![Favorite](https://www.livinginsider.com/assets18/images/icon/mobile-more/fav2.png)
Favorite
เมื่อถึงวันวาเลนไทน์ คู่รักหลายคู่มักใช้โอกาสนี้จดทะเบียนสมรส เพื่อเริ่มต้นชีวิตคู่ไปด้วยกันอย่างเป็นทางการ แต่การแต่งงานไม่ได้มีแค่เรื่องของการใช้ชีวิตร่วมกันเท่านั้น เรื่องทรัพย์สินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคิดให้รอบคอบ โดยเฉพาะ บ้าน ที่หลายคนเข้าใจว่า ถ้าได้มาหลังแต่งงานจะถือเป็น สินสมรส โดยอัตโนมัติ แต่จริง ๆ แล้ว บ้านไม่ได้เป็นสินสมรสเสมอไป ซึ่งวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า บ้านแบบไหนถือเป็นสินสมรส และแบบไหนไม่ใช่ เพื่อให้เข้าใจและวางแผนได้อย่างถูกต้อง
สินสมรส vs สินส่วนตัว ต่างกันยังไง?
สินสมรส คือทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากจดทะเบียนกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส ทรัพย์สินที่ซื้อร่วมกัน หรือแม้แต่เงินที่ได้จากการลงทุน ส่วนกรณีของการซื้อและผ่อนบ้านร่วมกัน หลายคนอาจกังวลว่า หากบ้านเป็นชื่อของคนใดคนหนึ่ง แล้วต่อมามีเหตุให้ต้องหย่าร้างกัน จะมีปัญหาตามมา ในทางกฎหมาย ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ในบ้านหลังนั้นเช่นเดียวกัน เพียงแต่การแบ่งสัดส่วนจะเท่ากันก็ไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทั้งคู่ หรือหากตกลงกันไม่ได้ อาจต้องให้ศาลพิจารณา
ส่วนสินส่วนตัว คือทรัพย์สินที่แต่ละคนมีมาก่อน หรือได้รับมาโดยไม่เกี่ยวกับการแต่งงาน เช่น บ้านหรือที่ดินที่ซื้อก่อนแต่งงาน หรือทรัพย์สินที่ได้รับเป็นของขวัญจากครอบครัว ซึ่งไม่สามารถถูกนำมาแบ่งเป็นของคู่สมรสได้ หากมีการหย่าร้างหรือแบ่งมรดก ทรัพย์สินเหล่านี้จะเป็นของเจ้าของคนเดียว
บ้านที่ได้หลังแต่งงาน ไม่เท่ากับสินสมรสเสมอไป
แม้ว่าบ้านจะได้มาหลังจากที่คู่รักแต่งงานจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสินสมรสโดยอัตโนมัติ หากบ้านหลังดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับมาจากมรดกของครอบครัว หรือได้รับโดยเสน่หา จากพ่อแม่ ญาติ หรือบุคคลอื่น จะถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้รับ และคู่สมรสอีกฝ่ายจะไม่มีกรรมสิทธิ์ร่วม
อีกกรณีที่หลายคนอาจสงสัยคือ หากคู่สมรสซื้อบ้านให้กันเอง บ้านจะถือเป็นสินสมรสหรือไม่?คำตอบก็คือ ใช่ เพราะกฎหมายถือว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรสเป็นสินสมรสโดยปริยาย เว้นแต่จะมีการระบุชัดเจนว่าให้เป็น ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้รับ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ให้จะไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนั้น
และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ควรทำหนังสือให้โดยเสน่หา โดยระบุอย่างชัดเจนว่า “ให้เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้รับโดยเด็ดขาด” พร้อมเซ็นชื่อผู้ให้ ผู้รับ และพยาน รวมถึงตอนที่ไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์บ้านที่สำนักงานที่ดิน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ระบุว่าเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้รับ เพื่อให้มีผลทางกฎหมายที่ชัดเจน
หากหย่าร้างกัน ต้องแบ่งบ้านยังไง?
สำหรับการแบ่งบ้านที่เป็นสินสมรสเมื่อมีเหตุให้ต้องหย่าร้างกัน หากตกลงกันไม่ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของบ้านต่อ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ขายบ้านแล้วนำเงินมาแบ่งกันในจำนวนที่ตกลงกันหรือหารครึ่ง แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกบ้านให้อีกฝ่ายด้วยความเต็มใจ โดยไม่ขอคืนเงินส่วนที่เคยผ่อนค่างวดที่ผ่านมา หรือยินยอมขายกรรมสิทธิ์ในส่วนของตัวเองให้อีกฝ่าย และฝ่ายนั้นก็มีเงินเพียงพอที่จะซื้อกรรมสิทธิ์ส่วนนั้นมาเป็นของตัวเองก็สามารถทำได้เช่นกัน
โดยหลังจากนั้นจะต้องไปทำเรื่องถอนชื่อออกจากธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็จะประเมินความสามารถในการผ่อนของฝ่ายที่ได้ครอบครองบ้าน หากมีรายได้เพียงพอก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ายอดผ่อนต่อเดือนมีจำนวนมากกว่า ธนาคารก็จะให้หาคนมากู้ร่วม เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง
หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ โดยแจ้งว่าขอถือกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่าวเพียงคนเดียว พร้อมแนบสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์ และเอกสารการจดทะเบียนหย่าเพื่อเป็นหลักฐานก็ได้เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
บ้าน-ที่ดินมรดก ตกทอดถึงใครบ้าง? และต้องเสียภาษีหรือไม่
เมื่อเสียชีวิต “หนี้บ้าน” ที่มีอยู่ ใครต้องผ่อนต่อ?
ข้อควรระวังการกู้ร่วม มีอะไรบ้างที่รู้ไว้ไม่เสียหาย
ปัญหาจากการ “กู้ร่วม” คิดให้ดีก่อนเป็นหนี้ร่วมกัน
8 ระดับ Segment คอนโด ในเมืองไทย
2020-04-13
10 จังหวัด บ้านมือสอง มีจำนวนประกาศขายสูงสุด ในไตรมาส 2 ปี 2567
2024-09-18
การลงทุนระยะสั้น และระยะยาว เล่นยังไงถึงได้กำไร
2019-05-27
เรื่องน่ารู้ก่อนซื้อที่ดินต่างระดับ (Sloping Land)
2022-05-11
อยากปล่อยเช่าคอนโด ต้องคำนวณค่าเช่ายังไง
2020-08-11
อ่านแล้ว รู้ความเคลื่อนไหวในวงการอสังหาเลยครับ ^^ ขอบคุณผู้เขียนครับ
ตามหาบทความเเนว เเบบนี้มานานเเล้วค่ะ
รู้ไว้ไม่เสียหาย
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
แจ่มเลยค่ะ รีวิวได้ครบถ้วน
รีวิวเขียนดีจังค่ะ