Favorite
การประชุมสามัญประจำปีหรือการประชุมเจ้าของร่วมในคอนโดเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญหรือไม่ใส่ใจเลยเสียด้วยซ้ำ บางคนอาจคิดว่าไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ขี้เกียจออกจากบ้านวันหยุดอยากนอนพักมากกว่า ผมจะบอกว่านั่นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลยครับ เพราะการที่คุณไม่ไปเข้าประชุมเจ้าของร่วมของโครงการนั้น ส่งผลเสียหายอย่างเลย ผมจะลิสต์ให้ดูว่ามีอะไรบ้าง
เสียสิทธิ์เลือก-ถอดถอน คณะกรรมการ ผู้จัดการ
ข้อนี้สำคัญมากครับ เพราะสมัยนี้มีมิจฉาชีพปลอมตัวเข้ามาในคราบของลูกบ้านเหมือนเรานี่แหละ เมื่อเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการหรือเป็นประธานแล้ว เขาก็จะใช้อำนาจตรงนี้หาช่องทางให้ธุรกิจส่วนตัวของเขาได้รับผลประโยชน์ อย่างเช่นเขาอาจเปิดบริษัทรับเหมา บริษัทรักษาความปลอดภัย หรือบริษัทแม่บ้านอยู่แล้ว เขาก็ใช้อำนาจตรงนี้จัดจ้างบริษัทของตัวเองในราคาที่สูงกว่าปกติ แล้วถ้าเราไม่เข้าประชุมเลย ก็จะไม่รู้เรื่องตรงนี้ปล่อยให้เขาโกงไปฟรี ๆ เห็นไหมครับแค่ข้อแรกก็น่ากลัวแล้ว
ส่วนถ้าคณะกรรมการที่ได้รับเลือกมาทำงานได้ไม่ดี หรือมีพฤติกรรมฉ้อโกงอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว การที่เราไม่เข้าประชุมเราก็จะเสียสิทธิ์ในการออกเสียงถอดถอนเขาออกจากตำแหน่งอีกเช่นกันครับ เรียกได้ว่าไม่มีสิทธิ์มีเสียงใด ๆ เลย
ขอบคุณภาพจาก thaioperdent.com
เสียสิทธิ์ตรวจสอบด้านการเงิน
โดยปกติแล้ว การประชุมเจ้าของร่วมของแต่ละโครงการจะมีการชี้แจงงบประมาณของนิติฯ อยู่แล้วครับว่าปีนั้นงบเป็นอย่างไร นำไปใช้ส่วนไหนบ้าง ใช้เท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ อย่างไร ทำให้เราสามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียดว่านิติบุคคลที่เราจ้างมาบริหารโครงการเรานั้นทำงานได้มีประสิทธิภาพหรือเปล่า จัดซื้อจัดจ้างอะไรราคาแพงผิดปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าเราไม่ได้เข้าประชุมเราก็หมดสิทธิตรวจสอบข้อมูลตรงนี้ไปเลยครับ
ไม่ได้รับรู้ข่าวสารของตัวโครงการ
แน่นอนว่าแต่ละโครงการก็จะต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น เดือนนี้น้ำรั่วบริเวณที่จอดรถ ป้อมยามไฟเสีย ไม้กั้นเสีย หรือจะมีการปรับปรุงส่วนกลางของโครงการ เปลี่ยนบริษัท รปภ. ใหม่ สัญญาณเตือนไฟไหม้ตรงไหนเสีย ฯลฯ ข้อมูลพวกนี้ถ้าเราไม่เข้าประชุมเราก็จะไม่รู้ครับ เหมือนเราไม่รู้เลยว่าบ้านเราเป็นยังไงแล้วบ้าง กลับมาก็นอนอย่างเดียว ตื่นมาก็ไปทำงานเลย แบบนี้น่าเป็นห่วงนะครับ
เสียสิทธิ์โหวตมติต่าง ๆ
หากจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อกำหนดใด ๆ ในคอนโด ต้องผ่านมติจากที่ประชุมก่อนครับ อย่างเช่นเรื่องที่จอดรถ เรื่องการเลี้ยงสัตว์ การใช้ห้องฟิตเนส แต่งตัวผู้ตรวจบัญชี หรือการใช้พื้นที่ส่วนกลาง หากต้องการเปลี่ยนแปลงเวลาหรือเงื่อนไขการใช้ ก็ต้องอาศัยแรงโหวตจากที่ประชุมนี่แหละครับ ถ้าเราไม่เห็นด้วยกับมตินั้น แต่เราไม่เข้าประชุม เราก็ไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใด ๆ เลยนะครับ เขาประกาศบังคับใช้เมื่อไหร่ก็ต้องยอมโดยไม่มีเงื่อนไขเลย
ขอบคุณภาพจาก evidentlycochrane.net
เสียเงินฟรี
การประชุมเจ้าของร่วมแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายครับ แน่นอนว่าก็เอาเงินส่วนกลางที่คุณจ่ายไปนั่นแหละมาจ่าย แล้วถ้าเกิดการประชุมนั้นผู้เข้าร่วมไม่ครบองค์ประชุม ก็ต้องมีการเลื่อนการประชุมไปอีก ซึ่งหมายความว่าเงินค่าจัดการประชุมครั้งนั้นก็สูญไป ถ้าจัดอีกแล้วยังไม่ครบอีกก็สูญอีก เหมือนเอาเงินไปละลายน้ำเล่นอะ ไม่ได้อะไรกลับมาเลยครับ
ขอบคุณภาพจาก hackernoon.com
การอาศัยอยู่ในคอนโดนั้น ไม่ใช่แค่ว่าจ่ายค่างวด จ่ายค่าส่วนกลางแล้วหน้าที่ของเราจะจบนะครับ เพราะเงินค่าส่วนกลางที่จ่ายไปนั้นเราต้องใส่ใจกับมันด้วยว่ามันไปอยู่ตรงไหนบ้าง ใครจัดการ จัดการยังไง เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยในมตินั้น ๆ โดยทำได้ผ่านการเข้าประชุมเจ้าของร่วมนี่แหละครับที่เราจะมีสิทธิมีเสียง เหมือนการไปเลือกตั้งเลยครับ อย่านอนหลับทับสิทธิ์ของตัวเองนะ ไปใช้สิทธิ์กันดีกว่า
อ่านอะไรต่อดี ?
Capital Gain เกี่ยวอะไรกับคอนโด?
ก่อน "กู้ร่วมซื้อบ้าน" ต้องรู้อะไรก่อน?
9 พฤติกรรมแย่ ๆ ที่ชาวคอนโดไม่ควรทำ
8 เรื่องห้ามพลาด!! ก่อนปล่อยเช่าคอนโด ต้องรู้อะไรบ้าง
2022-03-16
“ที่ดินตาบอด” จะขอทางออกต้องทำยังไง?
2024-10-25
ส่อง Butterbear โด่งดังจาก Mascot Branding
2024-07-17
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ สร้างยอดขายเท่าไหร่กันบ้าง ในปี 2565
2023-02-28
บริษัทอสังหาฯ โชว์ยอดขาย 9 เดือนแรก ของปี 2565 ใกล้ถึเป้าที่ตั้งไว้ทั้งปี มากแค่ไหน?
2022-11-07
งานดี มีคุณภาพมากๆ
ยอดเยี่ยมมากๆค่ะ
ขอบคุุณบทความดีดีค่ะ
ชอบบทความที่นี่จัง ได้ความรู้