รายการโปรด
มาแล้วววว มาแรงใหม่ล่าสุดกับ “รถไฟฟ้าสายสีแดง” ในที่สุดก็ได้เปิดให้ใช้บริการ โดยเริ่มให้ใช้งานกันได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนั้นเราลองมาทำความรู้จักกันซะเล็กน้อย ว่าสายนี้วิ่งจากไหนไปไหน รวมถึงข้อดีข้อเสียและมีความน่าสนใจยังไง
รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเป็นระบบรางรถไฟชานเมือง รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 สายคือ
1. บางซื่อ-รังสิต (สายสีแดงเข้ม) ระยะทาง 26 กิโลเมตร ทั้งหมด 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต
2. บางซื่อ-ตลิ่งชัน (สายสีแดงอ่อน) ระยะทาง 15 กิโลเมตร ทั้งหมด 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน
ขอบคุณภาพ : postjung
สำหรับจุดประสงค์ในการสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงคือการอำนวยความสะดวกให้ผู้คนสามารถเดินทางไปยังบริเวณชานเมืองได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และช่วยทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ชานเมืองก็สามารถเดินทางเข้า กทม. ได้ง่ายเช่นกัน เพราะถ้าหากไม่มีรถไฟฟ้าสายสีแดง แล้วจำเป็นต้องเดินทางไปยังบริเวณชานเมืองด้วยรถไฟดีเซลรางก็อาจจะเจอกับปัญหาเรื่องความล่าช้าอยู่บ่อย ๆ
ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงได้เปิดเผยตามที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบให้รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงทั้ง 2 เส้นทาง ได้แก่ สายธานีรัถยา ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีรังสิต และสายนครวิถี ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีตลิ่งชัน รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร กำหนดให้มีอัตราค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย หรือเริ่มต้น 12 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2566
สำหรับอัตราค่าโดยสารเดิม เมื่อโครงการ 20 บาทตลอดสายสิ้นสุดลงจะมีอัตราค่าบริการ ดังนี้
สถานี |
ตลิ่งชัน |
บางบำหรุ |
บางซ่อน |
กรุงเทพอภิวัฒน์ |
จตุจักร |
วัดเสมียนนารี |
บางเขน |
ทุ่งสองห้อง |
หลักสี่ |
การเคหะ |
ดอนเมือง |
หลักหก |
รังสิต |
ตลิ่งชัน |
12 |
18 |
29 |
35 |
38 |
41 |
42 |
42 |
42 |
42 |
42 |
42 |
42 |
บางบำหรุ |
18 |
12 |
23 |
29 |
32 |
35 |
37 |
39 |
42 |
42 |
42 |
42 |
42 |
บางซ่อน |
29 |
23 |
12 |
18 |
22 |
25 |
26 |
29 |
33 |
36 |
39 |
42 |
42 |
กรุงเทพอภิวัฒน์ |
35 |
29 |
18 |
12 |
16 |
19 |
20 |
23 |
27 |
30 |
33 |
42 |
42 |
จตุจักร |
38 |
32 |
22 |
16 |
12 |
15 |
17 |
19 |
23 |
26 |
29 |
38 |
42 |
วัดเสมียนนารี |
41 |
35 |
25 |
19 |
15 |
12 |
14 |
16 |
20 |
23 |
26 |
35 |
40 |
บางเขน |
42 |
37 |
26 |
20 |
17 |
14 |
12 |
14 |
19 |
22 |
25 |
34 |
38 |
ทุ่งสองห้อง |
42 |
39 |
29 |
23 |
19 |
16 |
14 |
12 |
17 |
20 |
23 |
32 |
36 |
หลักสี่ |
42 |
42 |
33 |
27 |
23 |
20 |
19 |
17 |
12 |
15 |
18 |
27 |
32 |
การเคหะ |
42 |
42 |
36 |
30 |
26 |
23 |
22 |
20 |
15 |
12 |
15 |
24 |
29 |
ดอนเมือง |
42 |
42 |
39 |
33 |
29 |
26 |
25 |
23 |
18 |
15 |
12 |
21 |
26 |
หลักหก |
42 |
42 |
42 |
42 |
38 |
35 |
34 |
32 |
27 |
24 |
21 |
12 |
17 |
รังสิต |
42 |
42 |
42 |
42 |
42 |
40 |
38 |
36 |
32 |
29 |
26 |
17 |
12 |
สำหรับเวลาเปิด-ปิดของรถไฟฟ้าสายสีแดง ตั้งแต่ 15 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไปเปลี่ยนเวลาเปิดเป็น 05.00 น. และปิดเวลา 24.00 น. พร้อมทั้งมีการปรับความถี่การเดินรถให้รองรับการใช้งานได้มากขึ้น โดยมีรายละเอียดการเดินรถที่ปรับใหม่ดังนี้
สายธานีรัถยา : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต (สายเหนือ)
สายนครวิถี : สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน (สายตะวันตก)
ช่วงเวลา 05.00 - 05.30 น. ผู้โดยสารสามารถซื้อเหรียญโดยสารได้ที่ตู้จ้าหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนบัติ และเติมเงินบัตรโดยสารได้ที่ตู้เติมเงินอัตโนมัติ
อย่างแรกเลยคือ ประหยัดเวลา เพราะรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้ใช้ความเร็วสูงสุดในการให้บริการถึง 120 กม./ชม. อีกทั้งยังมีแค่เพียง 10 สถานี ซึ่งถ้าหากเริ่มตั้งแต่ต้นสายไปสุดที่ปลายทาง จะใช้เวลาแค่ประมาณ 25 นาที หรือถ้านับจากบางซื่อไปตลิ่งชัน ก็ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีเท่านั้น ถือว่ารวดเร็วเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังสะดวกสบายด้วยการเชื่อมต่อไปยังสายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น MRT สายสีน้ำเงิน ที่เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ หรือ MRT สายสีม่วง ที่เชื่อมต่อสถานีบางซ่อน และสนามบินดอนเมืองเชื่อมต่อด้วย Skywalk ที่สถานีดอนเมือง ทำให้การเข้าเมืองง่ายดายมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญค่าโดยสารไม่แพงมากนักเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ แต่ตอนนี้คือไม่เสียค่าใช้จ่ายใช้บริการฟรี
อย่างแรกเลยคือ ความถี่ในการรอรถนานประมาณหนึ่ง เร็วสุดคือ 15 นาที ในช่วงเวลาเร่งด่วน ช้าสุดคือ 30 นาที ซึ่งอาจเป็นแค่ในระยะแรกนี้ อนาคตน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้มีความถี่ที่เร็วขึ้น ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ตลอดผู้คนที่ใช้บริการไม่น่าจะไหว เพราะต้องเผื่อเวลาเดินทางพอสมควร
อีกทั้งเนื่องจากใช้ทางรถไฟเดิม ทำให้บางสถานีห่างจากจุดหรือสถานที่สำคัญค่อนข้างไกล ยกตัวอย่างสถานีรังสิต ที่อยู่ตรงตลาด200ปี แต่สถานที่สำคัญย่านนั้น ที่เป็นจุดเปลี่ยนผ่านของรถสาธารณะต่างๆ เพื่อกระจายไปยังสถานที่อื่นๆ ในรังสิตได้ง่ายคือ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ทำให้ต้องนั่งรถเมล์เชื่อมต่อไปอีก
รวมถึงสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ดูเหมือนว่ารถสาธารณะจะเข้าถึงสถานีค่อนข้างลำบาก ลักษณะจะคล้ายๆ กับตอนรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงแรก ที่สุดแค่สถานีบางซื่อยังไม่เชื่อมไปสถานีเตาปูน ทำให้ผู้ใช้บริการต้องไปกระจุกอยู่ตรงนั้นเป็นจำนวนมากเพื่อต่อรถเมล์ ซึ่งบอกเลยว่าคนเยอะและแน่นมากในช่วงเวลาเร่งด่วน
ในปัจจุบันนี้ รถไฟฟ้าสายสีแดงได้เปิดให้บริการแบ่งออกเป็นสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ที่ต้องมีการวางแผนให้เชื่อมต่อไปยังหลายจังหวัด การก่อสร้างจึงต้องแบ่งออกเป็นเฟสและเปิดใช้งานทีละส่วน ซึ่งส่วนที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วมีรายละเอียด ดังนี้
คนที่อยู่แถวรังสิตหรือใครจะไปทำธุระแถวนั้น รถไฟฟ้าสายสีแดง จะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเดินทางให้ถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แนะนำว่าควรบวกลบเผื่อเวลาในการเดินทางเชื่อมต่อไปรถไฟฟ้า รวมถึงเวลาในการรอรถไฟฟ้ามาด้วยนะ
กางทำเลที่ดินราคาแพงขึ้น ใน 4 โซนพื้นที่ตัวอย่าง
2023-02-05
สรุป มูลค่าโอนห้องชุด ในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2561-2565
2023-03-23
จะปล่อยเช่าคอนโดฯ ต้องรู้จัก Yield
2019-12-04
ถมดินสร้างบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย และไม่ผิดกฎหมาย
2024-09-27
ตลาดสัตว์เลี้ยง กับค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นทุกปี
2022-11-22
ชอบนะคะ บทความหลากหลายดี
อ่านแล้วต้องอุทานว่า เริ่ด!!!
ให้ข้อมูลดี เอาไว้ศึกษาดีค่ะ