเทศกาลต่างๆ ก็สามารถทำได้ เช่น กิจกรรมวันเด็ก วันคริสต์มาส ทำบุญใส่บาตรขึ้นปีใหม่ กิจกรรมปลูกต้นไม้ เป็นต้น โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนิติบุคคล
และอีกหนึ่งบทบาทสำคัญเลยคงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง จากลูกบ้านทั้งหลาย เพื่อนำมาใช้จ่ายทั้งในด้านของ บุคลากรที่ดูแลส่วนกลาง การซ่อมแซมสาธารณูปโภค การจัดกิจกรรม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเรื่องนี้มักจะมีปัญหาอยู่บ่อยครั้งสำหรับลูกบ้านบางคนที่ไม่ยอมจ่าย นิติบุคคลจึงต้องมีความเข้มงวดพอสมควร
ขอบคุณภาพ : rawpixel
ต่อด้วย การจัดประชุมใหญ่ประจำปี ซึ่งโครงการไหนลูกบ้านให้ความร่วมมือก็จะมาประชุมกันเยอะ แต่ถ้าไม่แล้วล่ะก็นิติบุคคลก็จะปวดหัวไม่น้อยเลยล่ะ จึงอยากให้พอถึงเวลานัดหมายทุกคนพร้อมใจกันมาประชุมร่วมกัน เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการที่ลูกบ้าน จะได้ตรวจสอบการทำงานของนิติบุคคล รวมถึงช่วยกันหาทางแก้ไขต่อปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา
คณะกรรมการนิติบุคคล
หมายถึง ลูกบ้าน ที่มาจากการเลือกของลูกบ้านทุกๆ คนในโครงการ โดยสามารถมีสมาชิกได้ตั้งแต่ 3-9 คน อายุ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งจะเป็นได้คราวละ 2 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการทุจริตและแสดงถึงความโปร่งใส โดยมีหน้าที่ตรวจสอบนิติบุคคลอีกทีหนึ่ง ว่าเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ พูดง่ายๆ ว่าเป็นตัวแทนของลูกบ้านทุกคนในการจัดการนั่นเอง
ซึ่งถ้าถามว่า จำเป็นไหมที่ต้องมี 'นิติบุคคล' บอกว่าเลยจำเป็นมาก เพราะส่วนกลางจะให้ลูกบ้านคนใดคนหนึ่งดูแลคงไม่ได้ จึงต้องมีสื่อกลางในการดูแลจัดสรรปันส่วน เพื่อให้ทุกอย่างออกมาเรียบร้อย ขณะเดียวกันลูกบ้านเองก็ต้องให้ความร่วมมือกับทางนิติบุคคล ปฏิบัตติตามกฎอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองและส่วนรวม
ทาวน์โฮม VS โฮมออฟฟิศ ดูแล้วเหมือนกันแต่แตกต่าง
2019-11-28
5 Gadgets สุดล้ำ เปลี่ยนบ้านของคุณให้กลายเป็น Smart Home ในโลกอนาคต
2018-10-02
อพาร์ทเมนท์vsแมนชั่น ที่ญี่ปุ่นแตกต่างกันตรงไหน
2021-08-17
Rong Si (โรงสี) ร้านอาหารไทยซีฟู๊ด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
2018-01-08
ไหว้เจ้าที่ในบ้านให้ถูกวิธี ทำง่ายๆ ได้บุญด้วย แถมด้วย วิธีไหว้เจ้าในช่วงตรุษจีน ให้ชีวิตดีมีแต่ เฮง เฮง เฮง
2020-03-05
ครบถ้วนดีค่ะ ชอบมากๆ
ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ
5 ดาวไปเลยครับ
บอความดี ขออนุญาตแชร์ครับ
ริวิวเวอร์จริงๆค่ะ ฮ่าๆ ครบถ้วนดี
ชอบเรื่องไอเดียแต่งบ้าน ได้ความหลากหลายดีกำลังวางแพลนจะซื้อบ้านเลย เอาเรื่องไอเดียมาอีกเยอะๆนะค่ะ