Favorite
“ไม่มีอะไรที่แน่นอน” ดูเหมือนว่าคำนี้จะเหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 ในบ้านเราได้ดีทีเดียว บางคนโชคดียังมีงานทำ กลับกันบางคนต้องตกงานด้วยภาวะจำยอมจึงทำให้รู้ว่า การมีเงินสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉินนั้นสำคัญมากจริงๆ ดังนั้นเรามาทำไปพร้อมๆ กันเถอะ ให้คิดไว้ว่าเริ่มตอนนี้ก็ยังไม่สายนะ
เงินสำรองฉุกเฉินแยกจากเงินอย่างอื่น
ต้องแยกให้ชัดเจนเลยว่าเงินที่เก็บนั้นไว้ใช้สำหรับเรื่องไหนบ้าง เงินเกษียณก็คือเก็บไว้ใช้ตอนปลดระวางแล้ว เงินสำหรับไปเที่ยวก็ต้องเป็นไปตามนั้น ไม่ใช่ว่าพอเกิดอุบัติเหตุหรือโดนให้ออก ก็เอาเงินที่เก็บไว้ทำอย่างอื่นมาใช้แทน แบบนั้นไม่เรียกว่าเงินสำรองฉุกเฉิน พยายามใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เราต้องมีเงินของส่วนนี้แยกด้วยเหมือนกัน
คิดยังไงมีเท่าไหร่ดี
ให้คิดจากรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือนที่เราต้องใช้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าค่าผ่อนบ้าน ค่าเดินทางอย่างรถไฟฟ้าหรือค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ไฟ อินเทอร์เน็ตทั้งของที่บ้านและโทรศัพท์ รวมไปถึงซื้อของกินของใช้เข้าบ้าน ต่อด้วยค่าจิปาถะอื่นๆ เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าสมาชิกต่างๆ ประกันทั้งหลาย
อาชีพฟรีแลนซ์ต้องเก็บเงินเท่าไหร่
ความมั่นคงอาจจะมีน้อยหน่อย บางเดือนมีงานเข้ามาเยอะรายได้ก็มาก แต่บางเดือนมีงานเดียวรายได้ก็ไม่เพียงพอ ยิ่งทำให้กลุ่มนี้ต้องสำรองเงินฉุกเฉินไว้ให้มากที่สุด อย่างน้อยก็ 1 ปี สมมติว่ามีรายจ่ายอยู่ที่ 17,000 บาทต่อเดือน เท่ากับว่าต้องมี 204,000 บาทเก็บไว้กับตัว เวลาไม่มีงานเข้ามาหลายเดือนติดต่อกัน ก็นำเงินส่วนนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันแทนโดยที่ไม่ต้องเครียดมากนัก
มนุษย์เงินเดือนต้องมีเงินแค่ไหน
พนักงานบริษัททั่วไป มีเงินที่ได้ในแต่ละเดือนค่อนข้างตายตัว และมีความมั่นคงพอสมควรถ้าทำในอาชีพ ที่มีความสำคัญต่อความต้องการของตลาด อย่างพวกด้านไอที บัญชี เกี่ยวกับออนไลน์ เป็นต้น ดังนั้นควรมีสำรองฉุกเฉินล่วงหน้าซะ 6 เดือน ถึง 1 ปี เช่น มีรายได้ 25,000 บาท รายจ่าย 15,000 บาท หรือ 60% ของรายได้ คำตอบของเรื่องนี้จึงควรมี เงินเก็บ 90,000-180,000 บาท ถ้าอยากลาออกโดนให้ออกหรือต้องพักงาน ก็จะยังมีเวลาพอให้เตรียมตัวหางานใหม่ได้
ราชการควรเตรียมเงินไว้กี่บาท
ความเสี่ยงที่จะโดนให้ออกจากงาน มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากเมื่อเทียบกับอาชีพอื่นๆ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีสถานการณ์เร่งด่วนให้ต้องใช้เงินก้อนนี่น่าจริงไหม? แต่อาจจะเก็บน้อยลงมาหน่อยประมาณ 3 เท่าของรายจ่าย อาทิ ค่าใช้จ่าย 12,000 บาท ก็จะเป็น 36,000 บาท ที่ควรเก็บไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน
แล้วต้องเก็บยังไงเอาไว้ที่ไหนถึงโอเค
แต่ละเดือนอาจเก็บเงินเข้าส่วนนี้ไม่เท่ากัน ขอไม่กำหนดตายตัวเอาที่เราสะดวกและไม่เดือดร้อนก็พอ แต่ขอแนะนำว่าเอาไปเก็บไว้ที่ไหนถึงจะเหมาะสม โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกคือ ต้องสามารถถอนออกมาได้สะดวกรวดเร็ว และไม่มีการหักเงินต้นหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่แนะนำการเข้าระบบหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง ให้เลือกที่มีความเสี่ยงต่ำไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า
ซึ่งนอกจาก ฝากออมทรัพย์ปกติ และการฝากระยะสั้นแล้ว การฝากแบบสลากออมสินก็ดูน่าสนใจ เพราะกำหนดการถอนคือแค่ 3 เดือนขึ้นไปถึงจะไม่ถูกหัก ยังเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพราะถ้าฝากยาวต่อเนื่องดอกเบี้ยก็ถือว่าใช้ได้ แถมยังได้ลุ้นสลากอีกด้วย
อนาคตข้างหน้าเราอาจถูกให้ออกจากงาน หรือจะเกิดเหตุการณ์อะไรก็ตาม แต่อย่างน้อยการมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินก้อนนี้จะทำให้เราไม่ต้องไปหยิบยืมคนอื่น จนก่อให้เป็นหนี้สินเพิ่มพูน มั่นใจได้ว่ามีไว้ก็อุ่นใจกว่าอยู่แล้วล่ะเนอะ
ค่าส่วนกลาง จ่ายแล้วส่งต่อไปไหนบ้าง มาดูกันว่าเสียเงินแบบไหน คุ้ม หรือ ไม่คุ้ม!
2024-02-29
ส่องบริษัทอสังหาฯ ภูธร ทำรายได้ดีแค่ไหน
2023-09-12
เซลล์ แจก ผ่อนพัน อยู่ฟรี โปรโมชั่นที่ควรรู้ก่อนซื้อคอนโด
2021-01-14
10 คอนโด ใกล้รถไฟฟ้าสีชมพู ไปได้ทุกทิศสะดวกทุกทาง เปิดใช้ธันวาคมนี้แล้ว!! ส่องเลยอยากอยู่ที่ไหน
2023-10-11
วัยรุ่นสร้างตัว วางแผนการเงินให้ดี
2019-09-18
เขียนรีวิวถูกใจเจ้มากค่ะ
ดีมากๆ เป็นเว็บที่ให้ข้อมูลดีค่ะ
อ่านสนุกดีค่ะ ถึงแม้ส่วนตัวจะไม่ชอบอ่าน แต่บทความที่นี่อ่านได้เรื่อยๆเลยค่ะ
แจ่มเลยค่ะ รีวิวได้ครบถ้วน
รีวิวได้ชวนซื้อมากๆครับ ฮ่าๆ