Favorite
มนุษย์เงินเดือนหลายคนมักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่าหลายคนไม่เข้าใจว่าคืออะไร และมีวิธีการที่ทำให้ได้ดอกเบี้ยบ้านหรือคอนโดถูกลงได้หรือไม่ แต่ความสงสัยเหล่านี้จะหายไป
เมื่อได้รู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่ารีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงวิธีการจัดการรีไฟแนนซ์บ้านหรือคอนโดได้อย่างเป็นระบบ
รีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย คืออะไร
รีไฟแนนซ์คำศัพท์ที่หลายคนคุ้นเคยนั่นคือการย้ายสินเชื่อบ้านที่เรากู้อยู่กับธนาคารเดิม ไปธนาคารใหม่โดยต้องผ่อนมามากกว่า 3 ปี และธนาคารใหม่จะให้ดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์บ้านหรือคอนโดที่ถูกกว่าธนาคารเดิม ทำให้ผ่อนชำระต่อเดือนถูกลง และผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น
แล้วรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยเหมาะกับใครบ้าง
ขั้นตอนรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย ไม่ยากอย่างที่คิด
ตรวจสอบสัญญากู้บ้าน ตรวจสอบดูว่าสามารถเริ่มทำได้ตอนไหน ซึ่งส่วนมากสัญญาสามารถเริ่มรีไฟแนนซ์ได้เมื่อผ่อนบ้าน-คอนโด ไปแล้ว 3 เดือน
เลือกธนาคารที่ใช่ เพราะเรื่องของดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร จึงต้องนำข้อมูลของหลายธนาคารมาเทียบกัน เพราะถ้าเลือกดีๆ จะได้ธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด และช่วยให้ผู้อ่านหลายท่านประหยัดดอกเบี้ยได้นับแสนเลยทีเดียว
เตรียมเอกสาร เอกสารส่วนใหญ่ในการรีไฟแนนซ์มีหลายส่วนที่ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าคล้ายกับการขอยื่นกู้บ้านใหม่อีกรอบ อาทิ เอกสารส่วนบุคคล, เอกสารทางการเงิน และเอกสารหลักประกัน ซึ่งก็คือตัวบ้านที่กำลังผ่อนอยู่ เพื่อนำมาใช้ค้ำประกัน
ยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ เมื่อยื่นเอกสารเพื่อขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์แล้ว ทางธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติเจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้ติดต่อธนาคารเดิม เพื่อสอบถามยอดหนี้คงเหลือและนัดวันไถ่ถอน
ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่จากธนาคารใหม่จะถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดิน พร้อมๆ กับการไปทำสัญญาจำนองที่กรมที่ดินในวันเดียวกัน
ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย
เมื่อเลือกธนาคารได้แล้วให้ลองนำไปคำนวณหักลบกับเงินที่ประหยัดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ และส่วนมากค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะน้อยกว่าการซื้อบ้าน-คอนโดใหม่ โดยปกติแล้วมีค่าใช้จ่ายดังนี้
ค่าประเมินราคา (อาจมีค่าใช้จ่าย หรือไม่มี ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่น) |
ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้ |
ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน(ไม่เกิน 10,000 บาท) |
ประกันอัคคีภัย (โดยปกติต้องทำทุก 1-3 ปี ตามกฎหมาย) |
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร |
สุดท้ายนี้ Livinginsider หวังว่าบทความนี้น่าจะเป็นแนวทางให้กับผู้อ่านหลายๆ ท่านที่กำลังจะรีไฟแนนซ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย มาทำการรีไฟแนนซ์ผ่อนกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยถูกกว่าได้เหมือนกัน นอกจากจะทำให้ผ่อนบ้านได้หมดไวแล้วยังมีเงินเหลือเอาไปต่อยอดในการลงทุนได้อีกด้วย
รีวิวอ่านง่าย รูปภาพสวยครับ
คือชอบมาก มีให้อ่านหลากหลายมาก
ขอบคุณมากค่ะ ที่เขียนบทความดีๆนี้ให้อ่านน่ะคะ
อ่านสนุก เป็นประโยชน์มากครับ