รายการโปรด
นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการประสานงานแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลครั้งที่ 1 ได้หารือ 3 ประเด็น คือ 1.การใช้พื้นที่รับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) ตามแนวถนนสาธารณะเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มี 4 บริเวณที่ยังมีปัญหาอยู่
โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ ทล. หารือและประสานงานกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ร่วมกันในการจัดจราจรแก้ปัญหาจราจรในการก่อสร้างบริเวณแยกลาดพร้าว ขณะนี้กรมทางหลวง กำลังพิจารณาด้านโครงสร้างของพื้นผิวถนน
ส่วนบริเวณแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีฐานรากของตอม่ออยู่ใกล้โครงสร้างของทางลอดเกษตรอยู่ห่างจากผนังทางลอดของ กรมทางหลวง ระยะทาง 6.2 กิโลเมตร รฟม.อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดวิธีก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จ 2-3 เดือน โดยจะหารือร่วมกับแขวงทางหลวงกรุงเทพอีกครั้งหนึ่ง
ด้านบริเวณแยกหลักสี่ รฟม.ได้หารือกับวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรมควบคุมโรค สำนักงานเขตบางเขน และหน่วยทหารรักษาพระองค์กรมทหารราบที่ 11 ขอใช้พื้นที่บริเวณทางเท้า และปรับแบบจากเสาคู่เป็นเสาเดี่ยว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟม.และขอใช้พื้นที่ ทล.
ขณะที่บริเวณแยก คปอ.ปรับลดช่องรอเลี้ยวเพื่อก่อสร้างเสารองรับโครงสร้างรางรถไฟฟ้า จาก 3 ช่องจราจร เหลือ 2 ช่องจราจร รฟม.อยู่ในระหว่างการพิจารณาปรับแบบโครงสร้างสะพานจากรูปแบบชิ้นส่วนประกอบวางเสาเดี่ยว มีช่วงสะพานยาว 30-35 เมตร เป็นเพิ่มความยาวช่วงเสา 60 เมตร เพื่อสามารถเพิ่มช่องรอเลี้ยวบริเวณทางแยกได้ ทาง รฟม.อยู่ระหว่างการพิจาณาสำรวจปริมาณการจราจรและวิเคราะห์ผลกระทบด้านการจราจร
2.การจัดทำแผนการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่สถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินเดิม โดย รฟม.เสนอทางเลือกในการเดินทาง 2 แนวทาง
แนวทางที่ 1 คือจัดรถโดยสารสาธารณะให้บริการ ขบวนละ 5 ชุด ชุดละ 3 คัน รวมเป็น 15 คัน สามารถรับผู้โดยสารคันละ 80 คน ให้บริการตั้งแต่ 05.30-00.00 น. อัตราค่าเช่าเบื้องต้น 16,000 บาท/วัน การเดินรถจะขอใช้ช่องพิเศษจำนวน 1 ช่องจราจร จัดรถโดยสารวิ่งวนต่อเนื่อง หรือขอใช้ช่องทางจราจรปกติ จัดรถวิ่งวนเพื่อ-รับส่ง ในช่วงเวลาด่วนเช้า (05.30-09.00 น.) ให้รถสามารถวิ่งสวนจากสถานีบางซื่อขึ้นสะพานสูงไปยังสถานีเตาปูน ลดผลกระทบต่อการจราจรปกติ ใช้พื้นที่บริเวณสถานีเตาปูนเป็นที่จอดรอรับผู้โดยสาร
แนวทางที่ 2 จัดรถไฟชานเมือง ระหว่างสถานีบางซ่อนไปบางซื่อ ระยะทาง 300 เมตร ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเดินรถให้ช่วงเวลาด่วน 06.30-09.30 น. และ 16.30-20.30 น. ใช้ตู้โดยสาร 5 ตู้ วิ่งไปกลับ 5 เที่ยวต่อชั่วโมง รวม 40 เที่ยวต่อวัน ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น 200,000 บาทต่อวัน
“ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมด รฟม.จะเป็นผู้รับผิดชอบ หลังจากนี้ประมาณกลางเดือน ส.ค.จะทำการทดลองเดินรถโดยสารและรถไฟเพื่อดูสภาพจราจรจริง”
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวเสริมว่า จากการประชุมคณะกรรมการมาตรา 35 ของพระราชบัญญัติร่วมลงทุนปี 2556 มีมติเจรจาตรงกับ บมจ.ทางด่วนและกรุงเทพ หรือบีอีเอ็ม ในการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด รฟม. อยู่ระหว่างการนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐหรือคณะกรรมการ PPP พิจารณา
หากคณะกรรมการ PPP เห็นชอบเจรจาตรงกับบีอีเอ็ม คณะกรรมการมาตรา 35 ก็จะไปเจรจากับบีอีเอ็มประมาณ 2เดือน จากนั้นนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะสามารถลงนามสัญญาได้ภายในเดือน ก.ย.-ต.ค.59 โดยจะเร่งให้มีการเดินรถสถานีบางซื่อ-เตาปูน ก่อน ใช้เวลาในการติดตั้งระบบ 12 เดือน แต่จะพยายามเร่งให้ได้ภายใน 10 เดือน หรือ ก.ค. 60
ทั้งนี้ การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ บริเวณสามแยกไฟฉาย จากเดิมที่จะให้มีการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำก่อนถึงจะก่อสร้างรถไฟฟ้า แต่เนื่องจากการก่อสร้างอุโมงค์มีความล่าช้า ทาง รฟม.จึงหารือกับ กทม. เพื่อขอเข้าพื้นที่ก่อสร้างก่อน ในเดือน ก.ค. 59 และจะส่งมอบพื้นที่คืน กทม.ในปี 2560 เบื้องต้นหลังจากเปิดใช้บริการ ในปี 2562 อาจจะยังไม่สามารถใช้บริการที่สถานีสามแยกไฟฉายได้ เพราะสถานียังไม่เสร็จเรียบร้อย
นายชาติชายกล่าวอีกว่า เรื่องที่ 3 การแก้ปัญหารถจักรยานยนต์ใช้เส้นทางบนสะพานภูมิพล 1 และ 2 ที่ประชุมมีมติห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นไปใช้สะพานภูมิพล 1 และ 2 ตามที่ ทล.ได้ประกาศไว้ สำหรับการเดินทางเข้าท่าเรือ ข้ามฟากคลองลัดโพธิ์ ทำการปรับปรุงทางเข้า-ออกทางท่าเรือเรือข้ามฟากคลองลัดโพธิ์-พระราม 3 บริเวณสวนสุขภาพลัดโพธิ์บริเวณด้านข้างทางเดินที่มีหลังคาทั้ง 2 ฝั่ง ปัจจุบันใช้เป็นเส้นทางรถจักรยานยนต์เข้า-ออกท่าเรือร่วมกับทางเดินเท้า
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
ขอบคุณความรู้ดีๆ จากที่นี่ครับ
บทความด้านการลงทุนเขียนดีมากครับ
เหมาะสำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลในการที่จะซื้อคอนโดซักที่มากๆเลยครับ
เขียนบทความตามกระแส ทันเหตุการณ์ดีค่ะ
ได้ไอเดียไปแต่งห้องตัวเองหลายอย่างเลย
รีวิวเขียนดีจังค่ะ