News
icon share

ความแตกต่างระหว่างสินเชื่อบ้านและการรีไฟแนนซ์บ้าน ตอน1

LivingInsider Report 2017-04-24 16:43:32
ความแตกต่างระหว่างสินเชื่อบ้านและการรีไฟแนนซ์บ้าน ตอน1

 

 

“บ้าน  คือ วิมานสวรรค์ของเรา  หลายคนคงเคยได้ยินคำเหล่านั้น  แต่จะทำอย่างไรได้ถ้าวิมานสวรรค์ของเรามีราคาเท่ากับเงินก้อนโตทั้งหมดที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ หามาได้”

 

 

การกู้เงินซื้อบ้าน  หรือ  การขอสินเชื่อ (Home Loan)  จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับใครหลายๆ คน ก่อนอื่น ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสินเชื่อบ้านกันก่อน

 

 

สินเชื่อบ้าน  คือ สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว คอนโด ทาวเฮาส์ อาคารพาณิชย์ เป็นต้น  โดยที่อยู่อาศัยนี้จะถูกจำนองไว้ให้กับผู้กู้เพื่อเป็นหลักประกัน  และต้องมีค่าธรรมเนียมต่างๆในการกู้ยืม  ลักษณะเด่นของสินเชื่อบ้าน คือ  มีความเสี่ยงน้อย  อัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยการผ่อนชำระที่แน่นอน มีระยะเวลาในการผ่อนยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป

 

 

แต่แล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นในระหว่างการผ่อนชำระด้วยเหตุผลนานาประการอันได้แก่ เงินหมุนไม่ทัน  ดอกเบี้ยสูงไป ส่งผลให้ไม่สามารถผ่อนชำระในงวดต่อๆไปได้ ไม่อยากผ่อนกับธนาคารเดิมแล้วทำยังไงดีล่ะ !!!

 

 

“รีไฟแนนซ์”  ช่วยคุณได้   คำถามต่อมาคือ  รีไฟแนนซ์คืออะไร !!??  และมีความเหมือนและแตกต่างกับสินเชื่อบ้านอย่างไร???!! วันนี้ จะมาไขข้อสงสัยนี้กัน

 

 

รีไฟแนนซ์  คือ  การขอสินเชื่อใหม่จากธนาคารอื่น เพื่อไถ่ถอนสินเชื่อเดิม โดยมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันเหมือนกัน  หรือพูดง่ายๆคือ การกู้เงินก้อนใหม่มาใช้หนี้เงินกู้ก้อนเดิม แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ ข้อดีของการรีไฟแนนซ์  คือ ปลดภาระหนี้ในปัจจุบัน  ได้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า  หรืออาจได้เงินส่วนต่างมาใช้  แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

 

 

ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักของการรีไฟแนนซ์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

 

 

1. ค่าใช้จ่ายให้กับธนาคารเดิม เช่น  ค่าไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด

 

2. ค่าใช้จ่ายให้กับธนาคารใหม่ คือ ค่าประเมินหลักทรัพย์, ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ

 

3. ค่าใช้จ่ายให้กับกรมที่ดิน คือ ค่าจดจำนอง, ค่าอากรแสตมป์

 

 

ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆขึ้นอยู่กับธนาคารกำหนด ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการรีไฟแนนซ์คือ  ดอกเบี้ยที่ลดลง และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ว่าคุ้มกันหรือไม่  ซึ่งดอกเบี้ยควรลดลงอย่างน้อย 2-3% เพื่อให้ค่างวดในการผ่อนชำระต่องวดลดลงและมาคำนวณต่อว่าต่อปีลดลงไปจากเดิมเท่าไหร่ หักลบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ค่าเสียเวลา แล้วคุ้มหรือไม่

 

 

ขอบคุณข้อมูลจากคุณ cmcpro2017

 

 

http://www.cmc.co.th/news.php?id=1710

 

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider