Favorite
ปัญหาเกิดเมื่อเราอยากได้คอนโดหรือบ้าน ที่เกินกว่าวงเงินที่เราจะสามารถกู้คนเดียวได้ นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “กู้ร่วม” ซึ่งมีคำถามน่าสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้พอสมควร เราจึงหาคำตอบมาให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันว่าแท้จริงแล้วเป็นเช่นไร
เค้าเป็นใครบ้างที่กู้ร่วมด้วยได้?
อย่างแรกที่ต้องทำความเข้าใจกันก่อนเลยคือ ไม่สามารถดึงใครก็ได้มากู้ร่วมกับเรา เพราะหลักๆ ต้องเป็นวงศาคณาญาติเดียวกัน หรือสามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส แต่เดี๋ยวนี้บางธนาคารก็อนุโลมให้คนที่เป็นแฟนกันสามารถกู้ร่วมกันได้ โดยใช้คำว่าเป็นสามี-ภรรยา ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ขอบคุณภาพ : rawpixel
เกิดประโยชน์ มีข้อดียังไงถ้ากู้ร่วม?
เนื่องจากคนเดียวกู้ไม่ผ่าน ดังนั้นการเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งคนเป็นผู้กู้ร่วม ย่อมส่งผลในเรื่องของการได้วงเงินเพิ่ม เพราะทางธนาคารจะคิดรายได้ของทั้งคู่บวกรวมกันนั่นเอง หลังจากหักหนี้หรือค่าใช้จ่ายเก่าๆ ที่มีอย่างรถ บัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งถ้ามีหนี้เยอะเกินก็ไม่สามารถอนุมัติให้ผ่านได้แม้จะกู้สองคนก็ตาม
ค่าโอนรวมถึงผ่อนคิดยังไง?
ถ้าตามหลักแล้วก็ต้องจ่ายกันคนละครึ่ง ยกตัวอย่าง ธนาคารให้วงเงินกู้ทั้งหมด 4 ล้าน ผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมก็ต้องจ่ายคนละ 2 ล้าน ถ้าผู้กู้หลักไม่จ่ายเราก็ต้องเป็นฝ่ายจ่ายเอง และไปเรียกคืนเอาทีหลัง แต่ความเป็นจริงมักจะแค่ขอยืมชื่อรวมถึงรายได้เพื่อให้กู้ผ่านมากกว่า ที่เหลือผู้กู้หลักจะเป็นคนชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ก็ต้องไว้วางใจกันพอสมควรเลยล่ะ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นคนในตระกูลเดียวกัน
ขอบคุณภาพ : money.com
ผ่อนบ้านหรือคอนโดหมด ใครได้เป็นเจ้าของ?
ขึ้นอยู่กับว่าตอนจดกรรมสิทธิ์เจ้าของบ้านใส่ชื่อไปกี่คน ถ้าใส่สองคนก็เป็นเจ้าของทั้งคู่คนละครึ่ง แต่เวลาจะขายทิ้งก็ต้องได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่ายนะ ขณะที่ถ้าจดชื่อคนเดียว ก็ตามนั้นเลย คือเป็นผู้ครอบครองแต่เพียงผู้เดียว จะขายหรือทำอะไรก็ตัดสินใจเองได้ทันทีไม่ต้องรอใคร
ผู้กู้ร่วมถอนตัวออกได้ไหม?
ถอนได้สบายมาก ถ้า!!! ผู้กู้หลักมีรายได้เพียงพอแล้วน่ะนะ ซึ่งถ้าผ่านไปหลายปีจนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก หรือไม่ก็หาผู้กู้ร่วมใหม่ ซึ่งธนาคารก็จะต้องดูเหมือนเดิมอีกอยู่ดี ว่ามีรายรับรายจ่ายหรือภาระอื่นๆ จนกู้ไม่ไหวไหม ถ้ารายได้หลังหักรายจ่ายเหลือเพียงพอก็ไม่มีปัญหา
ขอบคุณภาพ : rawpixel
ผู้กู้ร่วมเสียชีวิตใครชำระต่อ?
จะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ทายาทของผู้กู้ร่วม โดยจะตกไปที่ลูกก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้าลูกของผู้กู้ร่วมยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือไม่สามารถกู้ได้หรือแม้แต่ไม่มีลูก ก็ต้องเลื่อนไปเป็นญาติพี่น้องกัน แล้วการผ่อนก็จะตกเป็นหน้าที่ของบุคคลนั้นแทน
ข้อเสียถ้ากู้ร่วม?
ถ้าราคาที่กู้บ้านหรือคอนโดมีมูลค่าหลายล้าน ผู้กู้ร่วมจะไปกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดหรือกู้อย่างอื่น โอกาสจะผ่านเป็นไปได้ยากมาก เพราะยังติดอยู่กับบ้านหลังแรก และถ้าผู้กู้หลักเกิดเบี้ยวชิ่งไม่ผ่อนชำระต่อ ทุกอย่างจะมาตกที่ผู้กู้ร่วมทันที จึงต้องตัดสินใจให้ดีว่าการเป็นผู้กู้ร่วมให้กับอีกคนหนึ่งเค้ามีนิสัยใจคอเป็นยังไง ไว้วางใจได้มากน้อยแค่ไหน ไม่อย่างนั้นคนที่เดือดร้อนก็คือเราเต็มๆ
อยากจะบอกสั้นๆ เลยว่า โปรดศึกษาทุกอย่างให้ดีก่อนตัดสินใจเป็นผู้กู้ร่วม คนที่จะกู้ด้วยโอเคไหม วางแผนมองอนาคตให้ไกลว่าจะกู้อะไรอีกรึเปล่า เพราะอย่างที่รู้กันอยู่ว่ากู้เรื่องพวกนี้ไม่ใช่แค่ปีสองปี แต่เป็นสิบๆ ปีเลยต่างหาก!!!
ปักหมุด 10 คอนโดใกล้ Art Gallery ให้เหล่าสายอาร์ตเดินทางไปเสพงานศิลป์ได้ง่ายๆ .
2023-09-09
รู้จักประเภทห้องพักอาศัยในคอนโด เลือกที่ใช่ ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากที่สุด
2024-09-13
คอนโดสุขุวิท เพชรกลางเมืองที่ต้องรีบคว้า
2019-07-04
จับจุดปลดหนี้ให้ไว ด้วยตัวเองแบบถูกวิธี
2020-04-01
เอาใจชาวคอนโดให้ “ห้องใหญ่ขึ้น” ด้วยเทคนิคจัดห้องให้ดูกว้าง ไม่ใช่แค่จัดวาง แต่ต้องในระยะที่ลงตัว
2023-01-27
ดีมากเลยค่ะ น่าติดตามข้อมูล
รู้ไว้ไม่เสียหาย
บทความดีๆ อ่านแล้วตัดสินใจง่ายขึ้นเลยค่ะ
ได้ความรู้ดีครับ ชอบครับ
ได้ความรู้