News
icon share

‘อสังหา’ โวยเบรกต่างชาติซื้อคอนโดเกิน49%

LivingInsider Report 2022-02-07 14:38:31
‘อสังหา’ โวยเบรกต่างชาติซื้อคอนโดเกิน49%

อสังหา ฯ ดีเวลลอปเปอร์ โวย หลังศบศ.เบรกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-อสังหาฯ เหี้ยน ทั้งขยายสิทธิ์คนต่างชาติซื้อคอนโดฯ เพิ่มเกิน 49% - เช่ายาวเกิน 30 ปี ซื้อบ้านจัดสรรได้ ติดเบรกเศรษฐีนอกซื้อคอนโด

 

"อสังหาฯ โวยเบรกมาตรการต่างชาติซื้อคอนโดฯ" ผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผิดหวังอีกครั้งเมื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเปิดให้ชาวต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยในไทยได้เพิ่มขึ้นมีอันต้องยุติลง เนื่องจาก คณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในฐานะประธาน

 

มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชะลอการแก้ไขกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขยายสิทธิ์ให้คนต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุด (ซื้อคอนโดมิเนียม) เกิน 49% หรือไม่เกิน 70-80% การขยายระยะเวลาการเช่าที่ดินเกิน 30ปี รวมทั้งการให้สิทธิ์คนต่างชาติถือครองที่ดิน เพื่ออยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่หรือซื้อบ้านจัดสรร

‘อสังหา’ โวยเบรกต่างชาติซื้อคอนโดเกิน49%


ทั้งนี้ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1) ไม่เห็นด้วยโดยให้เหตุผลว่ากฎหมายปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว ขณะกรมที่ดินยืนยันว่าสัดส่วนการเปิดให้ต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดนับตั้งแต่มีกฎหมายยังไม่พบต่างชาติซื้อเต็มสัดส่วนที่กฎหมายให้ไว้

 

หากย้อนไปช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งนับตั้งแต่ปี 2540 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ใช้มาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯ โดยดึงชาวต่างชาติซื้อห้องชุดในไทย โดยกำหนดโซนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองท่องเที่ยวเกิน 49% ผลปรากฎไม่มีต่างชาติซื้อตามเป้า ขณะเดียวกันยังมองว่าการเปิดโอกาสคนต่างชาติที่มากเกินไปจนอาจเกิดผลกระทบคนไทยไร้ที่อยู่อาศัย


นายปิยะ ประยงค์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพฤกษาเรียลเอสเตทจำกัด (มหาชน) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงการระบาดโควิดมองว่า มีความจำเป็นต้องดึงต่างชาติเข้ามาสนับสนุนโดยเฉพาะการซื้ออสังหาฯ เนื่องจากกำลังซื้อระดับล่างของคนไทยหายไปจากตลาด ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

 

หากรัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศโดยไม่พึงพาต่างชาติเชื่อว่าการเติบโตจะช้าลง “สถานการณ์เช่นนี้ยืนยันว่ารัฐบาลควรขยายสิทธิ์ให้ต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในไทยเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้เร็ว แม้จะเป็นแค่ช่วงระยะสั้นก็ยังดี”

 

ด้านบมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเม้นท์ ซึ่งมีฐานลูกค้าต่างชาติเป็นอันดับหนึ่งของตลาดคอนโดฯ กทม. (ส่วนแบ่งการตลาด 56%) สะท้อนมุมมองไว้ว่า ตลาดลูกค้าต่างชาติถือมีความสำคัญต่อภาคอสังหาฯไทย ขณะนี้เริ่มมีแนวโน้มเชิงบวกต่อการกลับเข้ามาในประเทศมากกว่า 2 ปีก่อนหน้า

 

นายแฟรงค์ ฟง คึ่น เหลียง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมโนเบิลฯ ระบุ ดีมานด์ต่างชาติมาจาก 4 ทาง ได้แก่ กลุ่มคนเข้ามาทำงาน, กลุ่มที่ส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษา, ซื้อเป็นบ้านหลังที่ 2 เชิงท่องเที่ยว และกลุ่มนักลงทุน

 

โดยยอมรับว่าสถานการณ์โควิดมีผลทำให้ดีมานด์กลุ่มท่องเที่ยวและลงทุนชะลอตัวไป แต่อีก 2 กลุ่ม ยังคงแข็งแกร่งอยู่ ประเมินหากโควิดคลี่คลายภายในครึ่งปีแรก น่าจะเป็นจังหวะที่ดีที่ลูกค้าต่างชาติจะกลับมา โดยเฉพาะชาวจีน ทั้งนี้โนเบิล มีแผนเปิดโครงการใหม่เพื่อรองรับฐานลูกค้าต่างชาติหลายโครงการ

 

ขณะก่อนหน้านี้ นาย พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า รัฐบาลควรสนับสนุนขยายเวลาการเช่า ของนักลงทุนต่างชาติรองรับกลุ่มต่างชาติวัยเกษียณ เช่นเดียวกับการซื้อคอนโดฯ ได้มากขึ้น แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่จะกระทบแย่งชิงพื้นที่คนไทย ควรกำหนดโซนที่ชัดเจน เช่น ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี พื้นที่โซนใจกลางเมืองกทม. และกำหนดราคาเป้าหมายที่ชัดเจน

 

นาง อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย ระบุว่า การเปิดให้ต่างชาติซื้ออสังหาฯ ไทยได้มากขึ้น จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนได้ เพราะปัจจุบันความต้องการซื้อคอนโดฯ ในไทยยังมีสูงโดยเฉพาะจีน

 

 “ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบไปยังศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ถึงสถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียม (ห้องชุด) ให้คนต่างชาติทั่วประเทศ ณ สิ้น ไตรมาส 3 ปี 2564 ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากไวรัสโควิด 19 โดยทั่วประเทศ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 29,722 ล้านบาท

 

ขณะชาวจีนเป็นสัญชาติที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดมากที่สุดทั่วประเทศมากที่สุด ทั้งหมด 3,760 หน่วย ส่วน 5 จังหวัดอันดับแรกที่ต่างชาติโอนฯ อสังหาฯ มากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ และนนทบุรี

 

ขอบคุณภาพและข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/property/512916

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider