Knowledge
icon share

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

Namwhan 2024-10-25 17:15:55
หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

เวลาที่เราเดินอยู่ตามทาง มีใครเคยสังเกตเห็นวัตถุบางอย่างที่มีลักษณะเหมือนฝากลม ๆ อยู่ติดกับพื้นบ้างไหมคะ หากเคยเห็นแล้วสงสัยกันไหมว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมจึงถูกฝังไว้ที่พื้น แล้วใครเป็นคนทำ อันดับแรกขอเฉลยก่อนว่าสิ่งนั้นคือ “หลักหมุดที่ดิน” ที่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเกี่ยวกับที่ดิน ส่วนจะมีความสำคัญอย่างไรนั้น Living Insider จะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน

หลักหมุดที่ดิน หรือ หลักเขตที่ดิน เป็นสิ่งที่บอกให้รู้ว่าแนวเขตที่ดินตามโฉนดแปลงนั้นอยู่ตรงไหน โดยลักษณะของหลักหมุดจะเป็นแท่งคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร ด้านบนมีการระบุหมายเลขที่ดิน หมายเลขประจำหลักเขต และชื่อจังหวัด ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ที่มาทำไว้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลักหมุดที่ดินมีความสำคัญอย่างมาก เพราะถือเป็นการป้องกันไม่ให้เราเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตัวเองได้ ในกรณีที่มีคนมาแอบอ้างเป็นเจ้าของที่ หรือมาทำประโยชน์ในที่ดินของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

หลักหมุดที่ดินหายต้องทำยังไง

ใครที่เจอปัญหาหลักหมุดที่ดินหาย หรือหลักหมุดของเราไม่ตรงกับแนวเขตในโฉนดก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถไปติดต่อสำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการรังวัดตรวจสอบแนวเขตโฉนดที่ดินให้ใหม่ได้ โดยเอกสารหลักฐานที่จะต้องนำไปด้วยก็คือ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และถ้าเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อนก็ให้นำหลักฐานไปด้วย

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

ให้เจ้าหน้าที่มารังวัดที่ดินต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ด้วยความที่การลงหลักหมุดจะต้องทำการรังวัดที่ดิน เพื่อตรวจสอบแนวเขตตามโฉนด ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 และ 48 ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

 

1. ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินอยู่ที่แปลงละ 40 บาท 

 

2. ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงละ 30 บาท

 

3. ค่าหลักเขตที่ดินหลักละ 15 บาท 

 

4. ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ คิดแปลงละ 50 บาท แต่ถ้าที่ดินมีเนื้อที่เกิน 20 ไร่ จะคิดค่าธรรมเนียมส่วนที่เกินไร่ละ 2 บาท

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรังวัดที่ดินซึ่งเป็นลักษณะเหมาจ่าย ได้แก่ ค่าป่วยการเจ้าหน้าที่ไม่เกินที่กฎกระทรวงกำหนด ค่าเดินทางของเจ้าหน้าที่และคนงานรังวัด วันละไม่เกิน 1,600 บาท ค่าคนงานรังวัด 420 บาท/คน/วัน (ตามเขตจังหวัดที่กระทรวงการคลังกำหนด) รวมถึงค่าส่งหมายข้างเคียงทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือค่าส่งหนังสือทางไปรษณีย์ไปยังเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขต จำนวน 200 บาท     

 

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดวันทำการและค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าป่วยการกับค่าเดินทางของเจ้าหน้าที่และคนงานรังวัดตามขนาดของที่ดิน ดังนี้

 

1. ที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ จะกำหนดเวลาทำการ 1 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 3,480 บาท 

 

2. ที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ จะกำหนดเวลาทำการ 2 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 6,760 บาท 

 

3. ที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 30 ไร่ จะกำหนดเวลาทำการ 3 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 10,040 บาท 

 

4. ที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ จะกำหนดเวลาทำการ 4 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 13,320 บาท 
 

สำหรับการรังวัดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ถ้าที่ดินนั้นมีเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ จะใช้เวลาทำการ 1 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 2,640 บาท ส่วนที่ดินที่มีเนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ จะใช้เวลาทำการ 2 วัน และเรียกค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 5,080 บาท

หลักหมุดที่ดินสำคัญแค่ไหน ถ้าถูกเคลื่อนย้ายต้องทำยังไง?

 

จะเห็นได้ว่าหลักหมุดที่ดินมีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราไม่เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินของตัวเอง และป้องกันคนมาแอบอ้างเป็นเจ้าของที่ หรือมาทำประโยชน์ในที่ดินของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นหากพบว่าหลักหมุดถูกเคลื่อนย้าย หรือไม่ตรงตามแนวเขตในโฉนด ต้องให้เจ้าหน้าที่มาทำการรังวัดใหม่และลงหลัดหมุดให้ถูกต้อง

 

ที่มา เว็บไซต์กรมที่ดิน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร ซื้อขายได้ไหม สามารถทำอะไรได้บ้าง

บ้าน-ที่ดินมรดก ตกทอดถึงใครบ้าง? และต้องเสียภาษีหรือไม่

โฉนดที่ดินคืออะไร มีกี่ประเภท สรุปครบที่นี่

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider