Favorite
ในวันที่สังคมยอมรับความหลากหลายอย่างเข้าใจ อะไรหลายอย่างก็ถูกคิดถูกผลิตขึ้นมาส่งเสริมความเท่าเทียม อย่างการกู้ซื้อบ้านร่วมกันของชาว LGBTQ+ ที่เมื่อก่อนยังไม่สามารถทำได้
ต่างจากทุกวันนี้ ที่หลายธนาคารปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับคู่รัก LGBTQ+ ได้ซื้อบ้านร่วมกัน ทั้งยังมีโปรโมชัน และสิทธิพิเศษที่น่าสนใจมามอบให้กับลูกค้าด้วย ซึ่ง Living Insider จะพาไปดูสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ LGBTQ+ กันค่ะ
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนขอสินเชื่อ
คู่รัก LGBTQ+ ที่กำลังจะซื้อบ้านด้วยกัน ก่อนอื่นต้องเช็กว่ามีธนาคารใดบ้างที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับ LGBTQ+
จากนั้นก็ดูนโยบาย เงื่อนไข รวมถึงเอกสารหลักฐานที่แต่ละธนาคารกำหนด โดยเฉพาะหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ของผู้กู้ร่วม เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมก่อนดำเนินการ
รวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ LGBTQ+
มาคู่ ก็กู้ร่วมได้ กับ SCB
คู่รัก LGBTQ+ ที่กำลังวางแผนชีวิตคู่ซื้อบ้านอยู่ด้วยกัน ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นหนึ่งในธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อให้กับคู่รัก LGBTQ+
โดยผู้กู้ไม่ต้องเปิดบัญชีร่วมกัน ไม่ต้องเซ็นรับรองการอยู่ร่วมกัน ไม่ต้องแสดงเอกสารการกู้ซื้อทรัพย์สินอื่นร่วมกัน แค่มีสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านพื่อยืนยันตัวตน เอกสารยืนยันรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือน และ Statement ย้อนหลัง 6 เดือน
ขณะที่รายได้ต้องไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/เดือน และสามารถกู้ได้สูงสุด 100% ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและความมั่นคงทางการเงินของผู้กู้
สินเชื่อบ้าน “คู่เพื่อน” ธนาคารกรุงศรีฯ
สินเชื่อบ้าน “คู่เพื่อน” ของธนาคารกรุงศรีฯ จะพิจารณาจากรายได้ ความสามารถในการผ่อนชำระ เครดิตของผู้กู้ทั้งสองคน รวมถึงการตรวจสอบความสัมพันธ์
โดยจะต้องมีคุณสมบัติเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย ที่มีอายุ 27–65 ปี สำหรับพนักงานประจำ ต้องมีอายุงานรวมที่ทำงานเดิมและปัจจุบันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป (งานปัจจุบันต้องผ่านการทดลองงานแล้ว) แต่ถ้าทำธุรกิจส่วนตัว ผู้กู้จะต้องประกอบธุรกิจมาแล้วตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป
ซึ่งผู้กู้หลักต้องมีรายได้ 30,000 บาท/เดือนขึ้นไป และเมื่อรวมกับผู้กู้ร่วมแล้วจะต้องไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/เดือน
สำหรับเอกสารหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์ หรือการอยู่ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างน้อย 1 ปี เช่น ทะเบียนบ้านที่อยู่ด้วยกัน, บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน เป็นต้น
ซึ่งสินเชื่อบ้าน “คู่เพื่อน” กรุงศรีฯ สามารถใช้ได้ทั้งบ้านมือหนึ่งจากทุกโครงการอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือสอง รวมถึงการรีไฟแนนซ์ แต่มีเงื่อนไขว่าราคาซื้อขายหลังหักส่วนลดทั้งหมดแล้ว จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ขณะที่อัตราดอกเบี้ย ใช้ตามกลุ่มต่าง ๆ ที่ประกาศของธนาคารเลย
สินเชื่อบ้านสำหรับ LGBTQ+ จาก ttb
การขอสินเชื่อบ้านสำหรับ LGBTQ+ ของธนาคารทหารไทยธนชาติ ถ้าเป็นพนักงานประจำ ผู้กู้หลักต้องผ่านเกณฑ์อนุมัติ และมีรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป โดยมีฐานเงินเดือนประจำตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป
แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการ รายได้ต่อเดือนต้องเริ่มต้นที่ 50,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่นับรวมรายได้ผู้กู้ร่วม และต้องถือกรรมสิทธิร่วมกันทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทุกกรณี
ส่วนหลักฐานยืนยันความสัมพันธ์เพิ่มเติม เช่น รูปภาพที่ถ่ายคู่กัน หรือเอกสารยืนยันว่าอาศัยอยู่ร่วมกันจริง อย่างทะเบียนบ้านที่มีชื่อทั้งสองคน หรือเอกสารกู้ซื้อทรัพย์สินร่วมกัน เช่น รถยนต์ หรือเอกสารการทำธุรกิจร่วมกัน
โดยคู่รัก LGBTQ+ สามารถขอสินเชื่อได้ทั้งบ้านใหม่ และบ้านมือสอง รวมถึงการรีไฟแนนซ์
“มาคู่ กู้ง่าย” กับ CIMB
ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อบ้านให้กับคู่รัก LGBTQ+ และให้ถือกรรมสิทธิ์ในหลักประกันร่วมกัน ซึ่งเงื่อนไข คุณสมบัติ ก็ไม่ได้ต่างจากการกู้คนเดียว หรือกู้ร่วมทั่วไป คือมีสัญชาติไทย และต้องอยู่อาศัยในประเทศไทยเท่านั้น
ถ้าพนักงานประจำ ข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ต้องมีอายุ 21–62 ปี อายุงานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน แต่ถ้าเป็นพนักงานสัญญาจ้างของหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อายุงานต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี และรายได้ของผู้กู้ทั้งสองคนต่อเดือนอยู่ที่ 30,000 บาทขึ้นไป
ส่วนคนที่ทำธุรกิจส่วนตัวต้องมีอายุ 25–62 ปี ทำกิจการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี ต้องจดทะเบียนการค้า หรือมีหลักฐานการประกอบธุรกิจที่ออกโดยหน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งรายได้ของทั้งผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมต่อเดือนต้องไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท
นอกจากนี้ ผู้กู้จะต้องมีประวัติการใช้สินเชื่อมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี โดยสามารถขอสินเชื่อซื้อบ้านมือหนึ่ง บ้านมือสอง การรีไฟแนนซ์บ้าน หรือขอสินเชื่อบ้านอเนกประสงค์ร่วมกันก็ได้
ด้วยสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับความแตกต่างมากขึ้นอย่างในทุกวันนี้ ทำให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายราย ทำความร่วมมือกับธนาคารต่าง ๆ ในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับคู่รัก LGBTQ+ เช่นกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าคู่รักเพศไหน ก็สามารถซื้อบ้านร่วมกันได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาจากการ “กู้ร่วม” คิดให้ดีก่อนเป็นหนี้ร่วมกัน
ข้อดีของการรีเทนชั่น (Retention) ง่ายสะดวกแถมรวดเร็ว ไม่ต้องทำเรื่องขอใหม่ให้ยุ่งยาก
กลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับ กับเทคนิคโปะบ้านและคอนโด ที่ทุกคนสามารถทำได้
รู้ไหมว่า ! ติด Blacklist ก็สามารถกู้ซื้อบ้านและคอนโดได้
3 เรื่องการเงิน ยิ่งเก็ง ยิ่งเจ็บ
2019-12-03
แต่ละ GEN เค้าเลือกลงทุนอสังหาฯ ยังไง?
2020-04-17
จำนองคืออะไร ต้องรู้อะไรบ้าง ? มาดูกัน!
2020-04-15
แชร์วิธีเก็บเสียงห้องคอนโด ทำคอนเทนต์-ไลฟ์สดได้ ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน
2024-05-10
ตัวอย่าง บริษัทอสังหาฯ ชื่อดัง มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัทอื่น
2023-02-13
ขอบคุณที่คอยหาบทความที่มีประโยชน์มาให้ค่ะ
อ่านแล้ว สัมผัสได้เลยว่าตั้งใจเขียน เยี่ยมค่ะ
บทความดีๆ ก็ที่นี่หล่ะนะ
ห้องดูกว่างมากเลยโครงการนี้
โดยรวมดีนะคะ
ดีค่ะ มีแต่เรื่องน่าสนใจ