Favorite
แนวนโยบายยกระดับกรุงเทพฯ ให้เป็นมหานครแห่งอาเซียนในขอบเขตรับผิดชอบของ "กฟน.-การไฟฟ้านครหลวง" มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ล่าสุด "เทพศักดิ์ ฐิตะรักษา" ผู้ช่วยผู้ว่าการ กฟน.ให้สัมภาษณ์แผนดำเนินการติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินระยะทาง 200 กม. ในพื้นที่รับผิดชอบ 3 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ
- Q : คืบหน้ามหานครอาเซียน
นโยบายลงทุนติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินในพื้นที่ให้บริการ กฟน. เราทำจริงจังและทำมานานมากแล้ว เสร็จไปแล้ว 41 กว่า กม. ส่วนใหญ่ติดถนนหลัก อนาคตขยายเพิ่ม 176 กม. ในเขตพื้นที่มีความสำคัญ อาทิ รอบวัง พื้นที่เศรษฐกิจและตามแนวรถไฟฟ้า เท่ากับจะมี 200 กว่า กม. ขณะที่ถนนเมนในเขตรับผิดชอบมีเป็น 1,000 กม.
ในการพิจารณาลงทุนติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดิน มีเกณฑ์การพิจารณาจากวัตถุประสงค์ 4 ข้อ 1.ภาระไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในเขตเมือง ระบบปกติการจ่ายไฟฟ้าทำผ่านระบบสายอากาศ แต่เมื่อเมืองโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ระบบสายอากาศไม่พอจึงต้องลงใต้ดิน
2.ความน่าเชื่อ5ถือของระบบไฟฟ้า ไฟดับน้อยลง ระบบใต้ดินมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าอย่างน้อยไม่มีเสาไฟฟ้าให้ล้ม 3.ความปลอดภัย เพราะไม่มีระบบสายอากาศความปลอดภัยก็จะมากกว่า และ 4.ระบบภูมิทัศน์ ความสวยงามของบ้านเมืองเป็นประการสุดท้าย
ในแง่งบประมาณลงทุน แน่นอนว่าระบบสายไฟฟ้าใต้ดินแพงกว่าระบบสายอากาศ เฉลี่ย กม.ละ 300-400 ล้านบาท แต่สิ่งที่ได้ค่อนข้างคุ้ม ภาระไฟฟ้า จ่ายไฟเพียงพอ ได้เรื่องความสวยงาม ซึ่งเรามุ่งให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งอาเซียน เพราะเรามองว่ากรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวมาเยือนสูงมาก
- Q : เร่งรัดดำเนินการอย่างไร
การดำเนินการตามแผนลงทุน เนื่องจาก กฟน.มีระบบสายอากาศมานานแล้ว แต่ก่อนทำเป็นไพล็อตโปรเจ็กต์ เป็นโครงการทดลองเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว เริ่มที่ถนนสายสีลมเมื่อ 40 ปีมาแล้ว ตอนนี้เริ่มเอาจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดมหานครแห่งอาเซียน 127 กม.เดิมกำหนดเป็นแผน 10 ปี ต่อมารัฐบาลให้ความสำคัญมาก ร่นเวลาทำเหลือ 5 ปี จากเดิม 30 ปีทำเสร็จเพียง 40 กม.
ในอดีตเราทำเอง กฟน.ดำเนินการเองเกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ ซึ่งเดิมเราศึกษาทดลองมากกว่า หาความรู้ไปเรื่อย ๆ การทำมีอุปสรรค การจ่ายไฟดี-ไม่ดียังไง เราทำเองหมดทั้งออกแบบ การก่อสร้างเราจ้างระบบใต้ดิน ส่วนการเดินสายไฟ ติดตั้งเราทำเอง
แผนร่นให้เหลือ 5 ปี เราโดนสั่งให้ทำต่อเนื่อง "แผนโครงการเปลี่ยนสายอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินรองรับมหานครแห่งอาเซียน" ปัจจุบันปี 2560-2564 ระยะทาง 200 กม.ต้องจบ จึงใช้วิธีจ้างเหมาเพราะเรารู้วิธีทำแล้ว พยายามออกบิดให้น้อย มูลค่าสัญญาจะสูง
ส่วนงานที่มีการจัดจ้าง มี 2 ส่วนคือ งานโยธา ก่อสร้างระบบ เหมือนรถไฟฟ้ามีระบบราง โครงสร้าง เดินรถ ไฟฟ้าก็เหมือนกันเรามีระบบก่อสร้างท่อ ส่วนใหญ่ผู้รับเหมาใหญ่ ๆ ในไทยและต่างประเทศ, ระบบไฟฟ้า ส่วนใหญ่ลากสาย ติดตั้งท่อ พยายามทำให้งานมูลค่าสูง ได้บริษัทใหญ่ ๆ การันตีว่าทำงานให้เราสำเร็จ ถ้าบริษัทเล็กอาจทำงานได้ไม่สำเร็จ
- Q : ความจำเป็นทำสายไฟใต้ดิน
ถ้าไม่ทำสายไฟใต้ดิน ผลกระทบประการแรกคือมีสายไฟเยอะมาก เราไม่สามารถสร้างระบบสายอากาศไปในทิศทางที่อยากได้ อาจต้องอ้อมไปไกลมาก เช่น การจ่ายไฟต้องมีแหล่งจ่ายไฟ การเดินไปจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง เมืองเติบโตมาก ๆ เช่น ศูนย์การค้าต้องการพลังงานไฟฟ้าเยอะมาก แต่เส้นทางเดินไฟอาจมี 1-2 เส้น ในที่สุดอาจมีเส้นเดียว ต้องอ้อมไปไกลมาก ๆ อาจไปถึงไม่ได้หรือจ่ายไฟไม่เพียงพอ ในที่สุดต้องสร้างระบบสายไฟใต้ดินอยู่ดี
เทียบกับประเทศอื่น ๆ เป็นระบบไฟใต้ดิน ในกรุงเทพฯ เมืองเติบโตเยอะมากแต่ก่อนสร้างเมืองใหม่ ๆ จ่ายไฟยังไงก็ได้ เช่น บางกะปิ เดิมเหมือนกับไปชนบท ไม่มีอะไรเลย ปัจจุบันรถติดไปไม่ได้แล้ว ความเติบโตสูงมาก เดิมสร้างสายไฟเส้นเดียวจ่ายได้ทั้งหมู่บ้าน ตอนนี้ไม่มีทางพอ ต้องสร้างเพิ่มขึ้น ๆ ถึงจุดหนึ่งก็ต้องทำสายใต้ดิน
นี่คือสิ่งที่ต้องพยายามศึกษาตั้งแต่อดีตว่าถ้าจะจ่ายไฟใต้ดินต้องทำยังไงให้เพียงพอ
ขณะเดียวกันใต้ดินของกรุงเทพฯมีท่อต่างๆ มากมาย การทำสายไฟใต้ดินต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเมืองเวลาโต การสร้างอินฟราสตรักเจอร์ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ไม่ค่อยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว การสร้างสิ่งเหล่านี้จึงค่อนข้างสะเปะสะปะเล็กน้อย
ถนนสายหลักมีท่อของประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ เวลาขุดลงไปเจอเยอะแยะ ตอนหลัง ๆ เจอระบบไอที สื่อสาร ทุกคนวางหมด ปัจจุบัน กฟน.พบว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของเรา ได้มีการเสนอให้จัดตั้งคณะอำนวยการนำสายไฟลงใต้ดิน มี รมว.มหาดไทยเป็นประธาน เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระบบมาบูรณาการ ทำทุกอย่างพร้อมกัน
เป้าหมายเพื่อ 1.ทำให้ระบบมีระเบียบ 2.ประหยัดงบประมาณเพราะทำพร้อม ๆ กัน ตอนนี้ประชุมแล้วหลายครั้ง มีการมอบหมายชัดเจน ให้ยึดแผน กฟน. 5 ปีเป็นหลัก ดำเนินการไปได้ดีอยู่ แต่คงไม่ทันทีทันใดเพราะเมืองเราเก่า 200 กว่าปี มีระบบเก่าข้างล่าง
ระบบไฟฟ้ามีหลายระดับ เสาก็มีหลายระดับ บางอย่างอยู่บนพื้นผิว ใต้พื้นผิวจราจร บนฟุตปาท บนพื้นผิวจราจรก็ปัญหาเยอะ ฟุตปาทก็ปัญหาเยอะ เราพยายามจัดระเบียบกันอยู่
- Q : เปรียบเทียบต้นทุน
ตอนนี้การนำสายไฟใต้ดินการลงทุนมีต้นทุนสูงกว่าระบบสายอากาศ ประชาชนได้รับผลกระทบต่อค่าไฟเล็กน้อย ภาพรวมเพิ่มต้นทุนนิดเดียว ผลกระทบต่อค่าไฟอาจเปรียบไม่ได้เพราะค่าไฟคิดจากโอเวอร์ออลของประเทศ ไม่ว่า กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) กฟภ. (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) และ กฟน. จะมีหลักในการคิดคำนวณ
อย่างที่ผมบอก เราทำ 200 กม.จากพื้นที่ให้บริการไฟฟ้ามีเป็น 1,000 กม. ระบบการลงทุนของเรายังมีอย่างอื่นเยอะมาก เช่น สร้างระบบเพิ่มปกติซึ่งมีมูลค่าสูงอยู่แล้ว ไม่ได้กระทบรุนแรงมากมาย มีผลกระทบแน่นอนแต่ไม่ถึงกับเดือดร้อน
เปรียบเทียบงบลงทุนไฟฟ้าใต้ดิน กม.ละ 300-400 ล้านบาท ระบบสายอากาศ 10 กว่าล้านบาท แต่ต้องดูระบบในภาพรวม เพราะการลงทุนมีหลายอย่าง เช่น สายไฟแรงสูง แรงกลาง แรงต่ำ ต้องนำมาถัวเฉลี่ยกัน เราเคยจัดทำข้อมูลไว้
- Q : สายสื่อสารไม่เป็นระเบียบ
ประเด็นสายสื่อสารระโยงระยางที่บิล เกตส์อัพข้อมูลในโซเชียล เป็นเหตุผลทำให้การทำสายไฟใต้ดินร่นจาก 10 เหลือ 5 ปี นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่าทำให้ประเทศเราเสียชื่อ ทำอะไรได้ก็ให้รีบทำ
ผมอยากจะบอกว่า "รูปเดียวเปลี่ยนชีวิต" กฟน.ต้องมาวางแผนทำยังไงจาก 10 ปีให้เหลือ 5 ปี ไม่ใช่ง่าย เราต้องจ้างเหมามากขึ้น และอาจต้องทำให้ผลกระทบต่อประชาชนมีทันที ผมคำนวณคร่าว ๆ ในปี 2561-2562 จะเริ่มการก่อสร้างบนถนนหลายเส้น
อยากให้ประชาชนเข้าใจ เวลาเราเจอรถไฟฟ้ารู้ได้ว่ามีรถไฟฟ้า ความรู้สึกอีกแบบ อนาคตจะสบาย ๆ ขึ้น แต่ กฟน.ประชาชนนึกไม่ออกว่ามีสายไฟใต้ดิน อยากให้รู้นิดหนึ่งว่าถึงแม้มีไฟฟ้าใช้วันนี้ แต่ถ้า กฟน.ไม่ทำอะไร ในอนาคตไฟฟ้าที่เคยมั่นคง ปลอดภัย คุณภาพอาจลดลง อาจมีไฟดับไฟตกบ้าง กฟน.จึงต้องมีหน้าที่สร้างระบบให้มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบกับชีวิตบ้าง มองไม่เห็นเหมือนรถไฟฟ้า แต่เราสร้างเพื่อสร้างอนาคตของประชาชนเช่นเดียวกัน
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1499241487
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
เขียนรีวิวได้ใจมากครับ
รูปภาพประกอบสวยมากเลยค่ะ
ขอบคุณมาดครับ
ขอบคุุณบทความดีดีค่ะ
ชอบนะ อ่านต่อไม่รอแล้วจ้า