Favorite
ขึ้นชื่อว่า นายหน้า เป็นหนึ่งในอาชีพที่รันทุกวงการขนานแท้ ไม่ว่าจะเป็น แวดวงประกัน วงการรถ แฟชั่น หรือแม้แต่ในวงการอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถ้าเราจับจุดถูกก็จะสามารถสร้างรายได้แบบที่หลายๆ คนน่าจะรู้อยู่แล้วว่าอาจได้กันถึง 6 หลักเลยทีเดียว ยิ่งโดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูงมากขึ้นเท่าไหร่ อย่างบ้านหรือคอนโดด้วยแล้วล่ะก็ การเป็น นายหน้าอสังหา จะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น
จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เริ่มมีจำนวนคนที่สนใจอยากเป็นนายหน้าอสังหาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีการทำอาชีพนี้มีดีเทลและความซับซ้อนมากกว่าที่คิด ดังนั้นเข็มทิศของเรื่องราวในครั้งนี้ที่จะนำไปสู่การเป็นนายหน้าอสังหาแบบมืออาชีพ ต้องรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นกันก่อนเลย
ยินดีที่ได้รู้จักของการเป็นนายหน้าอสังหา
นายหน้าอสังหา หรือเรียกง่ายๆ ว่าเอเจนท์ หรือแม้แต่ โบรกเกอร์ ก็มีมาให้ได้ยินอยู่บ้าง ซึ่งทุกคำล้วนมีความหมายเดียวกันคือ การเป็นสื่อกลางในการพูดคุยระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่สนใจอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะบ้านหรือคอนโด ไม่ว่าจะซื้อหรือเช่าก็ตาม โดยจะได้ค่าตอบแทน ต่อเมื่อมีการปิดดีลเรียบร้อย และทั้งสองฝ่ายต่างโอเคกับผลลัพธ์ที่ได้
โดยนายหน้าอสังหาจะมี 2 แบบหลักๆ คือ
1. นายหน้าอสังหาในแบบผู้ขาย ก็ตรงตัวเลยคือการประกาศปล่อยเช่า-ขายบ้านหรือคอนโด ผ่านแพลตฟอร์มและโซลเชียลต่างๆ ซึ่งหากมีผู้สนใจจะต้องทำการนัดหมายและเป็นตัวแทนในการพาไปดูบ้าน รวมถึงเป็นธุระในการจัดการดูแลส่วนอื่นๆ ธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาย
2. นายหน้าอสังหาในแบบผู้ซื้อ อันนี้คือการคัดเลือกหรือค้นหาที่อยู่อาศัย ที่ลูกค้าต้องการมานำเสนอว่ามีที่ไหนบ้าง และคอยให้คำปรึกษาเพื่อให้ได้สิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด นอกจากนั้นก็จะคล้ายกับนายหน้าอสังหาแบบผู้ขายแต่ทำในลักษณะผู้ซื้อ
ของ (ดี) ที่ต้องมีติดตัวในการเป็นนายหน้าอสังหา
1. รู้จักทรัพย์สินที่จะขาย หากเราอยากจะลงไปคลุกคลีกับวงการอะไรก็ตาม เราต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ให้คล่องแคล่วเสียก่อน ดูว่า Developer มีเจ้าไหนบ้าง และแต่ละเจ้าเด่นในเรื่องอะไรบางแบรนด์ทำบ้านดี อีกแบรนด์ทำคอนโดออกมาถูกใจคนรุ่นใหม่ เป็นต้น
และที่อยู่อาศัยเหล่านี้จะมีการแบ่ง Segment ระดับราคาชัดเจน อีกทั้งเรื่องของทำเล ก็ต้องทำความรู้จัก ว่าแต่ละทำเลนั้นมีอะไรเจ๋งๆ บ้าง และราคาเท่าไหร่ ซึ่งการเป็นนายหน้าอสังหา จะต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ให้ละเอียด เพื่อที่จะได้มีโอกาสขยายฐานลูกค้าได้หลากหลายเลเวล
2. จัดเก็บข้อมูลเข้าพอร์ต คราวนี้ก็ถึงเวลาลงมือจับจ่ายหาของเข้าพอร์ต หรือเรียกว่า Listing (ลิสติ้ง) หมายถึงว่า การค้นหาอสังหาเช่า-ซื้อที่เจ้าของขายเองโดยตรงยังไม่มีนายหน้า เพื่อขอเป็นเอเจนท์ในการเข้ามาจัดการทรัพย์สินนั้นๆ ซึ่งแนะนำให้เลือกที่อยู่ในทำเลเดียวกันหรือใกล้เคียงและเป็นโซนที่เราถนัด
พอทยอยรวบรวมมาได้จำนวนหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้เรามีของมากพอ ในการมองเห็นว่าย่านนั้นมีโครงการอะไร ขนาดห้องเท่าไหร่ และราคาเป็นยังไง ที่นอกจากจะนำไปประกาศขายแล้ว ยังเป็นการเสนอขายให้กับผู้ที่สนใจ ซึ่งยิ่งเรามีตัวเลือกให้ลูกค้าเยอะก็ยิ่งเพิ่มโอกาสในการขายได้มากยิ่งขึ้น
3. เข้าใจตลาด&ทำการตลาดให้ดูเซียน ในแต่ละโลเคชั่นจะมีเรทราคากลางต่อการซื้อ ขาย เช่า ซึ่งการปล่อยให้ผู้ขายตั้งราคาตามใจ ที่อาจเกินความเป็นจริงไปนิดย่อมไม่เป็นผลดี นายหน้าอสังหาอย่างเรา จึงต้องรู้ว่าในทำเลนั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วเค้าปล่อยเช่าหรือขายกันที่เท่าไหร่ เพื่อจะได้เจรจาต่อรองกับลูกค้าให้ปรับเปลี่ยนราคาใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการพูดคุยก็เป็นหนึ่งในสกิลที่นายหน้าอย่างเราควรมี
แต่นอกเหนือจากนั้นเราก็ต้องมีเครื่องมือเตรียมอาวุธให้ครบรอบด้าน อย่างการทำตลาดช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บประกาศชื่อดังต่างๆ หรือการไปลงขายตามกลุ่มใน facebook ที่เกี่ยวข้องกับอสังหา แม้แต่การทำ line official เป็นของตัวเอง รวมถึงการสร้างเพจ ยิง ads หาลูกค้า เป็นต้น รวมไปถึงการทำออฟไลน์ การทำป้ายติดประกาศในพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงก็ไม่ควรละเลย ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้จบการขายได้ง่ายและรวดเร็ว
4. สัญญาทั้งหลายที่ต้องร่างเองด้วยปลายนิ้ว
การทำสัญญาสำหรับนายหน้าอสังหา จะมีอยู่ 2 แบบ ทั้งสัญญาแบบปิด ที่ให้เราเป็นคนจัดการเพียงผู้เดียว แต่จะมีการกำหนดเวลาซึ่งหากขายไม่ได้ตามระยะเวลาที่ตกลง ลูกค้าเราถึงจะสามารถหานายหน้าคนใหม่ได้ ส่วนสัญญาแบบเปิด คือ เจ้าของทรัพย์สินจะมีนายหน้าอสังหากี่คนก็ได้ในการขาย ซึ่งใครขายได้ก็จะได้ค่าตอบแทนไป และมักจะไม่มีการกำหนดเวลาจนกว่าจะมีการปิดการขายได้นั่นเอง
อีกหนึ่งสัญญาที่นายหน้าอสังหาต้องทำคือ เอกสารสัญญาการปล่อยเช่าและการซื้อขาย ซึ่งการปล่อยเช่าจะมีเอกสารที่ยุ่งยากกว่า เพราะต้องร่างให้รัดกุมเพื่อไม่ให้ทรัพย์สินของลูกค้าเราเสียหาย โดยสัญญาทั้งเช่าและขายสามารถค้นหาจากในอินเทอร์เน็ต เพื่อดูเป็นแนวทางได้
5. สินเชื่อ&กฎหมาย ค่อยๆ สะสมหาความรู้
หากนายหน้าอสังหาคนไหน สามารถตอบคำถามในเรื่องของสินเชื่อได้ พร้อมกับให้คำแนะนำในการเลือกสินเชื่อ จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์ในการปิดดีลให้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” หรือ ป.พ.พ. บรรพ 3 เอกเทศสัญญาลักษณะ 16 นายหน้า มาตรา 845-849 ซึ่งคลิกอ่านได้ที่ลิงก์นี้เลย >>> https://bit.ly/3D6KsUy
หากอ่านมาถึงจุดๆ นี้ได้แล้วนั้น ก็เชื่อว่าน่าจะไม่ยากเกินความสามารถ ของคนที่อยากเป็นนายหน้าอสังหาแน่นอน ซึ่งใครที่มีงานหลัก แต่จะลองฝึกลองทำเป็นอาชีพเสริมก่อนก็ไม่เสียหาย หรือใครกำลังหาแพชชั่นใหม่ๆ อยากทำแบบจริงจังไปให้สุด ก็ดูเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและน่าสนใจไม่แพ้อาชีพอื่นๆ เลยทีเดียว
คอนโดที่มีราคาขายมากกว่า 250,000 บาท/ตารางเมตร ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนทำเลไหนบ้าง?
2024-05-13
รู้หรือไม่ ! กว่าจะมาทำธุรกิจอสังหาฯ 6 แบรนด์อสังหาฯ เหล่านี้ เคยทำธุรกิจอะไรกันมาบ้าง
2023-02-20
แชร์วิธีออกแบบบ้านตอบโจทย์คนทุกวัย รองรับครอบครัวที่มีสมาชิกหลากหลาย Gen
2024-10-29
ทริคจ่ายค่าเบี้ยประกัน ให้ทันกำหนดครบทุกบาท
2020-10-30
ทำไมพื้นที่ EEC ถึงน่าจับตามองสำหรับนักลงทุน
2020-04-14
ขอบคุณบทความดีๆค่ะ
อ่านง่ายดีค่ะ
ข้อมูลละเอียดดี บางอย่างก็น่าสนใจดีคัฟ
เนื้อหาน่าสนใจ เข้ามาให้คะแนนเปนกำลังใจให้ทีมงานล่ะกันคัฟ
ชอบๆ มีสาระประโยชน์มากค่ะ