Favorite
บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์เพียงพื้นฐาน จะทราบว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์/ความต้องการมวลรวมมากเกินไป หรือ อาจกล่าวเป็นภาษาชาวบ้านว่าเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป อาการเศรษฐกิจที่ว่านี้ต้องแก้ไขด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียว
แต่ว่า ภาวะเงินเฟ้อไม่ได้เกิดจากอุปสงค์มวลรวมมากเกินไปเสมอไป การปรับขึ้นราคาน้ำมันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในทศวรรษที่ 1970 ก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้มากมายมาแล้ว ตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นต้นมา ประเทศกลุ่มนาโตคว่ำบาตรรัสเซียด้วยการไม่ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย การจัดหาน้ำมันของกลุ่มประเทศเหล่านั้นจึงไม่มีทางอื่นนอกจากการซื้อน้ำมันจากประเทศนอกรัสเซียมากขึ้น
ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศนอกรัสเซียเท่าเดิม แถมยังลดกำลังผลิตในช่วงหลังด้วย ราคาน้ำมันจึงพุ่งสูงอย่างรุนแรงด้วยปริมาณความต้องการมากกว่าปริมาณที่มีขายอยู่พร้อม ๆ กับการเก็งกำไรของตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่จริงแล้ว ประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีการลดการผลิตน้ำมันตั้งแต่ปี 2021 แล้วและทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตลอดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในบทความนี้จะดูผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อในประเทศตัวอย่าง 4 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย รูปกราฟที่แสดงอัตราเงินเฟ้อในไทยและสหรัฐอเมริกาขึ้นถึงจุดสูงสุดประมาณกลางปี 2022 และเริ่มลดลงมาตามราคาน้ำมันหลังจากนั้น จีนเป็นกรณีที่อัตราเงินเฟ้อลดลงมาแล้วสูงขึ้นไปอีก ส่วนออสเตรเลียยังไม่มีจุดสูงสุด
เมื่อดูรูปกราฟที่แสดงอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส (แต่คำนวณอัตราเป็นรายปี) จะพบว่าอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยค่อย ๆ สูงขึ้นตั้งแต่การเปิดประเทศในไตรมาส 4 ปี 2021 ที่เริ่มต้นด้วยภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์จนกระทั่งเปิดเต็มที่ในปีนี้ เมื่อไปดูรูปกราฟที่แสดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
จะพบว่าธนาคารกลางเริ่มปรับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 และปรับสูงทั้งหมดเพียง 0.75 หน่วย% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเปิดประเทศ/ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็น dominating of factor ของเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมันอาจสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นไม่มากและมาช้าด้วยจึงอาจจะไม่ส่งผลกระทบหรือยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เมื่อดูกราฟแสดงอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟุบด้วยภาวะโควิดในปี 2020 แต่เด้งกลับขึ้นในปี 2021 เกินกว่าที่เสียไป หลังจากนั้นเศรษฐกิจทยอยขยายตัวลดลงด้วยอัตราที่ต่ำลงเรื่อย ๆ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2021 ปัจจัยสำคัญสำหรับสหรัฐอเมริกาที่ควรกล่าวถึงคือ ระดับการขาดดุลทางการคลังสำหรับปีงบประมาณ 2022 (Oct 2021-Sep 2022) มีระดับเพียง 1/3 ของการขาดดุลของ 2 ปีงบประมาณก่อนหน้านี้
เมื่อสรุปโดยรวมแล้ว dominating of factor ต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นการขาดดุลที่ลดลง หรือ ราคาน้ำมัน หรือ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วกว่าและมากกว่าประเทศอื่น ๆ คือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 และปรับทั้งหมด 3.5 หน่วย% หรือ ทั้งหมดรวม ๆ กันและแยกไม่ออกว่าอย่างไหนมากกว่ากัน
เมื่อดูองค์ประกอบของจีดีพีจะพบว่าการบริโภคภาคเอกชนลดลงในไตรมาส 2-3 ประมาณ 1-2% แต่การบริโภคมีสัดส่วนถึง 70%ของจีดีพีจึงส่งผลกระทบมาก แต่ว่าการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากที่สุดถึง 10% หรือกว่านั้นแม้ว่าจะมีสัดส่วนเพียง 20% โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ราคาน้ำมันและความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจีดีพีโดยรวม
กรณีของจีนเห็นได้ชัดว่าจีดีพีได้รับผลกระทบหลักจากการล็อกาวน์ที่ทำให้การผลิตทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ไม่ได้ส่งผลอะไรที่ชัดเจนแม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ต่ำลงแต่ก็ไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจแต่อย่างใด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีขนาดเพียง 0.20 หน่วย% เท่านั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นด้วยราคาน้ำมันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่อย่างใด
เศรษฐกิจออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากโควิดในปี 2020 และฟื้นกลับมาในปี 2021 ด้วยอัตราการขยายตัวที่สูงพร้อม ๆ กับความต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าธุรกิจที่อยู่อาศัยเริ่มได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปี 2022 และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022
แต่ก็มีการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางในระดับสูงที่ช่วยชดเชยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับ 3-4% และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปีที่ 3+% การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเท่าที่ควรจะเป็นเลย
กรณีศึกษาของประเทศตัวอย่าง 4 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา จีน และ ออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้สัมพันธ์กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงเสมอไป ในกรณีศึกษาทั้งหมดนี้ ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจึงไม่ได้ช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ
ในกรณีของสหรัฐอเมริกาการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและรุนแรงดูเหมือนจะชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่มาคู่กับอนาคตทางเศรษฐกิจที่ผันผวน นำไปสู่ความชะงักงันของการบริโภคและการลงทุนมากกว่า
ในขณะที่ประเทศที่เหลือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินไปตามปัจจัยเฉพาะ หรือ dominating factor ของแต่ละประเทศเช่น ไทยและออสเตรเลีย ส่วนกรณีของจีนนั้น จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจชะลอลงจากการล็อกดาวน์เป็นสำคัญ อัตราการว่างงานค่อนข้างแปรผกผันกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยกเว้นในช่วงที่อัตราการว่างงานต่ำมากอย่างในไทย สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ที่อัตราการว่างงานลดลงไม่ได้อีก
กล่าวโดยสรุปคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ ในกรณีที่มี dominating factor อื่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่รวดเร็วและรุนแรงเป็นการลดอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านความตกใจและความไม่มั่นใจต่ออนาคตของเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นไปตามกลไลของอัตราดอกเบี้ยตามปกติ แต่นั่นเป็นการกระทำที่สิ้นคิดโดยไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะระดับล่างเลย
แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะใช้ไม่ได้ในบางกรณี บางครั้งก็จำเป็นต้องทำบ้างพอเป็นพิธี มิฉะนั้นนักค้าเงินระหว่างประเทศที่ไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งทางเศรษฐศาสตร์อาจโจมตีหรือเทขายเงินสกุลนั้นด้วยทัศนคติผิด ๆ ที่ว่า ใคร ๆ ก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยุคภาวะเงินเฟ้อด้วยกันทั้งนั้น
เอสบีฯ เปิดตัว “Pet Lovers Corner” โซนเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านตอบโจทย์คนรักสัตว์เลี้ยง
yesterday
“สโคป หลังสวน” สร้างสถิติใหม่ ราคาปล่อยเช่าต่อตารางเมตรสูงที่สุดในกรุงเทพฯ 2,500 บาท/ตร.ม. ชูจุดเด่นคอนโด Freehold ที่หายากในทำเลหลังสวน
yesterday
คอนโดโครงการใหม่ 2567 บนทำเลศักยภาพ มีที่ไหนบ้าง?
yesterday
“มาร์ควิส พญาไท” กระแสดีเกินคาด เหตุอยู่บนทำเลศักยภาพ หนุนยอดจองรอบพิเศษเป็นที่น่าพอใจ
yesterday
Honour Group เปิดตัว “Once Wongamat” คอนโดหรูทำเลพัทยา พร้อมวิวทะเลแบบพาโนรามา เริ่ม 5.9 ลบ. เจาะกลุ่มไฮเอนด์ที่มองหาที่พักในเมืองตากอากาศ
yesterday
เขียนรีวิวได้ใจมากครับ
เขียนรีวิวน่าอ่าน เทคนิคการเขียนดีค่ะ
รู้ไว้ไม่เสียหาย
ดีค่ะ เขียนดี
ข้อมูลดีมาก ระเอียดมากครับ
เยี่ยมมากๆ ครับ น่าสนใจ FC เลยครับ