
Home
เหตุไฟไหม้เป็นเรื่องไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และบางครั้งไฟไม่ได้หยุดแค่บ้านต้นเพลิง แต่ลุกลามไปยังบ้านข้างเคียง สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง แล้วในกรณีแบบนี้ ใครต้องรับผิดชอบ? เจ้าของบ้านที่ไฟไหม้เป็นคนแรกต้องจ่ายไหม? หรือประกันภัยจะเข้ามาช่วยเหลือยังไง? มาหาคำตอบกันว่า เมื่อไฟไหม้บ้านลุกลามหลายหลัง ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครต้องเป็นคนรับผิดชอบ!
ไฟไหม้ที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนา
เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ลุกลามหลายหลัง เจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบว่าต้นเพลิงมาจากบ้านหลังไหน แล้วหาหลักฐานเพื่อยืนยันสาเหตุจากบ้านต้นเพลิง พร้อมสอบปากคำเจ้าของบ้านหรือผู้ที่อาศัยอยู่ในขณะเกิดเหตุ
หากพบว่าสาเหตุของไฟไหม้เกิดจากการกระทำโดยเจตนา (ไม่ได้หมายถึงการวางเพลิงโดยตรงนะ) เช่น จุดไฟเผาขยะ เผาใบไม้ หรือเผาทำลายสิ่งของ เจ้าของบ้านต้นเพลิงต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านข้างเคียง
นอกจากนี้ ยังเข้าข่ายความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท ยิ่งไปกว่านั้น หากพบว่าเจ้าของบ้านไม่มีการป้องกันหรือระมัดระวัง จนทำให้ไฟลุกลามไปยังบ้านอื่น ก็อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 225 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไฟไหม้ที่เกิดจากความประมาท
หากตรวจสอบแล้วพบว่าไฟไหม้เกิดจากความประมาทของเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับบ้านที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 ซึ่งกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ซึ่งความประมาทที่นำไปสู่เหตุไฟไหม้อาจรวมถึงการจุดไฟทิ้งไว้โดยไม่ระวัง การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สหุงต้มอย่างไม่ปลอดภัย หรือการสะสมวัสดุไวไฟในบ้านโดยไม่จัดการให้เหมาะสม หากมีพยานหลักฐานชัดเจน
กรณีไฟไหม้ที่หาสาเหตุชี้ชัดไม่ได้
ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานมาชี้ชัดได้ว่า สาเหตุไฟไหม้เกิดจากการกระทำของเจ้าของบ้านต้นเพลิง ที่ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือประมาทก็ตาม เจ้าของบ้านไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่ถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
แต่แน่นอนว่าเมื่อเป็นแบบนี้ เจ้าของบ้านที่ได้รับผลกระทบย่อมไม่พอใจ เพราะสุดท้ายแล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนี้ลุกลามมาจากบ้านต้นเพลิง ดังนั้น คู่กรณีอาจต้องตกลงกันเองเรื่องการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งอาจไม่ได้ครอบคลุมมูลค่าความเสียหายทั้งหมด แต่เป็นจำนวนที่ทั้งสองฝ่ายพอรับได้
มีประกันอัคคีภัย
หลายคนคงพอรู้แล้วว่า ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไฟไหม้เกิดจากการกระทำของเจ้าของบ้านต้นเพลิง ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือความประมาท เจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบค่าเสียหายให้กับบ้านที่ได้รับผลกระทบ แต่ถ้าบ้านต้นเพลิงมีประกันอัคคีภัยที่ครอบคลุมความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ประกันก็จะช่วยจ่ายค่าชดเชยแทนตามวงเงินที่กำหนดในกรมธรรม์
ขณะเดียวกัน หากบ้านที่ได้รับความเสียหายก็มีประกันอัคคีภัยด้วย ประกันของเขาจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ก่อน จากนั้นอาจใช้สิทธิ์ไล่เบี้ยฟ้องเรียกค่าเสียหายคืนจากเจ้าของบ้านต้นเพลิง หรือจากประกันของบ้านต้นเพลิง (ถ้ามี) ดังนั้น การทำประกันที่ครอบคลุมทั้งตัวบ้านและบุคคลภายนอก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงจากเหตุไฟไหม้ได้มากขึ้น
ไฟไหม้บ้านตัวเองก็เสียหายหนักอยู่แล้ว แต่ถ้าไฟลุกลามไปบ้านหลังอื่น เราอาจต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเพิ่ม และเสี่ยงมีความผิดทางอาญาอีกด้วย ดังนั้น การทำประกันอัคคีภัยที่คุ้มครองบุคคลภายนอก เป็นอีกวิธีที่ช่วยแบ่งเบาภาระ หากเกิดเหตุไม่คาดคิด
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประกันอัคคีภัย แท้จริงแล้วคุ้มครองอะไรบ้าง?
อยู่คอนโดเกิดไฟไหม้ รับมือยังไงชีวิตปลอดภัย
รวมวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ปลอดภัยทั้งคนและบ้าน
บทเรียนจากแผ่นดินไหว กับความปลอดภัยที่สะเทือนคอนโดไทย
8+1 คอนโด ครองทำเลทองหล่อ แบบตัวท็อปติดถนนหลักของจริง
2023-06-27
5 ไอเดียตกแต่งบ้านเหนือกาลเวลา
2024-03-12
ทรัพย์อิงสิทธิต่างจากการเช่ายังไง? กฎหมายที่เจ้าของอสังหาฯ ต้องรู้
2025-02-25
เลือกหลังคาบ้านอย่างไรให้เหมาะสมกับเมืองไทย
2024-10-24
รวม 10 คอนโด Luxury ทำเลใจกลางเมือง
2023-09-05
ได้ไอเดียๆ ดีๆ จากนี้นี่เลย ขอบคุณค่ะ เขียนบทความบ่อยๆ น๊าา
ขอบคุณมากครับ เอาใจไปเลยลูกพี่!!!
ขอบคุณความรู้ดีๆ จากที่นี่ครับ
กำลัังตัดสิ้นอยู่ ขอบคุณฮะ
รีวิวได้ดี วิเคราะห์ละเอียดมากจ๊ะ