Favorite
สำหรับใครที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้า อย่าเพิ่งเลื่อนผ่านบทความนี้ เราหยิบรวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านมาฝาก ควรเลือกหัวชาร์จแบบไหน และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เลื่อนอ่านคำตอบในหัวข้อถัดไปกันเลย
หลายคนอาจมีข้อสงสัยที่ว่า ‘ทำไมต้องติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน’ เพราะอย่างไรก็มีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าคอยให้บริการ ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใช้งานเป็นหลัก หากพบว่าแบตเตอรี่ใกล้หมด ก็สามารถหยิบชาร์จได้ทันที ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานีต่างๆ แต่ก่อนติดตั้งมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้ ดังนี้
โดยทั่วไปบ้านจะใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) แต่ถ้าจะติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นขนาด 30(100) เพื่อรองรับการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าปกติ
มาตรฐานของสายเมนไฟฟ้าที่ใช้ในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องเป็นขนาด 25 ตร.มม. ขึ้นไปเท่านั้น โดยทั่วไปบ้านจะใช้ขนาดสายเมนไฟฟ้าอยู่ที่ 16 ตร.มม. ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เพราะตู้เบรกเกอร์ออกแบบมาเพื่อป้องกันในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร สามารถติดตั้งตู้เบรกเกอร์แยกเฉพาะที่ชาร์จรถไฟฟ้าได้เลย
อย่าลืมตรวจเช็กอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วทุกครั้งก่อนเริ่มติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ในกรณีที่สายชาร์จไม่มีระบบป้องกันไฟรั่วต้องติดตั้งทันที เพื่อเพิ่มการตรวจจับและตัดวงจรไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
ตำแหน่งการติดตั้งที่ดีที่สุด ควรอยู่ในที่ร่ม ไม่แนะนำให้ติดตั้งกลางแดด กลางฝน และเลือกจุดที่ใกล้กับตู้เมนไฟฟ้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ ที่สำคัญระยะจุดเสียบที่ชาร์จของรถกับจุดที่ติดตั้งเครื่องชาร์จห้ามเกิน 5 เมตร
หัวชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านต้องเลือกแบบ Double Speed Charge เหมาะกับไฟฟ้าที่บ้าน เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ใช้เวลาในการชาร์จแต่ละครั้งโดยประมาณ 4-5 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ที่เลือกใช้
ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ประกอบไปด้วย ค่าเครื่องชาร์จ ประมาณ 15,000-100,000 บาท ค่ามิเตอร์ไฟฟ้าในกรณีขอติดตั้งเพิ่ม ประมาณ 700-2,500 บาท และค่าเดินสายไฟ ค่าวางระบบไฟ รวมทั้งค่าติดตั้งอุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ อีกประมาณ 10,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้เป็นการคำนวณจากราคามาตรฐานเท่านั้น แนะนำให้ศึกษาข้อมูลอุปกรณ์รถแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อก่อนติดตั้ง
หลังจากเลื่อนอ่านมาจนถึงบทสรุป คงมีไม่น้อยที่ก่อนหน้านี้อาจกำลังลังเลว่าจะติดตั้งที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านดีหรือไม่ เราเชื่อว่าคงได้รับคำตอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะวิธีในการติดตั้งไม่ยากอย่างที่คิด โดยเฉพาะสำหรับใครที่เป็นเจ้าของบ้านเดี่ยว ยิ่งสะดวกต่อการติดตั้ง แถมยังสะดวกต่อการใช้งานอีกด้วย บนแฟลตฟอร์มเว็บไซต์ Livinginsider ยังมีที่พักอาศัยอีกมากมายที่รองรับผู้ที่เป็นเจ้าของรถไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเอง สามารถค้นหาที่นี่ได้เลย
ส่องธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย
2024-10-06
ภาพรวมการโอนที่อยู่อาศัย แต่ละช่วงระดับราคา ไตรมาส1 ในปี 2566
2023-07-01
เตรียมพร้อมระบบไฟฟ้าในบ้าน รับมือน้ำท่วม
2024-09-06
ตัวอย่าง บริษัทอสังหาฯชั้นนำ ขายบิ๊กล็อตคอนโด
2024-08-06
เทคนิคเปิดแอร์หน้าฝนให้ประหยัดไฟและเย็นสบายตัว
2024-09-13
อ่านเยอะเกินไป อยากได้ไปหมดทุกที่เลย
นักเขียนมืออาชีพ งานคุณภาพและมีประโยชน์มากค่ะ
อ่านยังไงให้เสียตังงงงงงงง เขียนแบบนี้ต้องเสียตังแน่ๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
ได้รับความรู้เยอะเลย
รีวิวได้ชวนซื้อมากๆครับ ฮ่าๆ