News
icon share

ต้านเปลี่ยนสี เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม

LivingInsider Report 2019-08-06 10:03:01
ต้านเปลี่ยนสี เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม

 

จากกรณีประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซีประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง เดินทางเข้ากรุงเทพมหานครยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เห็นด้วยกับการจัดทำผังเมืองรวมอีอีซี เนื่องจากมีการปกปิดซ่อนเร้นการปรับสีการใช้ประโยชน์ที่ดินในหลายพื้นที่ จากพื้นที่สีเขียว (ประเภทชนบทและเกษตรกรรม), พื้นที่สีเขียวลาย (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินทำกินของเกษตรกรเป็นพื้นที่สีม่วงประเภทอุตสาหกรรม 

 

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ มากที่สุด ได้แก่ ตำบลเขาดิน อำเภอ บางปะกง ติดกับมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ-ชลบุรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของนิคมบลูเทคซิตี้ ขณะเดียวกัน ยังมีที่ดินของอมตะ 2 ติดอมตะ 1 กว่า 1,000 ไร่ตั้งอยู่อำเภอพานทอง รอยต่อจังหวัดฉะเชิงเทราเปลี่ยนจากพื้นที่สีเขียวเป็นสีม่วง ทั้งๆ ที่ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่มตํ่า มีปัญหานํ้าท่วมซํ้าซาก หากมีการถมดิน สร้างอาคาร จะทำให้ นํ้าถูกระบายมาท่วมไร่นาของชาวบ้าน

 

นอกจากนี้ ยังมีที่ดินที่ราชพัสดุซึ่งทหารเรือครอบครอง 4,000 ไร่ ตำบลโยธะกา อำเภอบางนํ้าเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา เปลี่ยนจากพื้นที่สีเขียว เป็นพื้นที่สีขาว ไม่กำหนดว่าจะใช้ประโยชน์เป็นที่ดินประเภทใดแกนนำชาวบ้าน จังหวัดฉะเชิงเทรา ยํ้าว่าพื้นที่ ส่วนใหญ่ชาวบ้านยังทำกิน เกรงว่าหากมีนิคมอุตสาหกรรมมาตั้งจะกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว

 

ขณะพื้นที่รอยต่อจังหวัดชลบุรีและ ระยองบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวินนับหมื่นไร่บริษัทพัฒนาที่ดินและหอการค้า ลงมติว่าควรเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีม่วงเนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมบ่อวินอยู่ก่อนแล้วและหากต้องการขยายเขตอุตสาหกรรมจากนโยบายอีอีซี ก็น่าจะเหมาะสมเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านปลูกอ้อยและมันสำปะหลัง

 

แต่ประเมินว่า พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ามีชาวบ้านคัดค้านแต่ไม่มากเหมือนพื้นที่แปดริ้ว “บริเวณบ่อวิน เหมาะเป็นเมืองอุตสาหกรรม เพราะปัจจุบันมีนิคมเหมราช  WHA  อีสเทิร์นซีบอร์ด อมตะซิตี้ ฯลฯ”

 

นอกจากความเคลื่อนไหวของชาวบ้านต่อการรุกรานพื้นที่เกษตรแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจบ้านจัดสรร ในพื้นที่ ชลบุรี ระบุว่า ผังเมืองอีอีซี เปิดให้เอกชนในพื้นที่มีส่วนร่วมน้อยมากจากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น ทั้งหมด 40 ครั้ง ส่วนใหญ่ จะเปิดโอกาสให้ หน่วยงานราชการ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชนร่วมรับฟัง อย่างไรก็ตามหลายพื้นที่มีการจัดทำผังเมืองไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง ล่าสุด ได้ทำหนังสือถึง สกพอ.และกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อขอแก้ไขข้อกำหนดแล้ว 

 

ขอบคุณข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

https://www.thansettakij.com/content/406220

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider