News
icon share

รื้อคดี‘อาคารมหานคร’ สภาสถาปนิกเร่งหาหลักฐาน/ศรีสุวรรณลุยต่อ

LivingInsider Report 2016-09-12 11:15:33
รื้อคดี‘อาคารมหานคร’ สภาสถาปนิกเร่งหาหลักฐาน/ศรีสุวรรณลุยต่อ

 

 

สภาสถาปนิก ทุบโต๊ะเตรียมรื้อคดี “โครงการมหานคร” ปัดฝุ่นใหม่ พร้อมเร่งหาหลักฐานเอาผิด หลังอัยการไม่รับฟ้องเมื่อปี’56 เหตุหลักฐานไม่พอ พร้อมเผยข้อมูลเชิงลึก “ศรีสุวรรณ จรรยา” ยันเดินหน้าต่อเอาผิดให้ถึงที่สุดต้องร้องศาลปกครองก็ต้องทำ เตรียมใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการจี้กทม.ส่งแบบอาคารตอนยื่นขออนุญาตก่อสร้าง ด้าน เพซ ดีเวลลอปเมนท์ ยันไม่ผิด

 

 

นายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการประชุมคณะกรรมการสภาสถาปนิก เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ได้มีการหยิบยกกรณีของโครงการมหานครขึ้นมาปรึกษาหารือ โดยที่ประชุมลงมติว่าจะดำเนินการหาพยานหลักฐานมาประกอบ เพื่อรื้อคดีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่สภาฯได้เคยยื่นฟ้องโครงการดังกล่าวไปแล้วเมื่อปี 2552 ในประเด็นการใช้สถาปนิกที่ไม่ใช่คนไทยมาออกแบบอาคาร แต่คำร้องก็ต้องตกไปในปี 2556 เพราะอัยการไม่รับฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

 

 

“การเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนของสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เกี่ยวกับโครงการมหานคร เหมือนเป็นการกระตุ้นให้สังคมหันมาสนใจเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวมากขึ้น สภาสถาปนิกในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีความจำเป็นต้องนำเรื่องดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง โดยจะเข้าหารือร่วมกับอัยการถึงพยานหลักฐานที่ต้องใช้เพิ่มเติม เพื่อประกอบการฟ้องร้องในอนาคต”นายเจตกำจร กล่าว

 

 

ทั้งนี้ นายเจตกำจร ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 ว่า ในปีดังกล่าวทางบริษัทซึ่งเป็นเจ้าของโครงการได้มีการโฆษณาเผยแพร่ทางสื่อว่าจะมีการก่อสร้างโครงการดังกล่าว โดยในสื่อโฆษณาได้มีการถ่ายภาพของผู้ออกแบบ นายโอเลอ เซเริน สถาปนิกชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นอดีตสถาปนิกจาก สำนักงานสถาปัตยกรรมมหานคร (OMA) ของแร็มโกลาสคู่กับอาคารดังกล่าว พร้อมทั้งโฆษณาว่าชาวเยอรมันผู้นี้เป็นคนออกแบบอาคารดังกล่าว

 

 

ขณะนั้นสมาคมฯมีมติให้ดำเนินคดี เนื่องจากมองว่าผิดพระราชบัญัติ (พ.ร.บ.)สถาปนิก พ.ศ. 2543 มาตรา 45 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตในสาขานั้นจากสภาสถาปนิก สภาฯจึงได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีที่สน.ลุมพินี โดยทางตำรวจได้รวบรวมหลักฐานและส่งให้อัยการเป็นผู้พิจารณา

 

 

ทั้งนี้ เมื่ออัยการรับเรื่องดังกล่าวได้มีการขอหลักฐานเพิ่มเติมคือ แบบที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับทางสำนักงานกรุงเทพมหานคร แต่ทางกทม.ไม่ได้มีการส่งแบบมาให้แต่อย่างใด ทำให้ขาดหลักฐานชิ้นสำคัญ ในการประกอบการทั้งนี้ เมื่ออัยการรับเรื่องดังกล่าวได้มีการขอหลักฐานเพิ่มเติมคือ แบบที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้างกับทางสำนักงานกรุงเทพมหานคร แต่ทางกทม.ไม่ได้มีการส่งแบบมาให้แต่อย่างใด ทำให้ขาดหลักฐานชิ้นสำคัญ ในการประกอบการพิจารณาคดี ข้อสังเกตุที่น่าสนใจคือ ระหว่างที่มีการยื่นรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สภาฯได้ส่งหนังสือขอทราบชื่อสถาปนิกผู้ออกแบบ ซึ่งก็เป็นสถาปนิกคนไทย แต่รูปแบบตึกที่ยื่น EIA นั้น ไม่ใช่แบบเดียวกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็ได้ร้องถามไปยัง PACE ถึงข้อเท็จจริง แต่ทางบริษัทก็ยืนยันว่าใช้สถาปนิกไทย ซึ่งเป็นพนักงานบริษัทเป็นผู้ออกแบบ แต่ทางสภาฯไม่เชื่อเพราะโครงการดังกล่าวมีขนาดใหญ่จะใช้สถาปนิกมือใหม่มาออกแบบไม่ได้ แต่เมื่อหลักฐานไม่เพียงพอการฟ้องร้องให้ดำเนินคดีจึงยุติลง

 

 

แม้หลายฝ่ายจะบอกว่าสถาปนิกคนดังกล่าวอยู่ในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ถ้ากลับไปย้อนดูก็จะพบว่าบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนเมื่อปี 2558 โดยมีสถาปนิกคนไทยถือหุ้น 51% ซึ่งเมื่อจดทะเบียนพาณิชย์แล้วจึงมายื่นขออนุญาตจดทะเบียนเป็นบริษัทสถาปนิกแบบนิติบุคคลกับสภาฯแทนการยื่นจดแบบบุคคลธรรดา ทำให้ถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่แบบอาคารถูกออกแบบเสร็จก่อนมีการจัดตั้งบริษัท

 

 

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวว่า หลังจากเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ตรวจสอบกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงาน กรณีปล่อยปละละเลยให้สถาปนิกชาวต่างชาติออกแบบการก่อสร้างอาคารมหานคร เนื่องจากเห็นว่าขัดต่อ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 รวมทั้งไม่ดูแลควบคุมปล่อยให้ต่างด้าวเป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบอาชีพที่กฎหมายสงวนไว้สำหรับคนไทยเท่านั้น

 

 

โดยขณะนี้เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และในระหว่างนี้จะมีการทำเรื่องของข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับแบบของโครงการที่ไปยื่นขออนุญาติก่อสร้างอาคารกับสำนักงานกรุงเทพมหานคร ว่าต้นฉบับเป็นเช่นไรและใครเป็นผู้ออกแบบ หรือใครเป็นผู้อนุมัติแบบ หากทางสำนักงานฯไม่ยินยอม อาจสันนิษฐานได้ว่าจะเกิดการนอมินีได้ ซึ่งอาจจะต้องใช้พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 เป็นตัวช่วยในการขอเอกสารดังกล่าว

 

 

“ทางสมาคมจะดำเนินการฟ้องร้องต่อสู้ให้ถึงที่สุด หรือให้ถึงขั้นศาลปกครอง ไม่เชื่อว่าสถาปนิกไทยจะเป็นผู้ออกแบบ คาดว่าจะมีนอมินีเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อประเทศในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องเร่งหาหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คาดว่าภายใน 2-3 วันนี้ จะยื่นหนังสือต่อสำนักงานกรุงเทพฯ ในการขอหลักฐานดังกล่าว” นายศรีสุวรรณ กล่าว

 

 

ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการสอบถามไปยัง บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็ได้รับคำตอบจากนางสาวนฤมล จุฑาประทีป ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรว่า บริษัทไม่ขอชี้แจงใดๆ เนื่องจากบริษัทดำเนินถูกต้องตามกฎหมาย

 

 

ขอบคุณข่าวจาก ฐานเศรษฐกิจ

 

 

ขอบคุณภาพจาก pantip

 

 

http://www.thansettakij.com/2016/09/12/95697

 

>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์ @livinginsider ที่นี่

Article Other

livinginsider livinginsider