Favorite
ทำไมต้องมีสัญญาแต่งตั้งนายหน้า
นายหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า ตัวแทนอสังหาฯ ผู้ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ จัดเตรียมเอกสาร ขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญ และช่วยเหลือผู้ขายที่ไม่ถนัดการเจรจาหรือเรื่องเอกสารที่ไม่รู้ว่าติดต่อใคร ต้องเริ่มทำอะไรก่อนและหลังได้เป็นอย่างดี
ซึ่งการเลือกใช้นายหน้าหรือตัวแทนอสังหาฯ สามารถช่วยให้ขายอสังหาฯ ได้รวดเร็วขึ้น จากการทำการตลาดของบริษัทอสังหาฯ และเพื่อการทำงานที่ราบลื่น จึงได้มีการทำ สัญญาแต่งตั้งนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ ขึ้นระหว่างผู้ขาย และนายหน้าหรือตัวแทนอสังหาฯ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย
ทำไมต้องมีสัญญาแต่งตั้งนายหน้า หลายครั้งที่ เกิดปัญหาค่านายหน้าที่เจ้าของไม่ได้ชำระให้ตามสัญญาหลังนายหน้าทำงานได้เสร็จสิ้น โดยผู้ขายมีหน้าที่จ่ายค่าตอบแทนให้นายหน้า เมื่อนายหน้าปฏิบัติหน้าที่สำเร็จตามที่ระบุในสัญญาแต่อาจไม่ได้จ่ายด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
การทำสัญญานี้จะเป็นเครื่องยืนยันข้อตกลงกันซึ่งมีผลตามกฏหมาย และสามารถใช้เรียกร้องได้หากเกิดปัญหาภายหลัง
สัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือ สัญญาตัวแทนอสังหาฯ คืออะไร? คือ สัญญาค่าตอบแทนระหว่างผู้ขายและนายหน้าอสังหาฯ โดยผู้ขายต้องจ่ายค่าตอบแทนให้กับนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ เมื่อสามารถปิดการขายอสังหาฯ ได้สำเร็จ ตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญา
8 ข้อสำคัญการทำสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ
ส่วนที่จำเป็นในการทำสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ มีทั้งหมด 8 ข้อที่เป็นรายละเอียดสำคัญหลักๆ ซึ่งการทำสัญญาอาจมีการเรียงลำดับที่แตกต่างกัน แต่จะต้องมีครบทุกหัวข้อ โดยวันนี้เราเริ่มต้นนำเสนอด้วย
1 - รายละเอียดการทำสัญญา
มักอยู่ในส่วนแรกบริเวณช่วงต้นของสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ โดยจะระบุเวลาในการทำสัญญา เช่น วัน เวลา และสถานที่
2 - ผู้ขายหรือผู้ให้สัญญา
ในส่วนนี้เป็นการระบุรายละเอียดของผู้ขายที่เป็นเจ้าของทรัพย์ หรือเรียกอีกอย่างว่า ผู้ให้สัญญา โดยเป็นรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ควรระบุในสัญญาให้ชัดเจนว่า จะแทนด้วยคำว่า ผู้ขาย หรือ ผู้ให้สัญญา เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการใช้คำ
3 - นายหน้าหรือตัวแทนอสังหาฯ
ในส่วนนี้เป็นการระบุรายละเอียดของนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ ซึ่งเป็นรายละเอียดทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ปัจจุบัน เป็นต้น โดยต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจนด้วยเช่นกันว่า จะแทนด้วยคำว่า นายหน้า หรือ ตัวแทนอสังหาฯ
4 - รายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการขาย
การระบุรายละเอียดของทรัพย์ที่มีการทำสัญญากับนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ ควรระบุข้อมูลที่ถูกต้อง และละเอียดชัดเจน เช่น เลขที่โฉนดที่ดิน บ้านเลขที่ ที่ตั้ง หมู่ ถนน ซอย ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต และจังหวัด
5 - ค่าตอบแทนของนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ
ส่วนสำคัญที่ต้องตรวจให้ละเอียดถี่ถ้วน เพราะเป็นส่วนของค่าตอบแทนของนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ หากสามารถปิดการขายอสังหาริมทรัพย์ได้ มีค่าตอบแทนเท่าไหร่ โดยต้องระบุมูลค่าของค่าตอบแทน ทั้งตัวเลขและตัวหนังสือให้ตรงกัน และต้องระบุให้ชัดเจนถึงวิธีการชำระค่าตอบแทน ช่องทางการจ่าย หรือสถานที่นัดชำระค่าตอบแทน หากมีการแบ่งชำระต้องระบุจำนวนเงินของแต่ละงวด แบ่งจ่ายกี่ครั้ง และกำหนดเวลาที่แน่นอน และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรลืมคือ ระบุมูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไว้ในส่วนนี้ด้วย
6 - ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญา
ส่วนนี้เป็นการระบุช่วงเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของสัญญาระหว่างคู่สัญญา กรณีที่สามารถขยายระยะเวลาได้ ควรระบุในส่วนนี้ว่า ต้องการให้แจ้งล่วงหน้าภายในระยะเวลากี่วัน ก่อนวันสิ้นสุดสัญญา หากเกิดการขยายระยะเวลาสัญญานอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไข จะไม่สามารถแก้ไขจากฉบับเดิมได้ ต้องทำการตกลงและทำสัญญาฉบับใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง
7 - เงื่อนไขและกรณียกเว้นในสัญญา
ในกรณีที่มีเงื่อนไขและการยกเว้น ได้แก่ เหตุที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนโดยที่ไม่เกิดการขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน และเหตุในการผิดสัญญา จะต้องระบุเงื่อนไขให้ชัดเจนว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
8 - พยานและการเซ็นสัญญา
มาถึงส่วนสุดท้ายของสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ จากที่ได้ระบุรายละเอียดไปทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการลงลายมือยินยอมระหว่างผู้ขาย และนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ
โดยจะต้องมีพยาน 2 คน ซึ่งเป็นพยานจากฝั่งผู้ขาย และนายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ เพื่อให้สัญญามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ หลังจากที่ลงลายมืออย่างชัดเจนแล้ว ทั้งสองฝ่ายควรเก็บสัญญาฉบับนี้ไว้ที่ตัวเองคนละชุด เพื่อเป็นหลักฐานในการทำสัญญาร่วมกัน
การทำสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ เป็นการแสดงรายละเอียด และความชัดเจนในเรื่องของการค่าตอบแทน ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนและตรงกันของทั้งสองฝ่าย
เพื่อไม่ให้เกิดข้อสงสัย และความคลุมเครือระหว่างการทำงาน หรือหากมีปัญหาเกิดขึ้นที่นอกเหนือจากการระบุไว้ในสัญญา จะสามารถอ้างอิงได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในการระบุในสัญญาหรือไม่ เพื่อลดปัญหาระหว่างการทำงาน ผู้ขายควรทำสัญญานายหน้าอสังหาฯ หรือสัญญาตัวแทนอสังหาฯ ไว้ตั้งแต่เริ่มต้น
ซึ่งสัญญาแบบแต่งตั้งนายหน้าโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ แบบเปิดและปิด มีข้อแตกต่างกันเบื้องต้นคือ
สัญญาแบบเปิด - จะใช้เพื่อให้นายหน้าสามารถอ้างสิทธิ์ได้ว่า "ทรัพย์นี้ได้มีการขออนุญาตเจ้าของทรัพย์แล้ว อย่างถูกต้องเพื่อนำมาทำการตลาดได้" แต่เจ้าของก็ยังสามารถขายทรัพย์ได้เอง หรือ ให้นายหน้าคนอื่นช่วยขายได้ด้วย หลายๆครั้งสัญญาแบบนี้จะไม่ค่อยได้ใช้เท่าไร เพราะไม่มีความผูกมัดใดๆกันเลย (หลักๆคือขออนุญาต) ดังนั้นนายหน้าหลายๆคนก็ไม่ได้ทำสัญญานี้ อาจจะใช้แค่การแชท/ อีเมล / โทร พูดคุยกับเจ้าของเพื่อขออนุญาตเท่านั้น
แจกสัญญาแต่งตั้งนายหน้า ทั้งสัญญาแบบเปิดและแบบปิด (exclusive listing) ดาวน์โหลดฟรีได้เลย ประกอบด้วยสัญญา 2 แบบ
1. สัญญาแต่งตั้งนายหน้าแบบเปิด
2. สัญญาแต่งตั้งนายหน้าแบบปิด
เพียงท่าน แอด Line ID : @livinginsider (มี @ นำหน้าด้วยนะครับ) และแจ้งอีเมลของท่านมาให้เราทางไลน์
สแกน QR เพื่อแอดไลน์
ซื้อคอนโดพร้อมอยู่ มีดีและไม่ดีที่ตรงไหน
2020-07-13
สามสิบเอ็ด วัยว้าวุ่น
2017-11-23
บริษัทอสังหาฯ โชว์ยอดขาย 9 เดือนแรก ของปี 2565 ใกล้ถึเป้าที่ตั้งไว้ทั้งปี มากแค่ไหน?
2022-11-07
แนะนำบ้านเดี่ยวโซนรังสิต ราคาเริ่มต้นไม่เกิน 5 ล้านบาท
2024-07-17
สรุปเหตุการณ์คนผ่อนบ้านไม่ไหว แบงค์ปฏิเสธสินเชื่อ ผ่อนบ้านแพง
2024-03-11
ใช้ภาษาเข้าใจง่ายดีค่ะ
เนื้อหาบทความเข้าใจง่าย ตัดสิ้นใจง่ายขึ้เลยครับ
ชอบบทความที่นี่จัง ได้ความรู้
เข้าใจง่ายขึ้นเลย อ่านง่าย สบายตา รูปสวย
เว็บนี้ทำรีวิวได้ดีมากๆ
เขียนได้ดีมากค่ะ