Favorite
สายสีส้มปั่นราคาที่ดินย่านรัชดาฯทะยานวาละ 1 ล้าน รฟม.ล้มแผน TOD พื้นที่ 10 ไร่ รอบสถานีศูนย์วัฒนธรรม พ่วงอาคารจอดแล้วจร ติดหล่มเวนคืน 4 พันล้าน บอร์ด รฟม.ไฟเขียวโยกโครงการไปสร้างในเดโป้ ประหยัดงบฯได้กว่า 2.2 พันล้าน ประเดิมเฟสแรก 350 คัน วงในเผย 2 บิ๊กแลนด์ลอร์ดเสียดายที่ดิน รอจังหวะรถไฟฟ้าเปิดหวูด ลุยพัฒนาโครงการเอง รับฮับธุรกิจ
นายฤทธิกา สุภารัตน์ รองผู้ว่าการ (บริหาร) รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) อนุมัติให้ขยับตำแหน่งอาคารจอดแล้วจรสถานีศูนย์วัฒนธรรมของรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ไปสร้างอยู่บริเวณสถานี รฟม.อยู่ตรงหน้าสำนักงาน รฟม.แทน เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดินและค่าใช้จ่ายลงได้ 2,200 ล้านบาท
“ผลศึกษาเดิมจะสร้างที่จอดรถเพิ่มเติมที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ห่างจากอาคารเดิมประมาณ 500 เมตร แต่เนื่องจากบริเวณนั้นจะต้องเวนคืนที่ดินค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันราคาที่ดินก็ค่อนข้างแพง จึงศึกษาแนวทางใหม่เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนที่ดิน 10 ไร่ ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 2,000 ล้านบาท”
ทั้งนี้เมื่อย้ายไปสร้างบนที่ดินของ รฟม.เองตรงศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) จะมีสถานี รฟม.ด้วย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้ และจะไม่กระทบต่อวงเงินค่าจ้างผู้รับเหมา เพราะตอนประมูลคิดราคาสร้างเป็นลานจอดระดับดิน และใช้เงินก่อสร้างไม่มาก
นายฤทธิกากล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบอาคารใหม่ คงต้องทำรายละเอียดอีกครั้ง จะสร้างอยู่บริเวณไหน เนื่องจากในอนาคตบริเวณนี้นอกจากจะมีสถานีแล้ว ยังมีอาคารสำนักงานใหม่ของ รฟม.ด้วย ยังมีเวลาดำเนินการออกแบบ เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีส้มจะสร้างเสร็จต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยเฟสแรกคาดว่าจะจอดรถได้ 350 คัน หลังจากนั้นจะพัฒนาในเฟสต่อไป เมื่อมีความต้องการมากขึ้น
“ที่ดิน 10 ไร่ตรงนั้น เป็นที่ดินของเอกชน จริง ๆ เราใช้สร้างเป็นอาคารจอดไม่ถึง แต่เนื่องจากจะต้องใช้ที่ดินของชาวบ้านเพื่อทำทางเข้าออก และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไปทำถนน ทำให้ต้องใช้ที่ดินค่อนข้างมาก”
แหล่งข่าวจาก รฟม.กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ก่อสร้างอาคารจอดรถสถานีศูนย์วัฒนธรรมตามแผนเดิม มีเนื้อที่ 10 ไร่ จะสร้างอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับศูนย์การค้าเอสพลานาด ซึ่ง รฟม.จะต้องมีการเวนคืนที่ดินของเอกชนประกอบด้วยที่ดินของบริษัทแหลมทองค้าสัตว์ ประมาณ 3 ไร่
กับที่ดินแปลงรัชดา บิสซิเนส เซ็นเตอร์ ของ น.พ.พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ประมาณ 7 ไร่ ใช้เงินเวนคืนกว่า 2,000 ล้านบาทหรือเฉลี่ยราคาตารางวาละ 1 ล้าน รฟม.จึงทบทวนใหม่ ประกอบกับมีข้อร้องเรียนเรื่องเวนคืนที่ดินราคาแพงเพื่อสร้างที่จอดรถไม่คุ้ม จึงปรับวิธีการใหม่จะใช้การจัดรูปที่ดินแทน
พร้อมทั้งปรับลดขนาดที่ดินจาก 10 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 4,000 ล้านบาท เหลือ 5 ไร่ มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท แต่สุดท้ายเอกชนไม่ยอม เนื่องจากเสียดายที่ดิน และต้องการนำไปพัฒนาโครงการรองรับรถไฟฟ้าในอนาคต ทำให้ รฟม.ต้องโยกอาคารจอดแล้วจรไปสร้างที่สถานี รฟม.แทน เพื่อไม่ให้โครงการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้า
“เดิมจะใช้การจัดรูปที่ดินและให้เจ้าของที่ดินร่วมพัฒนาได้ในรูปแบบ TOD เหมือนที่ต่างประเทศ ซึ่งรัฐและเอกชนจะได้ประโยชน์ร่วมกัน รัฐได้ที่จอดรถ ที่ดินของเอกชนที่ตาบอดจะมีทางเข้าออกและสามารถพัฒนาส่วนที่เหลือมาต่อยอดได้เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ เพราะสถานีศูนย์วัฒนธรรมจะเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้า 2 สายคือสีส้มกับสีน้ำเงิน”
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้ รฟม.มีแนวคิดจะร่วมกับเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนสร้างสถานีศูนย์วัฒนธรรมของสายสีส้มประมาณ 7-10 ราย จัดรูปที่ดินรอบสถานีศูนย์วัฒนธรรมรัศมีครอบคลุมจากถนนรัชดาภิเษกถึงถนนศูนย์วัฒนธรรม อาทิ บจ.รัชดา บิสสิเนส ดิสตริค เจ้าของที่ดิน 50 ไร่ ติดกับอาคารจอดแล้วจร
ปัจจุบันขายต่อให้กับนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้ถือหุ้นใหญ่ โรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มตระกูลสถิตธรรมรัตน์, กลุ่ม บจ.แหลมทองค้าสัตว์ ของนายยงศักดิ์ คณาธนะวนิชย์ มีที่ดินอยู่ประมาณ 24 ไร่, ที่ดินของนายแพทย์อานนท์ วรยิ่งยง, ที่ดินของนายพันธ์เลิศ ใบหยก และที่ดินของ บจ.ร่วมพัฒนาอุตสาหกิจ คาดว่าจะมีที่ดินได้จากการจัดรูปประมาณ 10 ไร่
ขอบคุณภาพและข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
https://www.prachachat.net/property/news-60030
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ขึ้นแท่นอันดับ 1 ด้านคุณภาพการบริหารจัดการระดับสากล กวาด ISO มากที่สุด ครบ 3 มาตรฐานครอบคลุมทุกมิติ เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
2022-07-14
นัมเบอร์วันเฮ้าส์ซิ่ง ดิเวลลอปเม้นท์ ส่งโครงการ THE ONE life bangna บุกเมกาบางนา บ้านเดี่ยวอารมณ์รีสอร์ตใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ทำเลต้นบางนา
2022-07-14
Last Call Promotion!! กับแคมเปญ “ชีวาทัยเป็นได้มากกว่าเพื่อน” หมดเขต 31 ก.ค.นี้เท่านั้น
2022-07-14
ASW เสริมกลยุทธ์ Lifestyle Community จัด Monstr Concert Festival Series#1 ตอบรับไลฟ์สไตล์ลูกบ้านโครงการคอนโดฯ เคฟทาวน์ สเปซ
2022-07-14
เตือนภัยขอสินเชื่อบ้าน-ที่ดินระวังโดนโกง
2022-07-11
เหนือ Developer ก็มี Blogger นี่แหล่ะค่ะ ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น ขอบคุณค่ะ
โอเคเลยค่ะ รายละเอียดดีมาก
เขียนบทความน่าอ่านมากเลย
ได้ความรู้มากๆเลยครับ
อันนี้รีวิวหรือวิทยานิพนธ์คะ ละเอียดจริงๆ สุดยอดเลยค่ะ