Favorite
ค่าเดินทางคนกรุงพุ่งกระฉูด "รถไฟฟ้า-ทางด่วน" ดาหน้าขึ้นราคายกแผง กทม.เก็บค่าใช้ส่วนต่อขยายเพิ่มเป็น 15 บาทตลอดสาย ปี"61 จ่อเก็บสายสีเขียว "แบริ่ง-สมุทรปราการ" 20 บาท กระทบค่าโดยสารบีทีเอสทั้งระบบจ่ายสูงสุด 57-77 บาท ส่วน BEM ถก กทพ.ขึ้นค่าทางด่วนขั้นที่ 1-2 และบางปะอิน-ปากเกร็ด
นายสุธน อาณากุล รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร (กทม. ) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลัง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงนามในประกาศ ค่าโดยสารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง 5.25 กม. 5 สถานี และส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า 5.3 กม. 4 สถานี เป็นอัตรา 15 บาทตลอดสาย จากปัจจุบัน 10 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2560
ในปี 2561 กทม.จะเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 กม. 9 สถานี ซึ่ง กทม.รับโอนโครงการจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเปิดใช้ 1 สถานีจากแบริ่ง-สำโรง วันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังเปิดใช้บริการเต็มโครงการ จะเก็บในอัตรา 20 บาท
"ปรับค่าโดยสารบีทีเอสต่อขยายเพิ่มเป็น 15 บาท เพราะ กทม.ต้องจัดสรรงบประมาณรองรับค่าใช้จ่ายปีละกว่า 600 ล้านบาทมาหลายปี"
ทั้งนี้จากการปรับค่าโดยสารบีทีเอสต่อขยาย ทำให้อัตราค่าโดยสารทั้งระบบประกอบด้วยส่วนของสัมปทานที่บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี) และส่วนต่อขยายที่ กทม.จัดเก็บเอง ในส่วนสายสุขุมวิทอัตราสูงสุดอยู่ที่ 77 บาท แยกเป็นช่วงหมอชิต-อ่อนนุช 42 บาท (สัมปทาน), อ่อนนุช-แบริ่ง 15 บาท และแบริ่ง-สมุทรปราการ 20 บาท ขณะที่สายสีลมอัตราสูงสุดอยู่ที่ 57 บาท แยกเป็นช่วงหมอชิต-สะพานตากสิน 42 บาท (สัมปทาน) และวงเวียนใหญ่-บางหว้า 15 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ปรับค่าโดยสารเพิ่ม ในส่วนของรถไฟฟ้าใต้ดิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) ระยะทาง 20 กม. จำนวน 18 สถานี มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) รับสัปมทานเดินรถ จะครบกำหนดปรับขึ้นค่าโดยสารใหม่ในวันที่ 3 ก.ค. 2561 โดยพิจารณาตามดัชนีผู้บริโภค (CPI) หลังปรับไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2559 ที่ผ่านมา ค่าโดยสารอยู่ที่ 16-42 บาท โดยจะบังคับใช้ถึงวันที่ 2 ก.ค. 2561
ขณะเดียวกันรฟม. จะทบทวนค่าโดยสารสายสีม่วงช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ จากปัจจุบันจัดลดราคาเหลือ 14-29 บาท เป็น 14-42 บาท หลังจากเชื่อมกับสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อในเดือนส.ค. 2560 นี้ ทำให้ผู้เดินทางจากต้นทางที่สถานีคลองบางไผ่มาจนสิ้นสุดที่สถานีหัวลำโพง จะเสียค่าโดยสารอยู่ที่ 70 บาท
ด้านแหล่งข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า วันที่ 1 ก.ย. 2561 จะครบกำหนดปรับค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ตามสัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ BEM จะปรับขึ้นทุก 5 ปี ตามค่า CPI ซึ่งที่ผ่านมาเฉลี่ยอยู่ที่ 5-10 บาท สำหรับอัตราค่าผ่านทางปัจจุบันปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2556 ได้แก่ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) รถ 4 ล้อ 50 บาท รถ 6-10 ล้อ 75 บาท มากกว่า 10 ล้อ 110 บาท ส่วนทางพิเศษศรีรัช ส่วน C รถ 4 ล้อ 15 บาท รถ 6-10 ล้อ 20 บาท มากกว่า 10 ล้อ 35 บาท ส่วน D รถ 4 ล้อ 25 บาท รถ 6-10 ล้อ 55 บาท มากกว่า 10 ล้อ 75 บาท
ด้านทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด) จะครบกำหนดวันที่ 1 พ.ย. 2561 จากปัจจุบันช่วงแจ้งวัฒนะ-เชียงราก รถ 4 ล้อ 45 บาท รถ 6-10 ล้อ 100 บาท มากกว่า 10 ล้อ 150 บาท และช่วงเชียงราก-บางไทร รถ 4 ล้อ 10 บาท รถ 6-10 ล้อ 20 บาท มากกว่า 10 ล้อ 30 บาท
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1491801691
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
รีวิววิเคราะห์ได้ดีมากเลยครับ
ดีมากกกกก ชอบสุดๆ ให้ข้อมูลดีมากๆ
บทความหลากหลาย อ่านแล้วมีประโยชน์
น่าสนใจมากจ้า
รีวิวได้ทุกซอก ทุกมุมจริงๆเลยครับ ชอบครับ ตัดสินใจง่ายดี